เริ่มแล้ว นิคมอุตสาหกรรม 2.3 พันไร่ โรงงานแห่งแรกใน ภาคอิสาน

สวัสดีจ้าวันนี้เรามีเรื่องราวที่เรียกได้ว่าเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับ “กลุ่มทุนไทย-ญี่ปุ่น” ที่ต้องรวมกันลงขัน 2,700 ล้านบาท ซึ้งได้จัดตั้งมาเป็น 2.3 พันไร่ เเห่งเเรกเเละเเหง่เดียวใน จ. อุบลราชธาณีนั้นเอง หลังการลงทุนเเล้วนั้นได้มีเป้าหมายเเละตั้งเป้าหมายที่จะรอบรับทางเศรษกิจชายแดนนั้นเอง เรื่องราวทั้งหมดจะเป็นอย่างไรเราไปติดตามชมพร้อมกันเลยจ้า

เมื่อช่วงประมาณวันที่ 23 ก.ค. 2561 นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมหารือร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการและภาคเอกชนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เเละในช่วงระหว่างประชุมนั้น หนึ่งในโครงการสำคัญที่ภาคเอกชนเสนอให้ภาครัฐช่วยผลักดันเป็นโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ ต.นากระแซง และ ต.ทุ่งเทิง อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี ขนาดพื้นที่ 2,300 ไร่

โดยการทำแบบนี้นั้นเพื่อสร้างฐานการผลิตเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน CLMV และเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าในระดับนานาชาติ มีโครงการรถไฟทางคู่และท่าอากาศยานอุบลราชธานีที่สามารถเชื่อมโยงการค้าใน 4 ประเทศ ได้แก่ ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน นั้นเอง

ตอนนี้นั้นได้มีการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมดังกล่าวถือว่ามีความคืบหน้าเป็นลำดับ โดย บริษัท อุบลราชธานีอินดัสตรี้ จำกัด ในฐานะผู้ดำเนินโครงการ ได้ดึงพันธมิตรจากญี่ปุ่น 3 ราย ได้แก่ บริษัท ไคไก แอดไวซอรี่ จำกัด, บริษัท เวลเนสไลฟ์โปรเจ็ค (ไทยแลนด์) จำกัด และบริษัท เอเชี่ยนไดนามิค คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ร่วมจัดตั้งนิคมฯ โดยใช้งบในการลงทุนทั้งหมด 2,700 ล้านบาท นั้นเอง

ทางด้านนายณัฐวัฒน์ เลิศสุรวิทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อุบลราชธานีอินดัสตรี้ จำกัด เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ บริษัทได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมขึ้นเป็นแห่งแรกใน จ.อุบลราชธานี ไปแล้ว ตามแผนจะเริ่มก่อสร้างในปี 2563 กำหนดแล้วเสร็จภายในปี 2565

นิคมฯ แห่งนี้นั้นใช้เงินลงทุนพัฒนาราว 2,700 ล้านบาท บนเนื้อที่ 2,300 ไร่ เพื่อรองรับกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ภาครัฐพยายามผลักดันให้เกิดมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป, อุตสาหกรรมเทคโนชีวภาพ, อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวข้ามแดน, อุตสาหกรรมการบริการ, อุตสาหกรรมด้านสุขภาพ, อุตสาหกรรมอุปกรณ์ทางการเกษตร, อุตสาหกรรมเครื่องมือและยานยนต์ที่ใช้ในการเกษตร เป็นต้น

โดยในขณะนี้นั้นได้อยู่ระหว่างการขอปรับเปลี่ยนผังเมืองการใช้ประโยชน์ที่ดินจากสีเขียวเป็นสีม่วงกับกรมโยธาธิการและผังเมือง ควบคู่กับการจัดทำรายงานศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) และหลังจากนั้นจะยื่นเรื่องไปยังการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เพื่อจัดตั้งเป็นนิคมร่วมดำเนินการต่อไป

นิคมฯ ดังกล่าวยังจะเป็นฐานการเชื่อมโยงการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านในเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมมรกต (กัมพูชา, สปป.ลาว และเวียดนาม) ที่นักลงทุน จะสามารถกระจายสินค้าจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปสู่ภูมิภาคอื่นได้อย่างสะดวก เนื่องจาก จ.อุบลราชธานี นั้น เป็นหนึ่งในจังหวัดเขตอีสานใต้ที่มีความเหมาะสมและมีศักยภาพ มีประชากรกว่า 1.8 ล้านคน และหากรวมกับจังหวัดในอีสานใต้จะมีประชากรกว่า 10 ล้านคน

“การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานีขึ้น นอกจากจะเป็นการยกระดับ จ.อุบลราชธานี ให้เป็นศูนย์กลางการลงทุนด้านอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องข้างต้นแล้ว นิคมฯ แห่งนี้ยังมีบทบาทในฐานะเป็นศูนย์กลางของระบบโลจิสติกส์อันทันสมัย ที่พรั่งพร้อมไปด้วยพื้นที่เชิงพาณิชย์และแหล่งรวบรวมนวัตกรรมใหม่ ๆ จากผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอีกด้วย”

ทางด้าน นายณัฐวัฒน์ ยังกล่าวอีกว่า โครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น การร่วมลงทุนโดยตรงจากบริษัทภายในและต่างประเทศ จึงถือเป็นโครงการตัวอย่างในการสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่แท้จริง เพราะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจภายในท้องถิ่น กระตุ้นการจ้างงาน และรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม

เชื่อว่าภายหลังการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานีขึ้นมา จะกระตุ้นให้เกิดกระแสเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจในเขตนี้ไม่ตํ่ากว่า 20,000 ล้านบาท และก่อให้เกิดการสร้างงานราว 20,000 อัตรา ได้ภายในปี 2565 นั้่นเอง

ขอบคุณที่มา : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 39 ฉบับ 3,460 วันที่ 11-13 เมษายน 2562