วิธีการดองผักสะเดา เก็บไว้ทานเองตลอดปี

ต้นสะเดา จัดเป็นพันธุ์ไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 20-25 เมตร ลักษณะของต้นเป็นทรงเรือนยอดเป็นพุ่มหนาทึบตลอดปี มีรากที่แข็งแรงกว้างขวางและหยั่งลึก สามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิดได้แก่ สะเดาไทย สะเดาอินเดีย และสะเดาช้าง โดยสะเดาไทยและสะเดาอินเดียเป็นชนิดเดียวกัน โดยต้นสะเดานั้น สามารถพบได้ทั่วไปตามป่าแล้ง ในประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า ปากีสถาน ศรีลังกา รวมถึงประเทศไทยบ้านเราด้วย

สารอาหารของยอดสะเดา

1.พลังงาน 76 กิโลแคลอรี

2.คาร์โบไฮเดรต 12.5 กรัม

3.โปรตีน 5.4 กรัม

4.ไขมัน 0.5 กรัม

5.เส้นใยอาหาร 2.2 กรัม

6.น้ำ 77.9 กรัม

7.เบต้าแคโรทีน 3,611 ไมโครกรัม

8.วิตามินบี1 0.06 มิลลิกรัม

9.วิตามินบี2 0.07 มิลลิกรัม

10.วิตามินซี 194 มิลลิกรัม

11.แคลเซียม 354 มิลลิกรัม

12.เหล็ก 4.6 มิลลิกรัม

13.ฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม

การดองสะเดา

1.สะเดา 5 กิโลกรัม

2.เกลือ 1.5 กิโลกรัม

3.ขวดน้ำหรือถังที่มีฝาปิดมิดชิด

ขั้นตอนในการทำ

1.ขั้นตอนแรก ให้เราเตรียมสะเดา และทำความสะอาดล้างให้สะอาด จากนั้นให้นำมาใส่ทั้งที่เราเตรียมไว้

2.ขั้นตอนที่สอง มาให้เราใส่เกลือตามลงไป โดยทำการเท โปะไว้ด้านบนของสะเดา

3.จากนั้นให้เรานำขวด พลาสติกใส่น้ำ แล้วนำมาวางทับไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้สะเดา ลอยน้ำขึ้นมา

4.ให้เราเทน้ำสะอาด ใส่ให้ท่วมสะเดา

ทำการปิดฝาทิ้งไว้ให้มิดชิด เมื่อเราหมักดอง พบเป็นเวลา 3 เดือน เราก็สามารถนำสะเดา ที่เราทำการหมั กดองนั้น มารับประทานได้ หรือเราสามารถเก็บใส่ในตู้เย็น ได้เพียงทำตามขั้นตอนที่ว่ามานี้ เราก็มีสะเดาอร่อยๆ เอาไว้กินทั้งปีอย่างแน่นอน

สะเดา สรรพคุณทางยา

1. ใบแก่ บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร

2. ก้าน แก้ไข้ บำรุงสุขภาพในช่องปาก

3. ผลอ่อน ช่วยเจริญอาหาร แก้ปัสสาวะขัด

4. เปลือกต้น เป็นยาขมเจริญอาหาร ลดเสมหะ แก้อาการท้องเดิน

5. แก่น แก้คลื่นไส้ อาเจียน แก้ไข้จับสั่น บำรุงโลหิต บำรุงธาตุไฟ

6. ราก แก้เสมหะในลำคอ

7. เมล็ดสะเดา ใช้บำรุงผิวพรรณและเส้นผม

เรียบเรียง me-panya

ขอบคุณข้อมูล : kaijeaw