Home »
Uncategories »
ประโยชน์จากวิตามินซีในผลไม้ มีฤทธิ์ต้านไวรัสโรคหวัดได้มากน้อยเพียงใด ? ไปชมกัน
ประโยชน์จากวิตามินซีในผลไม้ มีฤทธิ์ต้านไวรัสโรคหวัดได้มากน้อยเพียงใด ? ไปชมกัน
ทราบหรือไม่? ว่าร่างกายเราสามารถได้รับประโยชน์จากวิตามินซีจากผลไม้
และอาหารที่รับประทานทุกวันได้ แต่อาหารแบบไหนมีวิตามินซีสูง
และต้องบริโภคแค่ไหนถึงจะเหมาะสม
และคำถามที่ว่ามีฤทธิ์ต้านไวรัสนั้นจริงหรือเปล่าไปชมกัน ในช่วงปี 2019 –
2020 ทางสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย
และกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ได้มีการเน้นรณรงค์ให้คนไทยดูแลตัวเองจากโรคไข้หวัด
โดยแนะนำคนไข้สังเกตตัวเองหรือถามหมอว่าเป็นหวัดจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย
เพื่อที่จะได้ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ
ซึ่งหากได้รับยาไม่ถูกโรคร่างกายก็อาจจะดื้อยาในอนาคต
ส่งผลต่อการตื่นตัวเรื่องการจำแนกโรคหวัดมากขึ้นไปอีก
และไข้หวัดจากไวรัสและแบคทีเรียต่างกันตรงที่ อาการหายใจติดขัดร่วมกับไอจาม
หากเป็นหวัดจากแบคทีเรีย จะไม่มีอาการไอ และมักจะมีไข้มากกว่า 38
องศาเซลเซียส ซึ่งโรคไข้หวัดนี้คนส่วนใหญ่มีโอกาสเป็นมาก
ไข้หวัดจากไวรัสสามารถหายเองได้โดยไม่ต้องรับยา
เพียงแค่คุณพักผ่อนให้เพียงพอ ทำร่างกายให้อบอุ่น ดื่มน้ำมากๆ
ดูแลเรื่องอาหารและสุขภาพ อาการจะดีขึ้นใน 5 – 7 วัน
และเมื่อมีผู้สนใจดูแลตัวเองมากขึ้น
มีหนึ่งข้อสงสัยที่ได้รับความสนใจมากก็คือ
วิตามินซีช่วยต้านไวรัสโรคหวัดได้จริงหรือไม่ ถ้าจริงต้องบริโภคอย่างไร
ผลการศึกษาประโยชน์ของวิตามินซีต่อโรคหวัด
การศึกษาประสิทธิภาพของวิตามินซีต่อการป้องกันและบรรเทาการติดเชื้อทางเดินหายใจจากไวรัส
ที่ตีพิมพ์ใน Journal of Manipulative and Physiological Therapeutics
ตั้งแต่ปี 1999 ด้วยวิธีติดตามและรักษากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดสอบ
ผู้วิจัยวิเคราะห์จากการให้ยา และวิตามินซีในปริมาณสูง 3,000
มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ แก่นักศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง
ซึ่งเป็นปริมาณที่เกินว่าร่างกายต้องการต่อวัน
พบว่าการใช้ปริมาณวิตามินซีสูงกว่าที่ร่างกายต่อวันให้ผลว่าช่วยลดอาการของไข้หวัดใหญ่ได้จริง
มีหลักฐานอีกจำนวนมากที่แสดงให้เห็นถึงความนิยมบริโภควิตามินซีในระดับเกินกว่าความจำเป็นต่อร่างกายเพื่อคาดหวังว่าจะช่วยลดอาการไข้หวัด
เช่น การใช้วิตามินซีในกลุ่มนักกีฬา และนักวิ่งมาราธอน
เพราะเป็นสารที่ไม่ได้ระบุต้องห้ามไว้ในกติกา
ดังนั้นจึงมีหลายคนที่บริโภควิตามินซีสูงกว่าความจำเป็น
โดยผู้ใช้คาดหวังไปถึงผลการป้องกันและรักษาโรคที่ยังพิสูจน์ไม่ได้
