สำหรับผู้ใช้รถใช้ถนน! สิ่งที่ควรรู้แต่ไม่มีใครเคยบอก อักษรบนขอบยางมีความหมาย ใช้ผิดประเภทเสี่ยงยางระเบิด!

การขับขี่ที่ดีควรมียางที่ดีเป็นตัวประสานระหว่างรถและผู้ขับ หากยางที่ใช้นั้นดีประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนก็จะออกมาอย่างเต็มที่ การที่จะเปลี่ยนยางสักครั้งควรเรียนรู้ว่า ยางแต่ละชนิดผลิตขึ้นมาเพื่อการใช้งานประเภทใด ซึ่งจะทำให้เราได้ของที่เราต้องการมากที่สุด ตอบโจทการใช้งานเรามากที่สุด และคุ้มเงินเรามากที่สุด ไม่ควรสักแต่ว่าเปลี่ยน หรือเข้าร้านแล้วให้ร้านเลือกให้ เราควรมีความรู้ในการเลือกใช้เอง

ค่าต่างๆที่สำคัญ ยางรถยนต์โดยทั่วไป รหัสบนแก้มยางรถยนต์จะบ่งบอกอะไรหลายๆ อย่างพื้นฐานที่เราสามารถรับรู้ได้ คือ ขนาด และ วันผลิตยางซิ่ง ยางถนน ค่าต่างๆที่สำคัญกับยางรถยนต์ Code ยางรถยนต์ 185 คือ ความกว้างของยาง มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร75 คือ ความสูงของแก้มยาง เท่ากับ 75% ของความกว้างยางR คือ ชนิดของยาง ซึ่งตอนนี้ก็เป็นเรเดียลเกือบทั้งหมด14 คือ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางล้อ หน่วยเป็นนิ้ว82 พิกัดรับน้ำหนักบรรทุกs พิกัดอัตราความเร็ว

ความกว้างของยาง หมายถึงความกว้างสูงสุดระหว่างแก้มซ้าย-แก้มขวา ความสูงของแก้มยาง โดยทั่วไปเราเรียกกันว่า ” ซีรีย์ ” เช่น ซีรีย์60 สูง 60%ของความกว้างยาง เส้นผ่าศูนย์กลางของล้อ โดยทั่วไปเราเรียกกันว่า ” ขอบ ” เช่น ยางขอบ 15 ใส่กับล้อ ขอบ 15

พิกัดรับน้ำหนักบรรทุก กับ พิกัดอัตราความเร็ว ดูตามตารางด้านล่าง

Code วันผลิต

ตรงแก้มยางรถยนต์หาดูดีดี ยางส่วนใหญ่จะบอกไว้รหัส ตามภาพ (4202) หมายถึง ผลิตเมื่อ สัปดาห์ที่ 42 ของปี 2002ตัวเลข คู่แรก คือ สัปดาห์ที่ 42 คู่หลัง คือ ปี 02

จุดสีเหลืองนี้ เรียกว่าจุด weight mark ซึ่งผู้ผลิตยางรถยนต์ จะทำเครื่องหมายด้วยการแต้มสีลงบนส่วนที่เบาที่สุดของยาง เพื่อให้ช่างทราบว่า ส่วนใดมีน้ำหนัดเบาที่สุด บนยางรถยนต์เส้นนี้ และก็ควรใส่ยางโดยเอาจุ๊บลม (ซึ่งมีน้ำหนักถ่วง) ให้ตรงกับจุดสีเหลืองนั้น เพื่อที่จะได้เกิดความสมมาตรมากที่สุด เวลาที่ถ่วงล้อ

การผลิตยางรถยนต์แต่ละเส้น แต่ละล๊อตเป็นไปไม่ได้ที่น้ำหนักยางจะคงที่เท่ากันทั้งหมด จุดสีเหลือง จึงเป็นเรื่องที่เราควรทราบ และ ช่างก็ควรทราบ จะได้ไม่เปลืองตะกั่วถ่วงยางมากเกินไป แต่เมื่อใด ที่เห็นจุดสีแดงปรากฏอยู่บนแก้มยางรถยนต์ด้วย ให้ลืมจุดสีเหลืองไปได้เลย แล้วยึดจุดสีแดงแทนครับ

ความหมายของตัวเลขและตัวอักษรบนแก้มยางรถกระบะ มีลักษณะดังนี้  195R14C 8PR คือ..

