รวบรวมภาพธนบัตรที่ระลึกและธนบัตรหมุนเวียน ชนิดราคา 50 บาท รูปแบบต่าง ๆ
ที่เคยจัดพิมพ์ขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้คนไทยได้ชื่นชม
ประเทศไทยเริ่มมีการใช้ธนบัตรครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีธนบัตรรูปแบบต่าง ๆ ผลิตออกมาหลายต่อหลายครั้ง ไม่ว่าจะเพื่อใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ หรือเป็นธนบัตรที่ระลึกเนื่องในโอกาสพิเศษต่าง ๆ จึงมีนักสะสมธนบัตรและคนไทยจำนวนมาก นิยมเก็บสะสมธนบัตรชนิดต่าง ๆ ไว้เป็นที่ระลึก และให้ลูกให้หลานได้ศึกษา
โดยเฉพาะธนบัตร ชนิดราคา 50 บาท ที่ได้รับความนิยมสูงในการเก็บสะสม เนื่องจากถูกจัดพิมพ์ออกมาไม่บ่อยครั้งนัก เมื่อเทียบกับธนบัตรชนิดราคาอื่น ๆ ซึ่งธนบัตร 50 บาท มีการผลิตออกมาทั้งเป็นธนบัตรหมุนเวียนและธนบัตรที่ระลึก รวมทั้งสิ้น 9 รูปแบบด้วยกัน กระปุกดอทคอมจึงได้รวบรวมธนบัตร 50 บาท ที่ได้จัดพิมพ์ออกมาเผยแพร่เพื่อให้คนไทยได้ชื่นชมกัน
ธนบัตรหมุนเวียน
มีการจัดพิมพ์ธนบัตร ชนิดราคา 50 บาท เพื่อใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ รวมทั้งหมด 5 รูปแบบ ประกอบด้วย
1. ธนบัตรหมุนเวียนแบบที่ 1 พ.ศ. 2445
เป็นธนบัตรไทยที่จัดพิมพ์ออกใช้ชุดแรก ซึ่งเริ่มทยอยออกใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2445 ในสมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงรัชกาลที่ 6 โดยเป็นธนบัตรที่พิมพ์ด้านหน้าเพียงด้านเดียว จึงเรียกว่า "ธนบัตรหน้าเดียว" พิมพ์ที่บริษัท โทมัส เดอ ลา รู จำกัด (THOMAS DE LA RUE & COMPANY LIMITED) ประเทศอังกฤษ
2. ธนบัตรหมุนเวียนแบบที่ 7 พ.ศ. 2488
เริ่มออกใช้เมื่อปี พ.ศ. 2488 เป็นธนบัตรชุดที่พิมพ์ที่โรงพิมพ์เอกชนหลายแห่งในประเทศ โดยมีการแยกพิมพ์ตัวธนบัตร หมวดหมายเลข และลายเซ็นคนละโรงพิมพ์กัน ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องส่งเจ้าหน้าที่ไปควบคุมดูแลการพิมพ์อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ ในช่วงปีที่พิมพ์ธนบัตรชุดนี้ยังตรงกับช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งกระดาษและหมึกพิมพ์มีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้นคุณภาพและสีของธนบัตรจึงไม่ดีเท่าที่ควร อีกทั้งยังมีขนาดเล็กกว่าธนบัตรทั่ว ๆ ไปในขณะนั้น ทำให้มีบางคนเรียกธนบัตรรุ่นนี้ว่า "แบงก์จิ๋ว" หรือ แบงก์ขนมโก๋"
3. ธนบัตรหมุนเวียนแบบที่ 13 พ.ศ. 2528
เริ่มออกใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2530 เพื่อร่วมเฉลิมฉลองงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี จึงมีการนำภาพเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่สำคัญ ๆ นับแต่แรกสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวง จนไปถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยมาเป็นภาพประธานด้านหลัง
รายละเอียดธนบัตรแบบที่ 13 ชนิดราคา 50 บาท
ภาพประธานด้านหน้า : พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเครื่องแบบจอมทัพ ทรงฉลองพระองค์ครุย
ภาพประธานด้านหลัง : พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ อาคารรัฐสภา และพระที่นั่งอนันตสมาคม
4. ธนบัตรหมุนเวียนแบบที่ 15 พ.ศ. 2540
เป็นธนบัตรรุ่นที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งผลิตออกมาเพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์แห่งพระราชวงศ์จักรีที่ทรงพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ และธนบัตรแบบที่ 15 ถือเป็นรุ่นแรกที่เริ่มปรับขนาดความกว้างของธนบัตรให้เท่ากันทุกชนิดราคา เพื่อความสะดวกในการพกพา โดยมีการเริ่มใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2540
รายละเอียดธนบัตรแบบที่ 15 ชนิดราคา 50 บาท
ภาพประธานด้านหน้า : พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเครื่องแบบจอมทัพ
ภาพประธานด้านหลัง : พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ภาพลูกโลกดาว กล้องโทรทรรศน์ และภาพพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม
5. ธนบัตรหมุนเวียนแบบที่ 16 พ.ศ. 2555 เป็นธนบัตรหมุนเวียนแบบล่าสุดที่ใช้ในปัจจุบัน มีจุดมุ่งหมายเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ ที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณูปการแก่ประเทศชาติ เริ่มออกใช้ครั้งแรกวันที่ 18 มกราคม 2555
