มีผื่นคันบนผิวหนังแบบเป็น ๆ หาย ๆ เหมือนเป็นคนผิวแพ้ง่าย
และผื่นคันจะเห่อเป็นช่วง ๆ
อาการผื่นคันอย่างนี้อาจส่อโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง แห้ง คัน เกา เรื้อรัง
ต้องรักษา
โรคภูมิแพ้ผิวหนังหรืออาการผิวแห้ง คันมาก เป็นเรื้อรังแบบเดี๋ยวมาเดี๋ยวหาย อาการแบบนี้ไม่ใช่แค่ผื่นคันธรรมดานะคะ โดยเฉพาะคนที่เป็นผื่นคันค่อนข้างบ่อย เรียกว่าอยู่กับอาการผิวแห้ง คัน เกา จนเป็นวงจรไม่หยุดหย่อนมาโดยตลอด ในเคสแบบนี้ต้องบอกว่าอาการผื่นคันที่คุณเป็นอยู่นั้นอาจเป็นอาการของโรคภูมิแพ้ผิวหนัง หรือโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง ที่ควรต้องเข้ารับการรักษา และควรดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี ซึ่งจะช่วยลดความถี่ของการเกิดผื่นคันบนผิวหนังไม่ให้เกิดกับเราบ่อย ๆ ได้
และวันนี้กระปุกดอทคอมก็มีข้อมูลเรื่องโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังมาให้ทำความเข้าใจ ตั้งแต่ประเด็นสาเหตุของการเกิดโรค อาการผื่นภูมิแพ้ การรักษา และการดูแลผิวแพ้ง่ายอย่างถูกต้อง
ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง หนึ่งในโรคผิวหนังที่ควรต้องรู้จัก
ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังจัดเป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง โดยผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ภาษาอังกฤษจะเรียกว่า Atopic dermatitis แต่ในภาษาไทยเรามีชื่อเรียกโรคนี้อย่างหลากหลายค่ะ ทั้งโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง โรคภูมิแพ้ผิวหนัง ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบ โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ โรคผิวหนังอักเสบไวเกิน หรือโรคผิวไว เป็นต้น
ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง เกิดจากอะไรได้บ้าง
ผื่นแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis) เป็นโรคที่เกิดจากผิวหนังมีการอักเสบเรื้อรัง จากปฏิกริยาทางภูมิแพ้ โดยพบโรคนี้ได้บ่อยในเด็ก และมักพบในผู้ที่มีแนวโน้มทางพันธุกรรมอยู่เป็นพื้นฐาน กล่าวคือ อาการผื่นคันที่เกิดขึ้นมักจะไม่ใช่อาการของโรคติดต่อ หรือเกิดผื่นคันจากการขาดสุขอนามัยที่ดี แต่เกิดมาจากร่างกายของผู้ป่วยมีภูมิที่ไวต่อการตอบสนองต่อปัจจัยกระตุ้นต่าง ๆ มากเกินไป
โดยมักพบว่า ผู้ป่วยที่มีอาการภูมิแพ้ผิวหนัง อาจจะมีอาการภูมิแพ้อื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น แพ้อากาศ จามบ่อย ๆ เยื่อบุจมูกและเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ และหอบหืด เป็นต้น และอาการผื่นคันและ/หรือร่วมกับอาการภูมิแพ้อื่น ๆ ดังข้างต้น มักจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาอากาศเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะในสภาพอากาศที่ร้อนจัด อากาศเย็น อากาศแห้ง หรืออากาศชื้น
