ซิฟิลิส อีกหนึ่งโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่พบได้ไม่น้อย อาการซิฟิลิส เป็นอย่างไร รักษาหายได้ไหม มาอ่านกัน
นอกจากโรคเอดส์ หนองใน แล้ว ซิฟิลิส (Syphilis) ก็เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่น่ากลัวอีกโรคหนึ่ง ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Treponema Pallidum ที่ว่าน่ากลัวก็เพราะเชื้อจะไม่แสดงอาการออกมาให้เห็นได้ชัด แต่สามารถติดต่อกันได้ และเป็นเรื้อรังนานกว่า 2 ปีเลยทีเดียว แถมเมื่อรักษาหายแล้ว ยังอาจกลับมาเป็นได้ใหม่ด้วย
สำหรับโรคซิฟิลิสนี้ พบได้ราว 10-15% ของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทั้งหมด และหากใครกำลังสงสัยว่า เราเป็นกลุ่มเสี่ยง หรือมีอาการของโรคซิฟิลิส หรือไม่ มาทำความรู้จักกับเจ้าโรคนี้ไปพร้อม ๆ กันเลย
โรคซิฟิลิส ติดต่อกันได้อย่างไร
คนเราสามารถรับเชื้อซิฟิลิสได้ 3 ทาง คือ
1. ทางเพศสัมพันธ์ โดยติดต่อผ่านทางเยื่อบุช่องคลอด ท่อปัสสาวะ ทวารหนัก
2. ติดต่อผ่านการสัมผัสแผลที่มีเชื้อ โดยผ่านทางผิวหนัง เยื่อบุตา ปาก
3. จากแม่สู่ลูก โดยหากมารดาเป็นซิฟิลิส จะถ่ายทอดโรคนี้สู่ทารกในครรภ์ได้ โดยเรียกเด็กที่เป็นซิฟิลิสจากสาเหตุนี้ว่า ซิฟิลิสแต่กำเนิด (Congenital Syphilis) จะแสดงอาการหลังคลอดได้ 3-8 สัปดาห์ และเป็นอาการเล็กน้อยมาก จนแทบไม่ทันได้สังเกต เช่น มีตุ่มผื่นขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่มาออกอาการมาก ๆ เข้าเมื่อตอนโต ซึ่งก็เข้าสู่ระยะที่สี่แล้ว หรือบางคนอาจแสดงอาการพิการออกมาให้เห็นได้ชัด
อาการของโรคซิฟิลิส
ซิฟิลิส ส่วนใหญ่มักพบในผู้ชาย โดยผู้ป่วยซิฟิลิสจะมีอาการหลายแบบ ขึ้นอยู่กับระยะของโรค ซึ่งแบ่งเป็น 4 ขั้น คือ
* ซิฟิลิส ระยะแรก Primary Syphilis
เชื้อซิฟิลิสจะเข้าทางเยื่อบุ หรือรอยถลอก รอยแผลที่ผิวหนังซึ่งมักพบที่อวัยวะเพศชาย อัณฑะ ทวารหนัก ช่องคลอด ริมฝีปาก และมักเป็นเพียงแผลเดียว ลักษณะเป็นแผลริมแข็ง คือแผลมีขอบนูนแข็ง แต่ไม่เจ็บ และดูสะอาด ต่อมน้ำเหลืองจะโต
จากนั้นอีก 10-90 วัน หลังจากได้รับเชื้อจะเกิดตุ่มแดงแตกออกเป็นแผลที่อวัยวะเพศ ตรงบริเวณที่เชื้อเข้า แผลที่เห็นจะเป็นอยู่ 1-5 สัปดาห์ แล้วจะหายไปเองได้ แต่แม้แผลจะหายแล้ว ยังคงมีเชื้อซิฟิลิสในกระแสเลือดอยู่ อย่างไรก็ตาม หากผู้ได้รับเชื้อซิฟิลิสเป็นโรคเอดส์อยู่ก่อนหน้า แผลที่ปรากฏจะมีขนาดใหญ่ และกดเจ็บมาก
* ซิฟิลิส ระยะที่ 2 Secondary Syphilis
หากผู้ป่วยซิฟิลิสไม่ได้รับการรักษาในระยะแรก จนกระทั่งล่วงเลยมาประมาณ 6-8 สัปดาห์ ซิฟิลิสจะเข้าสู่ระยะที่สอง โดยเชื้อจะกระจายไปตามกระแสเลือด ทำให้เป็นไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามข้อ เพราะข้ออักเสบ
นอกจากนี้ยังปรากฏอาการสำคัญ คือ ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ มีผื่นสีแดงน้ำตาลขึ้นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และอาจพบได้ทั่วตัว โดยที่ไม่คัน รวมทั้งยังอาจพบผื่นสีเทาในปาก คอ และปากมดลูก และอาจพบหูด Condylomata lata ในบริเวณที่อับชื้น เช่น รักแร้ ทวารหนัก ขาหนีบ ระยะนี้จึงอาจเรียกได้ว่า ระยะเข้าข้อ หรือออกดอก อย่างไรก็ตาม อาการในขั้นนี้จะเป็นอยู่ประมาณ 1-3 เดือนและจะหายไปได้เอง โดยอาจกลับมาเป็นซ้ำได้ใหม่