รายละเอียดธนบัตรแบบที่ 16 ชนิดราคา 50 บาท
ภาพประธานด้านหน้า : พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์
ภาพประธานด้านหลัง : พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงหลั่งทักษิโณทก ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ทรงพระแสงดาบ นำทหารเข้าตีค่ายพม่า พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ อนุสรณ์ดอนเจดีย์ และพระเจดีย์ชัยมงคล วัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ธนบัตรที่ระลึก สำหรับธนบัตรที่ระลึก ชนิดราคา 50 บาท ได้จัดพิมพ์ออกมาเนื่องในโอกาสพิเศษต่าง ๆ ทั้งสิ้น 4 ครั้งด้วยกัน ได้แก่
1. ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเจริญพระชนมายุ 90 พรรษา พ.ศ. 2533
เป็นธนบัตรที่ระลึกชุดที่มีลักษณะและขนาดเช่นเดียวกับธนบัตรหมุนเวียน
ชนิดราคา 50 บาท แบบ 13
ต่างกันที่ลายน้ำเป็นพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
คู่กับเลขไทย ๙๐ ซึ่งมีความโปร่งแสงเป็นพิเศษ ใต้ลายน้ำมีคำว่า
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ๙๐ พรรษา
2. ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พ.ศ. 2539
เป็นธนบัตรที่ระลึกแบบพิเศษที่พิมพ์บนวัสดุพอลิเมอร์
มีลักษณะและขนาดเช่นเดียวกับธนบัตรชนิดราคา 50 บาท แบบ 13
แต่จะมีตราสัญลักษณ์งานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี แทนลายกระจัง
โดยประกาศออกใช้ เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2539 และเริ่มจ่ายแลกวันที่ 3
ธันวาคม 2539
3. ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในอภิลักขิตสมัยมหามงคลวันราชาภิเษกสมรส และวันบรมราชาภิเษกครบ 50 ปี พ.ศ. 2543
ประกาศออกใช้เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2543
และเริ่มจ่ายแลกในวันที่ 8 พฤษภาคม 2543 โดยภาพประธานด้านหน้า
เป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
คู่กับพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ตราอักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. คู่กับตราอักษรพระนามาภิไธย ส.ก.
และภาพพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ส่วนภาพประธานด้านหลัง
เป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ และพระฉายาสาทิสลักษณ์
ในพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส
4. ธนบัตรที่ระลึก ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้แห่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พ.ศ. 2560
ธนบัตรที่ระลึกชุดล่าสุดที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทยจัดพิมพ์ขึ้นมา
ซึ่งถือเป็นธนบัตรชุดสุดท้ายของในหลวง รัชกาลที่ 9 มีลักษณะ สี
ขนาดและภาพประธานหน้าเช่นเดียวกับธนบัตรหมุนเวียนชนิดราคา 50 บาท แบบ 16
ส่วนภาพประธานด้านหลัง
เป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ
ณ พระตำหนักวิลล่าวัฒนา ในระหว่างที่ทรงศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยโลซาน
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเทศไทยเริ่มมีการใช้ธนบัตรครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีธนบัตรรูปแบบต่าง ๆ ผลิตออกมาหลายต่อหลายครั้ง ไม่ว่าจะเพื่อใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ หรือเป็นธนบัตรที่ระลึกเนื่องในโอกาสพิเศษต่าง ๆ จึงมีนักสะสมธนบัตรและคนไทยจำนวนมาก นิยมเก็บสะสมธนบัตรชนิดต่าง ๆ ไว้เป็นที่ระลึก และให้ลูกให้หลานได้ศึกษา
โดยเฉพาะธนบัตร ชนิดราคา 50 บาท ที่ได้รับความนิยมสูงในการเก็บสะสม เนื่องจากถูกจัดพิมพ์ออกมาไม่บ่อยครั้งนัก เมื่อเทียบกับธนบัตรชนิดราคาอื่น ๆ ซึ่งธนบัตร 50 บาท มีการผลิตออกมาทั้งเป็นธนบัตรหมุนเวียนและธนบัตรที่ระลึก รวมทั้งสิ้น 9 รูปแบบด้วยกัน กระปุกดอทคอมจึงได้รวบรวมธนบัตร 50 บาท ที่ได้จัดพิมพ์ออกมาเผยแพร่เพื่อให้คนไทยได้ชื่นชมกัน
ธนบัตรหมุนเวียน
มีการจัดพิมพ์ธนบัตร ชนิดราคา 50 บาท เพื่อใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ รวมทั้งหมด 5 รูปแบบ ประกอบด้วย
1. ธนบัตรหมุนเวียนแบบที่ 1 พ.ศ. 2445