อย่างไรก็ตาม โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังสามารถเกิดขึ้นกับผู้ที่ไม่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้ได้เช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่ในเคสนี้จะพบว่ามีความผิดปกติอยู่ในยีนของคนในครอบครัวโดยไม่เกิดอาการแสดงเป็นอาการแพ้ทางร่างกาย แต่อาการกลับมาแสดงกับตัวผู้ป่วยเพียงคนเดียว เนื่องจากมียีนพันธุกรรมของภาวะไวต่อสิ่งเร้าอยู่นั่นเอง
ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง อาการเป็นอย่างไร
อาการสำคัญของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังจะสังเกตได้ว่า ผู้ป่วยมักจะมีผิวแห้ง มีอาการคันบนผิวหนังมาก ๆ ผื่นที่ขึ้นจะเป้นผื่นแดงหรือมีตุ่มแดงนูน ซึ่งหากเกาผื่นจะยิ่งลุกลามมากขึ้น ทั้งนี้อาการของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง สามารถแยกอาการแสดงตามกลุ่มอายุของผู้ป่วยได้เช่นกัน โดยแบ่งอาการผื่นภูมิแพ้ผิวหนังได้ 3 กลุ่มดังต่อไปนี้
1. วัยทารก
ทารกระหว่างอายุ 2 เดือน-2 ขวบ มักจะเริ่มพบผื่นแดง คัน มีตุ่มแดงและตุ่มน้ำเล็ก ๆ อยู่ในผื่นแดงนั้น โดยส่วนมาจุดที่พบตุ่มคันจะพบได้ที่แก้ม หรืออาจพบผื่นคันขึ้นลามไปตามผิวหนังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ลำตัว ข้อศอก เข่า (บริเวณที่เด็กคลาน ถูไถ สัมผัสกับพื้นหรือที่นอน) และในรายที่เป็นมาก ๆ อาจพบผื่นภูมิแพ้ขึ้นทั่วร่างกายได้
2. วัยเด็ก
อายุระหว่าง 2-12 ปี มักจะพบว่ามีตุ่มนูนแดงแห้ง ๆ มีขุยเล็กน้อย และผื่นเหล่านั้นจะคันมาก มักพบผื่นคันได้บ่อยบริเวณรอบคอ ข้อพับด้านในของแขนและขา และหากผู้ป่วยเกาจนเกิดการถลอกบนผิวหนัง อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียในรอยโรคได้
3. วัยรุ่นและผู้ใหญ่
มักพบผื่นคันบริเวณรอบคอ ข้อพับแขน ขา และตามผิวหนังที่มีการเสียดสีกับเสื้อผ้า โดยลักษณะผื่นจะคล้าย ๆ กับผื่นที่เกิดในวัยเด็ก ซึ่งในรายที่เป็นมาก ๆ ผื่นอาจจะเกิดทั่วร่างกายได้เช่นกัน ที่สำคัญผู้ป่วยโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังในวัยผู้ใหญ่มีแนวโน้มที่จะเกิดผิวหนังอักเสบบริเวณมือได้ง่าย
อาการของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังมักจะเป็นเรื้อรัง กล่าวคือ จะมีช่วงที่อาการกำเริบ มีผื่นคันเห่อแดงขึ้นตามผิวหนัง สลับกับช่วงภาวะโรคสงบ คือไม่เกิดอาการผื่นคันใด ๆ ตามร่างกาย ซึ่งภาวะอาการกำเริบก็มักจะเกิดขึ้นเมื่อมีปัจจัยกระตุ้น
ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง กับปัจจัยกระตุ้นอาการที่ต้องระวัง
ปัจจัยที่กระตุ้นให้อาการผื่นภูมิแพ้ตามผิวหนังกำเริบ มีดังต่อไปนี้
- สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เช่น อากาศร้อน อากาศเย็น การอาบน้ำร้อน และสภาพอากาศที่แห้ง ล้วนเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดผื่นคันเห่อขึ้นได้
- สภาวะแวดล้อมสุ่มเสี่ยง เช่น การอยู่ในพื้นที่ที่มีละอองเกสร แมลง ขนสัตว์ ไรฝุ่น สิ่งเหล่านี้จะกระตุ้นให้เกิดผื่นคันมากขึ้น
- ฤดูกาล โดยเฉพาะช่วงหน้าหนาว อาการผื่นคันจะเห่อมากขึ้นเนื่องจากอากาศแห้ง อุณหภูมิที่หนาวเย็น ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีอาการผิวแห้ง ก่อให้เกิดอาการคันตามผิวหนังได้ง่าย หรือผู้ป่วยบางรายมีอาการกำเริบในช่วงหน้าร้อน เนื่องจากเหงื่ออกเยอะ ก่อให้เกิดอาการคันและมีผื่นขึ้นตามผิวหนังได้
