รู้ไว้ก่อนสายเกินแก้ “นิ้วล็อค” เรื่องที่ต้องระวัง ทำตามนี้แก้-ป้องกันนิวล็อคได้

ช่วงกักตัวอยู่บ้านแบบนี้ หลายคนเล่นมือถือ ใช้คอมพิวเตอร์ทั้งวัน อาจจะเกิดอาการ นิ้วล็อค ได้ ซึ่งบอกเลยว่านิ้คล็อคไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ เลย ใครหลายคนที่เคยเป็นจะทราบกันดี วันนี้เรานำวิธีแก้ และ วิธีป้องกันอากการนิ้วล็อคมาฝากกันค่ะ

ระยะแรกจะมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ กำมือไม่ถนัด หรือกำไม่เต็มที่โดยเฉพาะหลังตื่นนอนตอนเช้า แต่เมื่อใช้งานมือไปสักพักจะกำมือได้ดีขึ้นเวลางอเพื่อเหยียดนิ้วมักมีเสียงกึก!ต่อมาจะมีอาการนิ้วล็อค คือ งอนิ้วแล้วเหยียดเองไม่ได้ ส่วนมากเกิดกับมือข้างที่ถนัดใช้งานอาจเป็นนิ้วเดียวหรือหลายนิ้วพร้อมกันก็ได้ ซึ่งบางคนอาจรุนแรงถึงขั้นนิ้วบวมชา ติดแข็งจนใช้งานไม่ได้

วิธีกายภาพมือแบบง่าย ก่อนนิ้วล็อคถาวร

– ยืดกล้ามเนื้อแขน มือ นิ้วมือ โดยยกแขนระดับไหล่ ใช้มือข้างหนึ่งดันให้ข้อมือกระดกขึ้น-ลงปลายนิ้วเหยียดตรงค้างไว้ นับ 1-10 แล้วปล่อย ทำแบบนี้ 6-10 ครั้ง/เซต

– บริการกำมือ แบบมือ โดยฝึกกำและแบ เพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อนิ้วมือและกำลังกล้ามเนื้อภายในมือ หรืออาจถือลูกบอลในฝ่ามือก็ได้ ทำประมาณ 6-10 ครั้ง/เซต

– ทำเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อที่ใช้งอ และเหยียดนิ้วมือ โดยใช้ยางยืดช่วย แล้วใช้มือเหยียดอ้านิ้วออก ค้างไว้ นับ 1-10 แล้วค่อยๆ ปล่อย ทำ 6-10 ครั้ง/เซต

วิธีลดความเสี่ยงการเป็นนิ้วล็อค

– ไม่หิ้วของหนักเกินไป ถ้าจำเป็นควรใช้ผ้าขนหนูรอง และหิ้วให้น้ำหนักตกที่ฝ่ามือ หรืออาจใช้วิธีการอุ้ม

ประคอง หรือรถเข็นลากแทน เพื่อลดการรับน้ำหนักที่นิ้วมือ

– ควรใส่ถุงมือหรือห่อหุ้มด้ามจับให้นุ่มขึ้น และจัดทำขนาดที่จับเหมาะแก่การใช้งาน

– งานที่ต้องใช้นิ้วทำงานอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้มือเมื่อยล้าหรือระบม

จึงควรพักมือเป็นระยะ และออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อ

– ไม่ขยับนิ้วหรือดีดนิ้วเล่น เพราะจะทำให้เส้นเอ็นอักเสบมากยิ่งขึ้น

– ถ้ามีข้อฝืดตอนเช้าหรือมือเมื่อยล้า ให้แช่น้ำอุ่นร่วมกับการขยับมือ

กำ-แบเบาๆ ในน้ำ จะทำให้ข้อฝืดลดลง

อาการนิ้วล็อคที่กล่าวมานี้ ไม่มีอันตรายแต่อย่างใด เพียงแต่จะให้ความรู้สึกเจ็บปวดและใช้งานมือไม่ถนัด เราสามารถป้องกันและรักษาให้หายได้ถ้าดูแลตัวเองตามคำแนะนำอย่างถูกต้องนะคะ

 

 

แหล่งที่มา : timepost2000.com