ตำลึงผักริมรั้ว ไม่มีราคาแต่คุณค่ามหาศาล เสริมภูมิต้านทาน รักษาเบาหวานได้

ตำลึง ผักริมรั้วที่เรารู้จักกันดี วันนี้เรานำสาระดี ๆ มาฝากทุกคนค่ะ สำหรับใครที่ชอบทานตำลึงถือว่โชคดีมาก ๆ ส่วนใครที่ไม่ชอบหลังจากอ่านจบแล้ว รับรองเลยว่าจะหันมาทานทำลึงอย่างแน่นอน ตำลึงเป็นผักพื้นบ้านที่เกิดขึ้นเองตามริมรั้ว สรรพคุณทางยาเพียบ ยิ่งทานยิ่งดีต่อร่างกาย เราไปดูกันเลยค่ะว่าตำลึงมีดีอย่างไรบ้าง

1 บำรุงสายตา

แหล่งวิตามินเอที่สำคัญที่เราสามารถหาได้จากอาหารก็ต้องยกให้ตำลึงเป็นแหล่งที่ดี-องวิตามินเอเลยล่ะค่ะ และนอกจากวิตามินเอแล้ว เบต้าแคโรทีนในตำลึงยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสsะที่สามารถเปลี่ยนตัวเองเป็นวิตามินเอได้อีก ดังนั้น ตำลึงจึงจัดเป็นอาหารบำรุงสายตาตัวจี๊ดที่หากินได้ง่าย ๆ แถมยังอร่อยด้วย

2 เสริมภูมิต้านทาน

จะเห็นได้ว่าตำลึงมีวิตามินเอและเบต้าแคโรทีนซึ่งเป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอค่อนข้างสูง ส่วนนี้จะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้เราไม่ป่วยไข้ได้ง่าย ๆ โดยเฉพาะอาการไ ข้หวัด ซึ่งหากร่างกายขาดวิตามินเอ ก็มีโอกาสจะป่วยไข้ได้ง่ายเลยนะคะ

3 ตำลึงรักษาเบาหวาน

สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า ตำลึงเป็นผักที่มีสา รต้ านอนุมู ลอิสระอย่างฟลาโวนอยด์ค่อนข้างสูง สามารถช่วยรักษาและป้องกันโรคต่าง ๆ ได้ ทั้งโรคเบาหวาน เนื่องจากมีงานวิจัยที่พบว่า ตำลึงช่วยลดน้ำตาลในເลือดได้ ส่วนในใบตำลึงก็มีสารต้านอนุมูลอิสsะอยู่หลายชนิด จึงช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้นั่นเอง

ทั้งนี้การกินตำลึงเพื่อลดน้ำตาลในເลือด สามารถทำได้โดยใช้เถาแก่ɤองตำลึงประมาณครึ่งถ้วย นำมาต้มกับน้ำ หรือนำน้ำคั้นจากผลตำลึงดิบ ๆ ดื่มวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น น้ำตำลึงก็จะช่วยลดน้ำตาลในເลือดได้

4 บำรุงกระดูก

จากการศึกษาของสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ใบตำลึงมีแคลเซียมสูง และแคลเซียมจากตำลึงยังเป็นแคลเซียมชนิดที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้เทียบเท่ากับแคลเซียมที่อยู่ในนมวัว ดังนั้นผู้ที่มีอาการแพ้นมวัว หรือดื่มนมแล้วท้องเสียก็สามารถหันมารับแคลเซียมจากตำลึงแทนได้เช่นกัน

5 แก้อาการแสบคันจากเเมลงสัตว์กัดต่อย

ใบตำลึงมีฤทธิ์เย็น ช่วยดับร้อนจากเเมลงสัตว์กัดต่อยได้ในระดับหนึ่ง โดยให้ล้างແผลด้วยน้ำไหลให้สะอาด จากนั้นใช้ใบตำลึงไม่แก่จัดหรืออ่อนจัดจนเกินไป

ล้างใบตำลึงให้สะอาดจากนั้นขยี้ใบตำลึงแล้วมาประคบผิวบริเวณที่ถูกเเมลงสัตว์กัดต่อยสักพัก อาการแ สบคันจะบรรเทาขึ้น แต่หากอาการแสบร้อนยังไม่หาย ให้หมั่นเปลี่ยนใบตำลึงบ่อย ๆ แต่หากอาการแสบร้อนหาย แต่อาการคันไม่หาย แนะนำให้ใช้ยาทาแก้คันแผนปัจจุบันร่วมด้วย

6 ช่วยย่อยอาหาร

ใบตำลึงและเถาตำลึงมีเอนไซม์อะไมเลสอยู่มาก ซึ่งเอนไซม์ตัวนี้มีคุณสมบัติช่วยย่อยอาหารจำพวกแป้งได้ดี ดังนั้นใครมีอาการแน่นท้อง ท้องอืดจากอาหารไม่ย่อย โดยเฉพาะคนที่กินแป้งเข้าไปมาก ๆ ให้ใช้ใบตำลึงประมาณ 1 กำมือ ผสมกับเถาตำลึงเด็ดขนาดเท่านิ้วก้อย 1 กำมือ โขลกรวมกันจนเป็นเนื้อเดียว

จากนั้นคั้นเอาแต่น้ำตำลึงมาผสมน้ำอุ่น 1 แก้วกาแฟ กินก่อนอาหารประมาณ 5-10 นาที เพื่อเรียกน้ำย่อย หรือจะใช้ใบตำลึงแก่ลวกพอสุก กินเป็นผักเคียงพร้อมกับอาหารในแต่ละมื้อเลยก็ได้

 

แหล่งที่มา : rahuslub.com