- สารเคมีรอบตัวที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง เช่น น้ำหอม สบู่ ครีม โลชั่น โฟมล้างหน้า ยาสีฟัน ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม ฯลฯ สารเคมีแฝงในของใช้ใกล้ตัวเหล่านี้มีฤทธิ์เป็นด่าง สามารถละลายไขมันบนผิวหนัง ก่อให้เกิดภาวะผิวแห้ง และมีผื่นคันตามมา
- อาหารบางชนิด เช่น นม ไข่ ถั่ว อาหารทะเล ซึ่งผู้ป่วยบางคน (ประมาณ 10%) พบว่ามีอาการแพ้อาหารดังกล่าว
- เนื้อผ้าบางชนิดที่ระคายเคืองต่อผิว โดยเฉพาะเนื้อผ้าที่ทำจากขนสัตว์
- ความเครียด
- การพักผ่อนไม่เพียงพอ
- เชื้อโรค ทั้งเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา ก็มีส่วนกระตุ้นให้อาการกำเริบขึ้นได้ ที่สำคัญเชื้อโรคยังเพิ่มความเสี่ยงการติดเชื้อ การอักเสบบนผิวหนังที่มีรอยโรค ให้อาการผื่นคันกำเริบมากขึ้น
ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง รักษายังไงได้บ้าง
1. รักษาด้วยยา
การรักษาโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง แพทย์มักจะใช้ยาชนิดต้านฮีสตามีน เพื่อลดอาการคันบนผิวหนัง หรือจ่ายยาชนิดทา ซึ่งเป็นยาสเตียรอยด์ที่ช่วยลดการอักเสบของผื่นบนผิวหนัง ซึ่งการใช้ยารักษาโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังควรต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ เนื่องจากการรักษาค่อนข้างใช้เวลานาน หากใช้ยาไม่ถูกต้องอาจก่อใ้ห้เกิดอาการข้างเคียงได้
ทว่าหากมีตุ่มหนองเกิดแทรกซ้อนบนตุ่มหรือผื่นแดง แสดงว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย โดยการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะก็ควรอยู่ในการควบคุมของแพทย์ด้วยเช่นกัน
2. การฉายแสง
ในรายที่มีอาการรุนแรงมาก และเป็นผื่นคันบริเวณกว้าง (ทั่วร่างกาย) แพทย์อาจเลือกวิธีรักษาผื่นภูมิแพ้ผิวหนังด้วยการฉายแสงอาทิตย์เทียม หรือใช้ยากดภูมิคุ้มกัน
ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ดูแลตัวเองยังไงดีไม่ให้อาการกำเริบบ่อย ๆ
หากไม่มีปัจจัยกระตุ้นให้โรคกำเริบ ผู้ป่วยโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังก็จะมีภาวะโรคสงบ ไม่มีอาการคันบนผิวหนัง ไม่มีตุ่มคันขึ้นตามผิวหนัง ซึ่งหากอยากมีภาวะโรคสงบนาน ๆ เราสามารถดูแลตัวเองด้วยข้อปฏิบัติตามนี้เลยค่ะ
- หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้โรคกำเริบมากขึ้นดังที่กล่าวไปข้างต้น
- หลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่นซึ่งจะยิ่งทำให้ผิวแห้ง และควรเลือกใช้สบู่ที่อ่อยโยนต่อผวหนัง ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้
- ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวและบำรุงผิวที่ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง เหมาะแก่ผู้มีผิวบอบบาง แพ้ง่าย
- การทามอยซ์เจอไรเซอร์ หรือโลชั่น ควรทดสอบการแพ้ก่อนใช้ทุกครั้ง และแนะนำให้ทาหลังอาบน้ำทันที ถ้าผิวหนังยังแห้งมากควรทาเพิ่ม สามารถทาได้วันละหลายครั้ง
- ควรเลือกผงซักฟอกชนิดที่ระคายเคืองน้อย และควรซักล้างออกให้หมดก่อนนำเสื้อผ้ามาใส่
