สิ่งที่ควรรู้ และลงมือทำ เมื่อถูกเลิกจ้างกะทันหัน

สิ่งที่ควรรู้ และลงมือทำ เมื่อถูกเลิกจ้างกะทันหัน

“การถูกเลิกจ้าง” หรือ “ภาวะตกงาน” เป็นสิ่งที่มนุษย์เงินเดือนหรือไม่ว่าจะใครคนไหนก็คงไม่อย า กเจอกับตัวเอง แต่ใครจะไปรู้ว่าเราจะโชคไม่ดีขึ้นมาเมื่อไหร่ หลายครั้งก็ไม่ใช่เพราะเราทำตัวไม่ดี แต่เป็นเพราะบริษัทไปต่อไม่ได้ก็มี พี่ทุยว่าในบางครั้งอาจจะไม่ทันได้ตั้งตัวเลยด้วยซ้ำ อย่างที่ได้เห็นหลายต่อหลายข่าวที่มีการปลดพนักงานออกด้วยสภาวะเศรษฐกิจ สังคมและการเปลี่ยนแปลงไปไม่ว่าจะอยู่ในหน่วยธุรกิจไหน ก็ได้เลิกจ้างพนักงานตามนโยบายบริษัทหรือตามความจำเป็น ดังนั้น มนุษย์เงินเดือนอย่างเราก็มีโอกาสที่จะถูกเลิกจ้างหรือตกงานได้อย่างกะทันหันโดยไม่ได้สมัครใจ และแน่นอนที่สุดว่าจะทำให้เรานั้นสูญเสียรายได้ที่เคยมีไป

หลายคนเมื่อได้ยินข่าวแบ บนี้แล้วก็ตกใจกันมากเลยใช่มั้ย บางคนก็วิตกกังวลไปว่าตัวเองจะตกงาน พี่ทุยว่าแทนที่จะมานั่งເครียດหรือกังวล เราน่าจะกลับมาใส่ใจตัวเองมากขึ้นและเตรียมตัวให้พร้อมเผื่อถ้าหากว่าวันนึงเราดันโชคร้ า ยและหลีกเลี่ยงไม่ได้กับเ รื่ อ งนี้ที่จะเกิດขึ้นกับเรา เพราะเราก็ไม่อาจจะรู้ล่วงหน้าได้เลย

ทางที่ดีพี่ทุยเราควรเตรียมตัวให้พร้อมไว้ก่อนกับความ เ สี่ ย ง ที่จะเกิດขึ้นดีที่สุด เพราะแม้ว่าจะถูกเลิกจ้างหรือให้ออกจากงานแต่ก็ใช่ว่าเราจะไม่มีเหลือสิทธิในฐานะพนักงานหรือลูกจ้างซะทีเดียว ซึ่งสิทธิที่เราควรจะได้ตามที่กฎหมายกำหนดในกรณีการให้ออกจากงานโดยไม่สมัครใจและไม่มีความผิด มีตั้งแต่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกันสุขภาพ หรือเงินค่าชดเชยต่าง

พี่ทุยอย า กให้ทุกคนรับรู้และใส่ใจในส่วนนี้อย่างละเอียด จะได้ไม่ต้องเสียรายได้ไปและเสียเปรียบทุกอย่างในเวลาเดียวกันนะ พี่ทุยบอกเลยว่าไม่มีใครจะช่วยรั กษ าสิทธิของเราได้ดีไปมากกว่าตัวเราเองแน่นอน ดังนั้น จึงต้องรู้ว่าควรจะทำตัวยังไง ต้องรู้ว่าตัวเองนั้นมีสิทธิอะไรและสามารถเรียกร้องอะไรได้บ้าง เพื่อที่จะสามารถรั กษ าสิทธิของตัวเองให้ได้มากที่สุด

เงินชดเชยจากนายจ้าง

มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง “ค่าชดเชยจากนายจ้าง” อันนี้เป็นสิทธิของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า “เงินค่าชดเชย” เป็นสิ่งที่นายจ้าง “ต้องจ่าย” ในกับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง นายจ้างจึงต้องจ่ายเงินค่าชดเชยเพื่อให้มีเงินใช้ในระหว่างที่ว่างงานลงหรือเป็นเงินทุนในการหางานใหม่ของพนักงาน โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ คือ

“เงินค่าตกใจ” ในกรณีของการที่เรานั้นถูกเลิกจ้างโดยไม่บอกให้รู้ก่อนล่วงหน้า หรือบอกล่วงหน้าน้อยกว่า 60 วัน นายจ้างนั้นจะต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 60 วัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงาน 60 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงาน

อีกส่วนหนึ่ง คือ “เงินค่าชดเชยการถูกเลิกจ้าง” ในกรณีถูกให้ออกจากงานโดยที่ไม่มีความผิดและไม่ได้สมัครใจจะออก ลูกจ้างมีสิทธิจะได้รับค่าชดเชยซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับจำนวนเงินเดือนและอายุของการทำงาน ยิ่งอยู่กับบริษัทมานานก็จะยิ่งได้ค่าชดเชยมาก โดยนายจ้างต้องเป็นคนจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้าง ซึ่งเป็นค่าชดเชยที่คำนวณจากอายุงานของลูกจ้างเอง ดังนี้

กรณีทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน

กรณีทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ระยะเวลาไม่ถึง 3 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน

กรณีทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ระยะเวลาไม่ถึง 6 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน

กรณีทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ระยะเวลาไม่ถึง 10 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 240 วัน

กรณีทำงานติดต่อกันครบ 10 ปี แต่ระยะเวลาไม่ถึง 20 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 300 วัน

กรณีทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน (เริ่มใช้ปี 2562)

(ข้อมูลจากกระทรวงแรงงาน)

สิทธิประกันสังคม

นอกจากเงินชดเชยจากส่วนของนายจ้าง มนุษย์เงินเดือนที่ว่างงานและจ่ายประกันสังคมจะได้รับเงินช่วยเหลือระหว่างการว่างงาน ซึ่งพี่ทุยอย า กให้ลองตรวจสอบสิทธิที่คุณพึงได้รับจากสำนักงานประกันสังคม อันนี้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของคนทำงานเกือบทุกคน และควรจะดูว่าตัวเองจะได้รับการคุ้มครองเ รื่ อ งค่ารั กษ าพย าบาลไปจนถึงเมื่อไร ซึ่งปกติแล้วก็จะได้รับการคุ้มครองต่อไปอีก 6 เดือน

นอกจากนี้ พี่ทุยว่าเราควรไปขึ้นทะเบียนคนว่างงานภายในระยะเวลา 30 วัน นับตั้งแต่ออกจากงานด้วย โดยสามารถไปยื่นเ รื่ อ งที่สำนักงานจัดหางานได้ทุกแห่ง เพราะตามเงื่อนไขของประกันสังคมแล้วคนที่จ่ายเงินสมทบติดต่อกันมาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนว่างงานจะสามารถขึ้นทะเบียนคนว่างงาน และรับเงินชดเชยจากการถูกเลิกจ้างจะได้รับเงินชดเชยในจำนวน 50% ของรายได้ เป็นระยะเวลา 6 เดือนเลยนะ

เงินสำรองฉุกเฉิน

พี่ทุยเข้าใจนะว่าสำหรับมนุษย์เงินเดือนที่ทำงานมาหลายปี หากวันใดวันหนึ่งต้องออกจากงานแบบกะทันหันคงต้องรู้สึกเคว้งคว้างและເครียດเป็นธรรมดา เพราะอยู่ดีรายได้ก็หายวับไป ในขณะที่ค่าใช้จ่ายต่างเนี่ย ไม่ได้หายไปด้วยนะ

ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอาหารการกินต่าง ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นทั้งนั้น ดังนั้น พี่ทุยว่าสิ่งที่ควรมีมากที่สุด นั่นคือ “เงินสำรองฉุกเฉิน” สำหรับใครที่ยังไม่มีเงินสำรองฉุกเฉินไว้สำหรับสำรองในการใช้จ่าย ก็ควรเตรียมให้พร้อมนะ อย่างที่พี่ทุยเคยบอกอย่าประมาทเพราะคิดว่าตัวเองมีการงานมั่นคงเป็นอันข า ด เพราะเราไม่สามารถมั่นใจได้แล้วว่าพรุ่งนี้จะเป็นยังไง

แต่ถ้าเรามีการเตรียมพร้อมที่ดี อย่างน้อยก็ช่วยผ่อนหนักเป็นเบาได้ พี่ทุยว่าเราควรมี “เงินสำรองฉุกเฉิน” อย่างน้อยสัก 6 เดือนของค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน เพื่อเราจะได้มีเงินสำรองเพื่อค่าใช้จ่าย ในช่วงหางานใหม่หรือกลับมามีรายได้อีกครั้ง เลยเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราจึงควรจะมีเงินสำรองฉุกเฉิน แหล่งเก็บเงินทีดี่สำหรับเงินก้อนนี้กืคือ “บัญชีออมทรัพย์” หรือเงินฝากพิเศษที่มีสภาพคล่องสูงเอาชนิดที่เรียกว่าถ้าเดือดร้อนไปถอนได้ทันที

นั่นเลยเป็นเหตุผลว่า เงินสำรองฉุกเฉินไม่ควรมากจนเกินไปเช่นกัน เพราะไม่ช่วยสร้างรายได้เพิ่มหรือเพิ่มความมั่งคั่งให้กับเราเลย ก็อย่างที่เรารู้กันอะเนอะว่าดอกเบี้ยเงินฝากไม่ค่อยน่ารักเท่าไหร่เลยช่วงนี้

พี่ทุยว่าการเตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอต่อการเปลี่ยนแปลง ช่วยให้เราสามารถรับมือกับภาวะวิกฤต ถ้าหากต้องถูกเลิกจ้าง หรือตกงานอย่างกะทันหันได้เป็นอย่างดีเลยนะ พี่ทุยเข้าใจว่าต้องเจอกับความເครียດและความกดดันมาก ไหน และหลังจากจัดการกับสิทธิของตัวเองเรียบร้อยแล้ว ก็เตรียมตัวหางานใหม่ได้เลย คนเก่งมีความสามารถไปที่ไหนยังไงเค้าก็รับ จริงมั้ยล่ะ ?

ขอบคุณแหล่งที่มา moneybuffalo