ไม่ได้มีแค่ความสดชื่น “น้ำอ้อย” วิตามินเพียบ บำรุงหัวใจและตับให้แข็งแรง

น้ำอ้อย เครื่องดื่มดับกระหายที่ใครหลายคนชื่นชอบ วันนี้ขอนำเสนอประโยชน์ของน้ำอ้ยที่มากกว่าความสดชื่น น้ำอ้วยเป็นเครื่องดื่มที่อุดมไปด้วยวิตามินที่สำคัญ ช่วยบำรุงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เราไปดูกันค่ะว่า น้ำอ้อยมีดีอย่างไรบ้าง

1. แก้กระหาย

น้ำอ้อยเย็น ๆ มีรสหวานจากน้ำตาลที่ได้จากอ้อย ช่วยคลายร้อน ดับกระหายให้ร่างกายได้เป็นอย่างดี

2. ช่วยให้ชุ่มคอ แก้เสมหะ

น้ำตาลจากอ้อยเป็นน้ำตาลธรรมชาติ ที่มีสารอาหารและวิตามินหลากหลายชนิดด้วยกัน ทั้งยังมีสารต้านอนุมูลอิสsะอย่างโพลีฟีนอลที่มีส่วนช่วยต้านอาการอักเสบ น้ำอ้อยจึงช่วยให้ชุ่มคอและช่วยขับเสมหะไปด้วยในตัว

3. แก้ไอ แก้เจ็บคอ

นอกจากทำให้ชุ่มคอแล้ว น้ำอ้อยยังช่วยแก้ไอ และบรรเทาอาการเจ็บคอได้ด้วย แต่ทั้งนี้ควรต้องดื่มน้ำอ้อยอุ่น ๆ แทนน้ำอ้อยเย็น ๆ นะคะ หรือถ้าเป็นตามตำรับยาพื้นบ้าน หากใครมีอาการไอขณะออกหัด ก็ให้นำต้นอ้อยแดงทั้งเปลือกมาต้มดื่มแบบน้ำชา แต่ถ้าไอแบบมีเสมหะติดคอ ก็นำอ้อยแดงที่ยังไม่ได้ปอกเปลือกไปเผาไฟ แล้วปอกเปลือกนำมาเคี้ยวกินตอนร้อน ๆ ก็จะช่วยแก้ไอได้

4. เติมพลังงานให้ร่างกายได้ทันที

ความหวานของน้ำอ้อยมีประโยชน์ในด้านช่วยเติมพลังงานให้ร่างกายได้ทันทีที่ดื่ม ยิ่งใครที่มีอาการอ่อนเพลีย ดื่มน้ำอ้อยเย็น ๆ สักแก้วจะรู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้นได้ เนื่องจากน้ำตาลจากน้ำอ้อยจะไปเพิ่มระดับน้ำตาลในเลืoด ส่งผลให้ร่างกายมีพลังงานทันทีทันใด

5. ขับปัสสาวะ

น้ำอ้อยมีฤทธิ์ขับปัสสาวะอ่อน ๆ ดื่มแล้วช่วยให้กระตุ้นระบบขับถ่ายดีขึ้นด้วยนะคะ นอกจากนี้น้ำอ้อยยังมีสรรพคุณช่วยป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เพราะน้ำอ้อยมีสารต้านอนุมูลอิสsะและมีฤทธิ์ขับปัสสาวะที่จะไล่เอาเชื้อโรคในทางเดินปัสสาวะออกมาด้วยนั่นเอง

6. บำรุงหัวใจ

ไม่ใช่แค่ดื่มแล้วชื่นใจ แต่ตำรับยาแผนโบราณยังดื่มน้ำอ้อยบำรุงหัวใจกันด้วยล่ะค่ะ

7. ลดอาการแพ้ท้อง

น้ำอ้อย 1 แก้วผสมกับน้ำขิงอีกเล็กน้อย สูตรนี้จะช่วยลดอาการแพ้ท้องช่วงเช้า ๆ ให้คุณแม่ได้ ทั้งยังได้คุณประโยชน์จากน้ำขิงเพิ่มขึ้นมาด้วย

8. บำรุงร่างกาย

น้ำอ้อยมีแคลเซียม แมกนีเซียม และธาตุเหล็กสูง อีกทั้งยังอุดมไปด้วยวิตามินเอ บี 1 บี 2 บี 3 บี 5 บี 6 และโปรตีน ซึ่งสารอาหารเหล่านี้จะช่วยบำรุงดูแลร่างกาย พร้อมกันนั้นก็ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันได้อีกทางด้วย

9. บำรุงธาตุ

น้ำอ้อยจะกระตุ้นให้เจริญอาหาร และสารอาหารที่มีประโยชน์จากน้ำอ้อยยังจะช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย โดยเฉพาะตับ โดยสารชนิดหนึ่งในน้ำอ้อยจะช่วยควบคุมระดับของบิลิรูบิน (Bilirubin) ซึ่งเป็นสารที่เกิดจากการแตกตัวของเซลล์เม็ดเลืoดแดง ซึ่งหากร่างกายมีสารนี้มากเกินไปก็อาจจะทำให้ปัสสาวะ อุจจาระเหลือง และเสี่ยงต่อโรคดีซ่านได้

10. แก้ท้องผูก

น้ำอ้อยมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ ได้ด้วยนะคะ โดยหากใครมีอาการท้องผูก ให้ดื่มน้ำอ้อยสด 1 แก้ว ก่อนทานอาหารเช้าประมาณ 1 ชั่วโมง จะช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น

โทษของน้ำอ้อย ดื่มมากไป

หมอพื้นฐานถือว่า น้ำอ้อยเป็นของแสลงกับโรคลม รวมทั้งยังทำให้เหนียวคอ เจ็บคอ คอแห้งได้หากทานมากเกินไป และที่สำคัญก็คือ อย่างที่บอกไปว่า น้ำอ้อยมีปริมาณน้ำตาลค่อนข้างสูง หากดื่มมากไปอาจเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ดังนั้นแนะนำให้ดื่มน้ำอ้อยในปริมาณที่เหมาะสม คือไม่เกิน 2 แก้ว (200 มิลลิลิตร) ต่อวัน และอย่าลืมดื่มน้ำสะอาดเยอะ ๆ พร้อมกับหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำด้วยนะคะ

 

 

แหล่งที่มา : health.kapook.com