- ควรเลือกใช้เสื้อผ้าเนื้อนุ่ม โปร่งสบาย เช่น ผ้าแพร ผ้าฝ้าย หลีกเลี่ยงผ้าขนสัตว์
- หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ทำให้เหงื่อออกมาก ๆ
- ลดความเครียด ความวิตกกังวล
- ไม่ควรแกะ เกา บริเวณตุ่มคันหรือตามผิวหนัง เนื่องจากการเกาจะทำให้ผื่นผิวหนังที่อักเสบกำเริบเห่อมากขึ้น หรือก่อให้เกิดอาการติดเชื้อขึ้นได้
- ป้องกันและรักษาผิวแห้งโดยดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย รวมทั้งรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง รักษาหายขาดไหม
โรคนี้มักเป็นเรื้อรัง อาการของโรคมักเป็น ๆ หาย ๆ ผู้ป่วยโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังร้อยละ 60 จะปรากฏอาการก่อนอายุ 1 ปี ประมาณร้อยละ 85 จะปรากฏอาการก่อนอายุ 5 ปี และอาการมักจะดีขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น โดยประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย อาการจะดีขึ้นเมื่ออายุ 10 ปี
ส่วนผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังมีเพียงกลุ่มหนึ่งเท่านั้นที่อาจจะยังคงมีอาการจนกระทั่งเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ดังนั้นผู้ปกครองและผู้ป่วยจึงไม่ควรวิตกกังวลจนเกินไป ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์หรือปรึกษาแพทย์เมื่อมีปัญหา
หากใครมีผื่นคันหรือสงสัยว่าตัวเองเป็นโรคผื่นภูมิแพ้ทางผิวหนัง ก็รีบปรึกษาแพทย์ผิวหนัง พร้อมทั้งหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น และควรดูแลตัวเองให้ดีตามข้อควรปฏิบัติที่เราได้แนะนำไป ซึ่งจะช่วยลดโอกาสเกิดอาการกำเริบของโรคได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืด และวิทยาคุ้มกันแห่งประเทศไทย
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
โรคภูมิแพ้ผิวหนังหรืออาการผิวแห้ง คันมาก เป็นเรื้อรังแบบเดี๋ยวมาเดี๋ยวหาย อาการแบบนี้ไม่ใช่แค่ผื่นคันธรรมดานะคะ โดยเฉพาะคนที่เป็นผื่นคันค่อนข้างบ่อย เรียกว่าอยู่กับอาการผิวแห้ง คัน เกา จนเป็นวงจรไม่หยุดหย่อนมาโดยตลอด ในเคสแบบนี้ต้องบอกว่าอาการผื่นคันที่คุณเป็นอยู่นั้นอาจเป็นอาการของโรคภูมิแพ้ผิวหนัง หรือโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง ที่ควรต้องเข้ารับการรักษา และควรดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี ซึ่งจะช่วยลดความถี่ของการเกิดผื่นคันบนผิวหนังไม่ให้เกิดกับเราบ่อย ๆ ได้
และวันนี้กระปุกดอทคอมก็มีข้อมูลเรื่องโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังมาให้ทำความเข้าใจ ตั้งแต่ประเด็นสาเหตุของการเกิดโรค อาการผื่นภูมิแพ้ การรักษา และการดูแลผิวแพ้ง่ายอย่างถูกต้อง
ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง หนึ่งในโรคผิวหนังที่ควรต้องรู้จัก
ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังจัดเป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง โดยผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ภาษาอังกฤษจะเรียกว่า Atopic dermatitis แต่ในภาษาไทยเรามีชื่อเรียกโรคนี้อย่างหลากหลายค่ะ ทั้งโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง โรคภูมิแพ้ผิวหนัง ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบ โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ โรคผิวหนังอักเสบไวเกิน หรือโรคผิวไว เป็นต้น