จึงเป็นที่มาของการขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารป้องกันโรคหัวใจ โรคหลอดเลือด
โรคข้อเข่าเสื่อม รวมถึงโฆษณาผลของการลดริ้วรอย
ซึ่งทั้งหมดก็ยังไม่ได้รับการยืนยันทางวิทยาศาสตร์
มีการศึกษาประโยชน์ของวิตามินซีไว้หลายอย่าง
ไม่ว่าจะเป็นการลดโอกาสเกิดมะเร็งในช่องปาก กระเพาะอาหาร ลำไส้ ปอด
แต่ก็ไม่ได้มีการศึกษาที่ระบุได้ชัดเจนว่าต้องใช้ปริมาณวิตามินซีเท่าไหร่ถึงจะเห็นผล
เพราะผลของวิตามินซีอาจได้ผลดีร่วมกับวิตามินอื่นๆ
ริมาณวิตามินซีที่แนะนำต่อวัน
– ผู้หญิงที่สุขภาพดีอยู่แล้ว 75 มิลลิกรัม
– คุณแม่ให้นมบุตร 120 มิลลิกรัม
– ผู้ใหญ่ทั่วไปไม่ควรเกิน 2,000 มิลลิกรัม
– ผู้มีประวัติโรคตับหรือไต โรคเกาต์ โรคนิ่ว ไม่ควรใช้เกิน 1,000 มิลลิกรัม
การบริโภควิตามินซีที่มากเกินไปจะส่งผลให้เกิดอาการท้องร่วง,
โรคกระเพาะ, ปวดหัว, อ่อนเพลีย รวมถึงอาการนอนไม่หลับ
และผู้ที่มีประวัติโรคตับหรือไต ไม่ควรรับประทานเกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
การบริโภควิตามินซีที่เกินกว่า 3,000 มิลลิกรัมต่อวันนั้น
หากไม่ได้มีผลข้างเคียงกับร่างกายก็ยังไม่เป็นไร
แต่จะเป็นการสูญเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์
เพราะร่างกายไม่สามารถนำไปใช้ได้ทั้งหมด
และยังเป็นการเปลืองพลังงานร่างกายให้ขับวิตามินซีส่วนเกินนั้นออก
เพื่อเป็นการรักษาสมดุลย์ในร่างกายให้ปกติ ควรรับประทานวิตามินซีที่ขนาด
500 มิลลิกรัม หรือ 1,000 มิลลิกรัมได้ในบางวัน
แต่อย่าลืมว่าร่างกายของเราได้รับวิตามินซีจากผักและผลไม้อยู่แล้ว
เพื่อเป็นการรักษาคุณค่าของวิตามินซีได้ดี
ควรแช่ไว้ตู้เย็นเพื่อป้องกันความร้อนทำลายวิตามินต่างๆ ในผัก
ตัวอย่างผักผลไม้วิตามินซีสูง ได้แก่ ฝรั่ง, สตรอว์เบอร์รี่, แคนตาลูป,
มะละกอ, พริกระฆัง, น้ำส้ม, ผักคะน้า, บร็อกโคลี, พริกระฆังสีเขียว,
มะเขือเทศ, มะม่วง, น้ำมะนาว เป็นต้น
สรุปแล้วหากจะกินวิตามินซีเพื่อคาดหวังในผลของการต้านโรคหวัด
จะต้องกินเข้าไปในปริมาณที่มากกว่าร่างกายต้องการต่อวัน
แต่ก็ไม่ได้มีผลวิจัยรองรับว่ามันเป็นผลดีต่อร่างกาย
เพราะมีผลเสียด้านสุขภาพอื่นๆ ตามมาด้วย
รวมถึงปัจจัยด้านอายุและสุขภาพอื่นๆ
ที่อาจได้รับผลกระทบจากการรับวิตามินซีมากเกินไป
และเราก็สามารถเลือกรับประทานอาหารที่มีวิตามินหลากหลายเพื่อประโยชน์อื่นๆ
ต่อร่างกายได้ด้วย
อ้างอิงจาก : ThairathOnline
1. อาการแบบนี้ไวรัสหรือแบคทีเรีย https://www.thaihealth.or.th
2. The effectiveness of vitamin C in preventing and relieving the
symptoms of virus-induced respiratory infections
https://www.jmptonline.org
เรียบเรียงโดย : หลิวหล่าวซือ