* ซิฟิลิส ระยะที่ 3 Latent Stage หรือ ระยะแฝง
ระยะนี้อาจกินเวลานานหลายปีหลังจากได้รับเชื้อเลยทีเดียว และจะเป็นระยะที่ไม่มีอาการใด ๆ ของโรคปรากฏออกมา แต่อาจจะเกิดผื่นได้เหมือนในระยะที่ 2 ดังนั้นการเจาะเลือดไปตรวจเป็นทางเดียวที่จะตรวจสอบได้ว่า เป็นโรคซิฟิลิสหรือไม่ และหากสตรีที่มีเชื้อซิฟิลิสเข้าสู่ขั้นที่ 3 นี้เกิดตั้งครรภ์ เชื้อซิฟิลิสจะสามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกในครรภ์ได้
* ซิฟิลิส ระยะที่ 4 Late Stage (Tertiary)
ระยะนี้จะกินเวลา 2–30 ปี หลังได้รับเชื้อ โดยเชื้อจะเข้าไปทำลายอวัยวะต่าง ๆ ภายใน ทำให้เกิดความผิดปกติ เช่น ซิฟิลิสระบบหัวใจและหลอดเลือด ซิฟิลิสระบบประสาท อาจทำให้ตาบอด หูหนวก กระดูกหักได้ง่าย ซึ่งหากรักษาไม่ทัน จะทำให้อวัยวะต่าง ๆ ทั้งสมอง หัวใจ ไขสันหลัง ถูกทำลายจนไม่สามารถกลับเป็นปกติได้ ส่วนเด็กในครรภ์ที่ได้รับเชื้อจากมารดาก็อาจเกิดความผิดปกติ พิการ เสียชีวิตตั้งแต่ในครรภ์ หรือเสียชีวิตหลังคลอดได้
จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น ซิฟิลิส
การจะพิสูจน์ว่าเป็นซิฟิลิสหรือไม่ สามารถทำโดยนำน้ำเหลืองจากแผล หรือผื่นที่ปรากฏบนตัวผู้ป่วยไปส่องกล้องจุลทรรศน์ชนิดพิเศษ เพื่อหาตัวเชื้อโรค หรือหากติดเชื้อไปแล้วอาจจะเจาะเลือดตรวจหาวีดีอาร์แอล (เลือดบวก) ไม่สามารถดูจากอาการเพียงอย่างเดียวได้
การรักษาโรคซิฟิลิส
ผู้ป่วยโรคซิฟิลิสไม่ต้องกังวลไป เพราะหากตรวจพบเชื้อตั้งแต่ระยะต้น ๆ จะสามารถรักษาให้หายได้ ด้วยการฉีดยาเพนิซิลลินเข้ากล้าม หรือให้ยาเตตราไซคลีนมารับประทาน เป็นเวลา 1-3 สัปดาห์ ทั้งนี้ระยะเวลาการรักษาขึ้นกับระยะของโรคที่เป็นด้วย และหากผู้ป่วยมีคู่สมรสก็ควรได้รับการรักษาคู่กัน
อย่างไรก็ตาม แม้จะรักษาหายแล้วต้องกลับมาตรวจซ้ำอีกในช่วงแรก ทุก ๆ 3 เดือนจนครบ 3 ปี เพราะอาจมีเชื้อหลบในแอบแฝงอยู่ และจะได้แน่ใจว่าโรคหายขาด ทั้งนี้ ระหว่างการรักษาโรคซิฟิลิส ผู้ป่วยต้องปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด งดการมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่บุคคลอื่น
แล้วจะป้องกัน ซิฟิลิส ได้อย่างไร
ที่ทำได้และง่ายที่สุดในการป้องกันเจ้าโรคซิฟิลิสก็คือ ควรป้องกันด้วยการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อจะมีเพศสัมพันธ์ และไม่ควรเปลี่ยนคู่นอนบ่อย หากจะแต่งงานต้องจูงมือคนรักไปตรวจเลือดก่อนแต่งงาน เพื่อว่าหากพบใครเป็นโรคนี้จะได้รักษาให้หายขาดก่อน
นอกจากนี้ใครที่มีอาการผิดปกติ ที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นโรค ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยโดยเร็วที่สุด เพื่อจะได้รักษาโรคได้ทันท่วงที ก่อนจะสายจนเกินเยียวยา
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย
สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย
thailabonline.com
นอกจากโรคเอดส์ หนองใน แล้ว ซิฟิลิส (Syphilis) ก็เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่น่ากลัวอีกโรคหนึ่ง ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Treponema Pallidum ที่ว่าน่ากลัวก็เพราะเชื้อจะไม่แสดงอาการออกมาให้เห็นได้ชัด แต่สามารถติดต่อกันได้ และเป็นเรื้อรังนานกว่า 2 ปีเลยทีเดียว แถมเมื่อรักษาหายแล้ว ยังอาจกลับมาเป็นได้ใหม่ด้วย
สำหรับโรคซิฟิลิสนี้ พบได้ราว 10-15% ของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทั้งหมด และหากใครกำลังสงสัยว่า เราเป็นกลุ่มเสี่ยง หรือมีอาการของโรคซิฟิลิส หรือไม่ มาทำความรู้จักกับเจ้าโรคนี้ไปพร้อม ๆ กันเลย
โรคซิฟิลิส ติดต่อกันได้อย่างไร
คนเราสามารถรับเชื้อซิฟิลิสได้ 3 ทาง คือ
1. ทางเพศสัมพันธ์ โดยติดต่อผ่านทางเยื่อบุช่องคลอด ท่อปัสสาวะ ทวารหนัก
2. ติดต่อผ่านการสัมผัสแผลที่มีเชื้อ โดยผ่านทางผิวหนัง เยื่อบุตา ปาก
3. จากแม่สู่ลูก โดยหากมารดาเป็นซิฟิลิส จะถ่ายทอดโรคนี้สู่ทารกในครรภ์ได้ โดยเรียกเด็กที่เป็นซิฟิลิสจากสาเหตุนี้ว่า ซิฟิลิสแต่กำเนิด (Congenital Syphilis) จะแสดงอาการหลังคลอดได้ 3-8 สัปดาห์ และเป็นอาการเล็กน้อยมาก จนแทบไม่ทันได้สังเกต เช่น มีตุ่มผื่นขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่มาออกอาการมาก ๆ เข้าเมื่อตอนโต ซึ่งก็เข้าสู่ระยะที่สี่แล้ว หรือบางคนอาจแสดงอาการพิการออกมาให้เห็นได้ชัด
ซิฟิลิส ส่วนใหญ่มักพบในผู้ชาย โดยผู้ป่วยซิฟิลิสจะมีอาการหลายแบบ ขึ้นอยู่กับระยะของโรค ซึ่งแบ่งเป็น 4 ขั้น คือ
* ซิฟิลิส ระยะแรก Primary Syphilis
เชื้อซิฟิลิสจะเข้าทางเยื่อบุ หรือรอยถลอก รอยแผลที่ผิวหนังซึ่งมักพบที่อวัยวะเพศชาย อัณฑะ ทวารหนัก ช่องคลอด ริมฝีปาก และมักเป็นเพียงแผลเดียว ลักษณะเป็นแผลริมแข็ง คือแผลมีขอบนูนแข็ง แต่ไม่เจ็บ และดูสะอาด ต่อมน้ำเหลืองจะโต
จากนั้นอีก 10-90 วัน หลังจากได้รับเชื้อจะเกิดตุ่มแดงแตกออกเป็นแผลที่อวัยวะเพศ ตรงบริเวณที่เชื้อเข้า แผลที่เห็นจะเป็นอยู่ 1-5 สัปดาห์ แล้วจะหายไปเองได้ แต่แม้แผลจะหายแล้ว ยังคงมีเชื้อซิฟิลิสในกระแสเลือดอยู่ อย่างไรก็ตาม หากผู้ได้รับเชื้อซิฟิลิสเป็นโรคเอดส์อยู่ก่อนหน้า แผลที่ปรากฏจะมีขนาดใหญ่ และกดเจ็บมาก
* ซิฟิลิส ระยะที่ 2 Secondary Syphilis
หากผู้ป่วยซิฟิลิสไม่ได้รับการรักษาในระยะแรก จนกระทั่งล่วงเลยมาประมาณ 6-8 สัปดาห์ ซิฟิลิสจะเข้าสู่ระยะที่สอง โดยเชื้อจะกระจายไปตามกระแสเลือด ทำให้เป็นไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามข้อ เพราะข้ออักเสบ
นอกจากนี้ยังปรากฏอาการสำคัญ คือ ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ มีผื่นสีแดงน้ำตาลขึ้นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และอาจพบได้ทั่วตัว โดยที่ไม่คัน รวมทั้งยังอาจพบผื่นสีเทาในปาก คอ และปากมดลูก และอาจพบหูด Condylomata lata ในบริเวณที่อับชื้น เช่น รักแร้ ทวารหนัก ขาหนีบ ระยะนี้จึงอาจเรียกได้ว่า ระยะเข้าข้อ หรือออกดอก อย่างไรก็ตาม อาการในขั้นนี้จะเป็นอยู่ประมาณ 1-3 เดือนและจะหายไปได้เอง โดยอาจกลับมาเป็นซ้ำได้ใหม่
ภาพจาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
* ซิฟิลิส ระยะที่ 3 Latent Stage หรือ ระยะแฝง
ระยะนี้อาจกินเวลานานหลายปีหลังจากได้รับเชื้อเลยทีเดียว และจะเป็นระยะที่ไม่มีอาการใด ๆ ของโรคปรากฏออกมา แต่อาจจะเกิดผื่นได้เหมือนในระยะที่ 2 ดังนั้นการเจาะเลือดไปตรวจเป็นทางเดียวที่จะตรวจสอบได้ว่า เป็นโรคซิฟิลิสหรือไม่ และหากสตรีที่มีเชื้อซิฟิลิสเข้าสู่ขั้นที่ 3 นี้เกิดตั้งครรภ์ เชื้อซิฟิลิสจะสามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกในครรภ์ได้
* ซิฟิลิส ระยะที่ 4 Late Stage (Tertiary)
ระยะนี้จะกินเวลา 2–30 ปี หลังได้รับเชื้อ โดยเชื้อจะเข้าไปทำลายอวัยวะต่าง ๆ ภายใน ทำให้เกิดความผิดปกติ เช่น ซิฟิลิสระบบหัวใจและหลอดเลือด ซิฟิลิสระบบประสาท อาจทำให้ตาบอด หูหนวก กระดูกหักได้ง่าย ซึ่งหากรักษาไม่ทัน จะทำให้อวัยวะต่าง ๆ ทั้งสมอง หัวใจ ไขสันหลัง ถูกทำลายจนไม่สามารถกลับเป็นปกติได้ ส่วนเด็กในครรภ์ที่ได้รับเชื้อจากมารดาก็อาจเกิดความผิดปกติ พิการ เสียชีวิตตั้งแต่ในครรภ์ หรือเสียชีวิตหลังคลอดได้
จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น ซิฟิลิส
การจะพิสูจน์ว่าเป็นซิฟิลิสหรือไม่ สามารถทำโดยนำน้ำเหลืองจากแผล หรือผื่นที่ปรากฏบนตัวผู้ป่วยไปส่องกล้องจุลทรรศน์ชนิดพิเศษ เพื่อหาตัวเชื้อโรค หรือหากติดเชื้อไปแล้วอาจจะเจาะเลือดตรวจหาวีดีอาร์แอล (เลือดบวก) ไม่สามารถดูจากอาการเพียงอย่างเดียวได้
การรักษาโรคซิฟิลิส
ผู้ป่วยโรคซิฟิลิสไม่ต้องกังวลไป เพราะหากตรวจพบเชื้อตั้งแต่ระยะต้น ๆ จะสามารถรักษาให้หายได้ ด้วยการฉีดยาเพนิซิลลินเข้ากล้าม หรือให้ยาเตตราไซคลีนมารับประทาน เป็นเวลา 1-3 สัปดาห์ ทั้งนี้ระยะเวลาการรักษาขึ้นกับระยะของโรคที่เป็นด้วย และหากผู้ป่วยมีคู่สมรสก็ควรได้รับการรักษาคู่กัน
อย่างไรก็ตาม แม้จะรักษาหายแล้วต้องกลับมาตรวจซ้ำอีกในช่วงแรก ทุก ๆ 3 เดือนจนครบ 3 ปี เพราะอาจมีเชื้อหลบในแอบแฝงอยู่ และจะได้แน่ใจว่าโรคหายขาด ทั้งนี้ ระหว่างการรักษาโรคซิฟิลิส ผู้ป่วยต้องปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด งดการมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่บุคคลอื่น
แล้วจะป้องกัน ซิฟิลิส ได้อย่างไร
ที่ทำได้และง่ายที่สุดในการป้องกันเจ้าโรคซิฟิลิสก็คือ ควรป้องกันด้วยการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อจะมีเพศสัมพันธ์ และไม่ควรเปลี่ยนคู่นอนบ่อย หากจะแต่งงานต้องจูงมือคนรักไปตรวจเลือดก่อนแต่งงาน เพื่อว่าหากพบใครเป็นโรคนี้จะได้รักษาให้หายขาดก่อน
นอกจากนี้ใครที่มีอาการผิดปกติ ที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นโรค ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยโดยเร็วที่สุด เพื่อจะได้รักษาโรคได้ทันท่วงที ก่อนจะสายจนเกินเยียวยา
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย
สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย
thailabonline.com