ผื่นแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis) เป็นโรคที่เกิดจากผิวหนังมีการอักเสบเรื้อรัง จากปฏิกริยาทางภูมิแพ้ โดยพบโรคนี้ได้บ่อยในเด็ก และมักพบในผู้ที่มีแนวโน้มทางพันธุกรรมอยู่เป็นพื้นฐาน กล่าวคือ อาการผื่นคันที่เกิดขึ้นมักจะไม่ใช่อาการของโรคติดต่อ หรือเกิดผื่นคันจากการขาดสุขอนามัยที่ดี แต่เกิดมาจากร่างกายของผู้ป่วยมีภูมิที่ไวต่อการตอบสนองต่อปัจจัยกระตุ้นต่าง ๆ มากเกินไป
โดยมักพบว่า ผู้ป่วยที่มีอาการภูมิแพ้ผิวหนัง อาจจะมีอาการภูมิแพ้อื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น แพ้อากาศ จามบ่อย ๆ เยื่อบุจมูกและเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ และหอบหืด เป็นต้น และอาการผื่นคันและ/หรือร่วมกับอาการภูมิแพ้อื่น ๆ ดังข้างต้น มักจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาอากาศเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะในสภาพอากาศที่ร้อนจัด อากาศเย็น อากาศแห้ง หรืออากาศชื้น
อย่างไรก็ตาม โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังสามารถเกิดขึ้นกับผู้ที่ไม่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้ได้เช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่ในเคสนี้จะพบว่ามีความผิดปกติอยู่ในยีนของคนในครอบครัวโดยไม่เกิดอาการแสดงเป็นอาการแพ้ทางร่างกาย แต่อาการกลับมาแสดงกับตัวผู้ป่วยเพียงคนเดียว เนื่องจากมียีนพันธุกรรมของภาวะไวต่อสิ่งเร้าอยู่นั่นเอง
ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง อาการเป็นอย่างไร
อาการสำคัญของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังจะสังเกตได้ว่า ผู้ป่วยมักจะมีผิวแห้ง มีอาการคันบนผิวหนังมาก ๆ ผื่นที่ขึ้นจะเป้นผื่นแดงหรือมีตุ่มแดงนูน ซึ่งหากเกาผื่นจะยิ่งลุกลามมากขึ้น ทั้งนี้อาการของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง สามารถแยกอาการแสดงตามกลุ่มอายุของผู้ป่วยได้เช่นกัน โดยแบ่งอาการผื่นภูมิแพ้ผิวหนังได้ 3 กลุ่มดังต่อไปนี้
1. วัยทารก
ทารกระหว่างอายุ 2 เดือน-2 ขวบ มักจะเริ่มพบผื่นแดง คัน มีตุ่มแดงและตุ่มน้ำเล็ก ๆ อยู่ในผื่นแดงนั้น โดยส่วนมาจุดที่พบตุ่มคันจะพบได้ที่แก้ม หรืออาจพบผื่นคันขึ้นลามไปตามผิวหนังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ลำตัว ข้อศอก เข่า (บริเวณที่เด็กคลาน ถูไถ สัมผัสกับพื้นหรือที่นอน) และในรายที่เป็นมาก ๆ อาจพบผื่นภูมิแพ้ขึ้นทั่วร่างกายได้
2. วัยเด็ก
อายุระหว่าง 2-12 ปี มักจะพบว่ามีตุ่มนูนแดงแห้ง ๆ มีขุยเล็กน้อย และผื่นเหล่านั้นจะคันมาก มักพบผื่นคันได้บ่อยบริเวณรอบคอ ข้อพับด้านในของแขนและขา และหากผู้ป่วยเกาจนเกิดการถลอกบนผิวหนัง อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียในรอยโรคได้
3. วัยรุ่นและผู้ใหญ่