เป็นธนบัตรไทยที่จัดพิมพ์ออกใช้ชุดแรก ซึ่งเริ่มทยอยออกใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2445 ในสมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงรัชกาลที่ 6 โดยเป็นธนบัตรที่พิมพ์ด้านหน้าเพียงด้านเดียว จึงเรียกว่า "ธนบัตรหน้าเดียว" พิมพ์ที่บริษัท โทมัส เดอ ลา รู จำกัด (THOMAS DE LA RUE & COMPANY LIMITED) ประเทศอังกฤษ
2. ธนบัตรหมุนเวียนแบบที่ 7 พ.ศ. 2488
เริ่มออกใช้เมื่อปี พ.ศ. 2488 เป็นธนบัตรชุดที่พิมพ์ที่โรงพิมพ์เอกชนหลายแห่งในประเทศ โดยมีการแยกพิมพ์ตัวธนบัตร หมวดหมายเลข และลายเซ็นคนละโรงพิมพ์กัน ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องส่งเจ้าหน้าที่ไปควบคุมดูแลการพิมพ์อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ ในช่วงปีที่พิมพ์ธนบัตรชุดนี้ยังตรงกับช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งกระดาษและหมึกพิมพ์มีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้นคุณภาพและสีของธนบัตรจึงไม่ดีเท่าที่ควร อีกทั้งยังมีขนาดเล็กกว่าธนบัตรทั่ว ๆ ไปในขณะนั้น ทำให้มีบางคนเรียกธนบัตรรุ่นนี้ว่า "แบงก์จิ๋ว" หรือ แบงก์ขนมโก๋"
เริ่มออกใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2530 เพื่อร่วมเฉลิมฉลองงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี จึงมีการนำภาพเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่สำคัญ ๆ นับแต่แรกสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวง จนไปถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยมาเป็นภาพประธานด้านหลัง
ภาพประธานด้านหน้า : พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเครื่องแบบจอมทัพ ทรงฉลองพระองค์ครุย
ภาพประธานด้านหลัง : พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ อาคารรัฐสภา และพระที่นั่งอนันตสมาคม
4. ธนบัตรหมุนเวียนแบบที่ 15 พ.ศ. 2540
เป็นธนบัตรรุ่นที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งผลิตออกมาเพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์แห่งพระราชวงศ์จักรีที่ทรงพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ และธนบัตรแบบที่ 15 ถือเป็นรุ่นแรกที่เริ่มปรับขนาดความกว้างของธนบัตรให้เท่ากันทุกชนิดราคา เพื่อความสะดวกในการพกพา โดยมีการเริ่มใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2540
ภาพประธานด้านหน้า : พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเครื่องแบบจอมทัพ
ภาพประธานด้านหลัง : พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ภาพลูกโลกดาว กล้องโทรทรรศน์ และภาพพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม
5. ธนบัตรหมุนเวียนแบบที่ 16 พ.ศ. 2555 เป็นธนบัตรหมุนเวียนแบบล่าสุดที่ใช้ในปัจจุบัน มีจุดมุ่งหมายเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ ที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณูปการแก่ประเทศชาติ เริ่มออกใช้ครั้งแรกวันที่ 18 มกราคม 2555
ภาพประธานด้านหน้า : พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์
ภาพประธานด้านหลัง : พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงหลั่งทักษิโณทก ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ทรงพระแสงดาบ นำทหารเข้าตีค่ายพม่า พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ อนุสรณ์ดอนเจดีย์ และพระเจดีย์ชัยมงคล วัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ธนบัตรที่ระลึก สำหรับธนบัตรที่ระลึก ชนิดราคา 50 บาท ได้จัดพิมพ์ออกมาเนื่องในโอกาสพิเศษต่าง ๆ ทั้งสิ้น 4 ครั้งด้วยกัน ได้แก่
1. ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเจริญพระชนมายุ 90 พรรษา พ.ศ. 2533
2. ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พ.ศ. 2539
3. ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในอภิลักขิตสมัยมหามงคลวันราชาภิเษกสมรส และวันบรมราชาภิเษกครบ 50 ปี พ.ศ. 2543
4. ธนบัตรที่ระลึก ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้แห่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พ.ศ. 2560
ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก
ธนาคารแห่งประเทศไทย