195 คือ ความกว้างยางรถยนต์ มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร

R คือ โครงสร้างยางแบบเรเดียล14 คือ เส้นผ่าศูนย์กลางกระทะล้อ มีหน่วยเป็นนิ้ว

C คือ ยางที่ใช้เพื่อการขนส่ง (มาจากคำว่า commercial)

8PR คือ อัตราชั้นผ้าใบเทียบเท่า 8 ชั้น(ในส่วนของซีรีส์ ถ้าไม่ได้ระบุ คือ ซีรีส์ 80)

ความหมายของตัวเลขและตัวอักษรบนแก้มยางรถขับเคลื่อน 4 ล้อมีลักษณะดังนี้

31×10.5R15

31 คือ เส้นผ่าศูนย์กลางยางรถยนต์ มีหน่วยเป็นนิ้ว

10.5 คือ ความกว้างยาง มีหน่วยเป็นนิ้ว

R คือ โครงสร้างยางแบบเรเดียล

15 คือ เส้นผ่าศูนย์กลางกระทะล้อ มีหน่วยเป็นนิ้ว

ตัวอย่างเช่น 120/70-ZR17 58W

120 คือ ความกว้างหน้ายาง 120 มิลลิเมตร

70 คือ ความสูงแก้มยาง วัดเป็นเปอร์เซ็นต์ของความกว้างหน้ายาง ในตัวอย่างคือ 70% ของ 120 นั่นคือ ยางมีความสูง 84 มม.

Z คือ ตัวบอกว่าเป็นยางที่ใช้กับรถความเร็วสูง

R คือ บอกชนิดของยาง ว่าเป็นยางเรเดียล ถ้าไม่มีตัวนี้แสดงว่าเป็นยาง Belt Bias

17 คือ ขนาดขอบล้อ 17 นิ้ว

58 คือ เรทการรับน้ำหนักสูงสุดของยาง (Load Index) เทียบเท่ากับ 236 กิโลกรัม

W คือ เรทความเร็วสูงสุดที่ยางรับได้ ซึ่งตัว W หมายถึงไม่เกิน 270 กม./ชม.

ถ้ามีคำว่า M/C อยู่นั่นจะเป็นตัวบอกว่ายางเส้นนี้ออกแบบมาให้ใช้กับมอเตอร์ไซค์

คราวนี้เรามาดูกันดีกว่า ว่าเจ้ารหัสตัว “W” หรือรหัสบอกความเร็วสูงสุดที่สามารถรับได้ ที่อยู่ตัวหลังสุดมีอะไรกันบ้าง

B —– 50 km/h —– 31 mph

C —– 60 km/h —– 37 mph

D —– 65 km/h —– 40 mph

E —– 70 km/h —– 43 mph

F —– 80 km/h —– 50 mph

G —– 90 km/h —– 56 mph

J —– 100 km/h —– 62 MPH

K —– 110 km/h —– 68 MPH

L —– 120 km/h —– 75 MPH

M —– 130 km/h —– 81 MPH

N —– 140 km/h —– 87 MPH

P —– 150 km/h —– 93 MPH

Q —– 160 km/h —– 99 MPH

R —– 170 km/h —– 106 MPH

S —– 180 km/h —– 112 MPH

T —– 190 km/h —– 118 MPH

U —– 200 km/h —– 124 MPH

H —– 210 km/h —– 130 MPH

V —– 240 km/h —– 150 MPH

W —– 270 km/h —– 168 MPH

Y —– 300 km/h —– 186 MPH

Z —– over 240 km/h —– over 150 mph

อย่าลืมแชร์บอกต่อให้เพื่อนๆได้ทราบกันนะคะ

ขอบคุณที่มาจาก: นายขยันทำดีหางาน ,boxzaracing.com