มักพบผื่นคันบริเวณรอบคอ ข้อพับแขน ขา และตามผิวหนังที่มีการเสียดสีกับเสื้อผ้า โดยลักษณะผื่นจะคล้าย ๆ กับผื่นที่เกิดในวัยเด็ก ซึ่งในรายที่เป็นมาก ๆ ผื่นอาจจะเกิดทั่วร่างกายได้เช่นกัน ที่สำคัญผู้ป่วยโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังในวัยผู้ใหญ่มีแนวโน้มที่จะเกิดผิวหนังอักเสบบริเวณมือได้ง่าย
อาการของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังมักจะเป็นเรื้อรัง กล่าวคือ จะมีช่วงที่อาการกำเริบ มีผื่นคันเห่อแดงขึ้นตามผิวหนัง สลับกับช่วงภาวะโรคสงบ คือไม่เกิดอาการผื่นคันใด ๆ ตามร่างกาย ซึ่งภาวะอาการกำเริบก็มักจะเกิดขึ้นเมื่อมีปัจจัยกระตุ้น
ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง กับปัจจัยกระตุ้นอาการที่ต้องระวัง
ปัจจัยที่กระตุ้นให้อาการผื่นภูมิแพ้ตามผิวหนังกำเริบ มีดังต่อไปนี้
- สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เช่น อากาศร้อน อากาศเย็น การอาบน้ำร้อน และสภาพอากาศที่แห้ง ล้วนเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดผื่นคันเห่อขึ้นได้
- สภาวะแวดล้อมสุ่มเสี่ยง เช่น การอยู่ในพื้นที่ที่มีละอองเกสร แมลง ขนสัตว์ ไรฝุ่น สิ่งเหล่านี้จะกระตุ้นให้เกิดผื่นคันมากขึ้น
- ฤดูกาล โดยเฉพาะช่วงหน้าหนาว อาการผื่นคันจะเห่อมากขึ้นเนื่องจากอากาศแห้ง อุณหภูมิที่หนาวเย็น ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีอาการผิวแห้ง ก่อให้เกิดอาการคันตามผิวหนังได้ง่าย หรือผู้ป่วยบางรายมีอาการกำเริบในช่วงหน้าร้อน เนื่องจากเหงื่ออกเยอะ ก่อให้เกิดอาการคันและมีผื่นขึ้นตามผิวหนังได้
- สารเคมีรอบตัวที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง เช่น น้ำหอม สบู่ ครีม โลชั่น โฟมล้างหน้า ยาสีฟัน ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม ฯลฯ สารเคมีแฝงในของใช้ใกล้ตัวเหล่านี้มีฤทธิ์เป็นด่าง สามารถละลายไขมันบนผิวหนัง ก่อให้เกิดภาวะผิวแห้ง และมีผื่นคันตามมา
- อาหารบางชนิด เช่น นม ไข่ ถั่ว อาหารทะเล ซึ่งผู้ป่วยบางคน (ประมาณ 10%) พบว่ามีอาการแพ้อาหารดังกล่าว
- เนื้อผ้าบางชนิดที่ระคายเคืองต่อผิว โดยเฉพาะเนื้อผ้าที่ทำจากขนสัตว์
- ความเครียด
- การพักผ่อนไม่เพียงพอ
- เชื้อโรค ทั้งเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา ก็มีส่วนกระตุ้นให้อาการกำเริบขึ้นได้ ที่สำคัญเชื้อโรคยังเพิ่มความเสี่ยงการติดเชื้อ การอักเสบบนผิวหนังที่มีรอยโรค ให้อาการผื่นคันกำเริบมากขึ้น
ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง รักษายังไงได้บ้าง
1. รักษาด้วยยา
การรักษาโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง แพทย์มักจะใช้ยาชนิดต้านฮีสตามีน เพื่อลดอาการคันบนผิวหนัง หรือจ่ายยาชนิดทา ซึ่งเป็นยาสเตียรอยด์ที่ช่วยลดการอักเสบของผื่นบนผิวหนัง ซึ่งการใช้ยารักษาโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังควรต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ เนื่องจากการรักษาค่อนข้างใช้เวลานาน หากใช้ยาไม่ถูกต้องอาจก่อใ้ห้เกิดอาการข้างเคียงได้
ทว่าหากมีตุ่มหนองเกิดแทรกซ้อนบนตุ่มหรือผื่นแดง แสดงว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย โดยการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะก็ควรอยู่ในการควบคุมของแพทย์ด้วยเช่นกัน
