เผยข้อสงสัยสำหรับ ผู้ประกันตนในมาตรา 39 เงินเยียวยา แรงงานและลูกจ้างชั่วคราว

หลังจากที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยปลัดกระทรวงการคลัง ผอ.สศค. และอธิบดีกรมสรรพากร แถลงมาตรการดูแลและเยียวยาผลต่อเศรษฐกิจไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม ระยะที่ 2 แรงงานลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม

รายละเอียดเพิ่มสภาพคล่อง

1.สนับสนุนเงินคนละ 5,000 บาทต่อเดือนเป็นเวลา 3 เดือน ให้เงินเยียวยาแรงงานลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราวอาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคมจำนวน 3 ล้านคน สำหรับผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคม เพิ่มสิทธิกรณีว่างงาน 50 % ของค่าจ้าง 1.กรณีนายจ้างไม่ให้ทำงาน รับเงินไม่เกิน 180 วัน และ 2 กรณีรัฐสั่งหยุด รับเงินไม่เกิน 90 วัน

2.สินเชื่่อฉุกเฉิน 10,000 บาท ต่อราย วงเงิน 40,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 0.01 % ไม่ต้องมีหลักประกัน

3.สินเชื่อพิเศษ 50,000 บาทต่อราย วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 0.35 % ต่อเดือน ต้องมีหลักประกัน

4.สำนักงานธนานุเคราะห์ รับจำนำดอกเบี้ยต่ำ วงเงิน 2,000 ล้านบาท คิดดอกเบี้ยจากประชาชนในอัตราไม่เกิน 0.125 % ต่อเดือน

รายละเอียดลดภาระ

5.ยืดการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เลื่อนกำหนดเวลายื่นแบบชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรดาออกไปเป็นสิงหาคม 2563

6.หักลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพเพิ่มขึ้น เพิ่มวงเงินลดหน่อนค่าเบี้ยประกันสุขภาพจาก 15,000 บาทเป็น 25,000 บาท

7.ยกเลิกภาษีเงินได้สำหรับค่าเสี่ยภัยให้บุคลากรทางการแพทย์

สำหรับมาตรการดูแลและเยียวยา แรงงานลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม ซึ่งได้รับผลกระทบ และจะได้รับเงินช่วยเหลือเดือนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน (เมษายน-มิถุนายน) ดังนี้

1.เป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 และ 40

2.ผู้ประกันตนในมาตรา 33 ที่ส่งเงินสมทบยังไม่ครบ 6 เดือน ซึ่งยังไม่ได้รับสิทธิ์กรณีว่างงาน

3.ประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม แต่ประกอบอาชีพมีรายได้ (ซึ่งส่วนนี้ทางสำนักงานเศรษฐกิจการคลังจะตรวจสอบจากฐานข้อมูลอื่นที่มีอยู่ประกอบการวินิจฉัยจ่ายเงิน)

เรียบเรียงโดย : love3th.com