2. การฉายแสง
ในรายที่มีอาการรุนแรงมาก และเป็นผื่นคันบริเวณกว้าง (ทั่วร่างกาย) แพทย์อาจเลือกวิธีรักษาผื่นภูมิแพ้ผิวหนังด้วยการฉายแสงอาทิตย์เทียม หรือใช้ยากดภูมิคุ้มกัน
หากไม่มีปัจจัยกระตุ้นให้โรคกำเริบ ผู้ป่วยโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังก็จะมีภาวะโรคสงบ ไม่มีอาการคันบนผิวหนัง ไม่มีตุ่มคันขึ้นตามผิวหนัง ซึ่งหากอยากมีภาวะโรคสงบนาน ๆ เราสามารถดูแลตัวเองด้วยข้อปฏิบัติตามนี้เลยค่ะ
- หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้โรคกำเริบมากขึ้นดังที่กล่าวไปข้างต้น
- หลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่นซึ่งจะยิ่งทำให้ผิวแห้ง และควรเลือกใช้สบู่ที่อ่อยโยนต่อผวหนัง ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้
- ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวและบำรุงผิวที่ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง เหมาะแก่ผู้มีผิวบอบบาง แพ้ง่าย
- การทามอยซ์เจอไรเซอร์ หรือโลชั่น ควรทดสอบการแพ้ก่อนใช้ทุกครั้ง และแนะนำให้ทาหลังอาบน้ำทันที ถ้าผิวหนังยังแห้งมากควรทาเพิ่ม สามารถทาได้วันละหลายครั้ง
- ควรเลือกผงซักฟอกชนิดที่ระคายเคืองน้อย และควรซักล้างออกให้หมดก่อนนำเสื้อผ้ามาใส่
- ควรเลือกใช้เสื้อผ้าเนื้อนุ่ม โปร่งสบาย เช่น ผ้าแพร ผ้าฝ้าย หลีกเลี่ยงผ้าขนสัตว์
- หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ทำให้เหงื่อออกมาก ๆ
- ลดความเครียด ความวิตกกังวล
- ไม่ควรแกะ เกา บริเวณตุ่มคันหรือตามผิวหนัง เนื่องจากการเกาจะทำให้ผื่นผิวหนังที่อักเสบกำเริบเห่อมากขึ้น หรือก่อให้เกิดอาการติดเชื้อขึ้นได้
- ป้องกันและรักษาผิวแห้งโดยดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย รวมทั้งรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง รักษาหายขาดไหม
โรคนี้มักเป็นเรื้อรัง อาการของโรคมักเป็น ๆ หาย ๆ ผู้ป่วยโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังร้อยละ 60 จะปรากฏอาการก่อนอายุ 1 ปี ประมาณร้อยละ 85 จะปรากฏอาการก่อนอายุ 5 ปี และอาการมักจะดีขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น โดยประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย อาการจะดีขึ้นเมื่ออายุ 10 ปี
ส่วนผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังมีเพียงกลุ่มหนึ่งเท่านั้นที่อาจจะยังคงมีอาการจนกระทั่งเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ดังนั้นผู้ปกครองและผู้ป่วยจึงไม่ควรวิตกกังวลจนเกินไป ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์หรือปรึกษาแพทย์เมื่อมีปัญหา
หากใครมีผื่นคันหรือสงสัยว่าตัวเองเป็นโรคผื่นภูมิแพ้ทางผิวหนัง ก็รีบปรึกษาแพทย์ผิวหนัง พร้อมทั้งหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น และควรดูแลตัวเองให้ดีตามข้อควรปฏิบัติที่เราได้แนะนำไป ซึ่งจะช่วยลดโอกาสเกิดอาการกำเริบของโรคได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืด และวิทยาคุ้มกันแห่งประเทศไทย
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล