“โรคเส้นเลือดในสมองตีบ” ภัยใกล้ตัวที่อาจเกิดขึ้น โดยไม่ทันตั้งตัว

คนเราเมื่ออายุมาขึ้นร่างกายก็ยิ่งเสื่อมลงทุกวัน หากวันไหนร่างกายอ่อนแออาจโดนโรคร้ายต่างๆ เข้ามารุมเร้า เราเองก็ต้องมีการดูแลร่างกายมากเพิ่มขึ้นเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการกินการนอน ร่วมไปจนถึงเรื่องการออกกำลังกาย

วันนี้เราจะพาเพื่อนๆ มาทำความรู้จักกับภัยใกล้ตัวที่ทุกคนสามารถเป็นกันได้ หากขาดการดูร่างกายอย่างถูกวิธี และภัยใกล้ตัวที่ว่านี้มันก็คือ โรคเส้นเลือดในสมองตีบ นั้นเอง

 

 

โรคเส้นเลือดในสมองตีบ เป็นโรคที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว กะทันหัน วิธีที่ดีที่สุด ก็คือการป้องกันเสียแต่เนิ่นๆ ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ อาทิเช่น ควรลดอาหารที่มีไขมันสูง , ลดหรือเลิกสูบบุหรี่ , ควรหาวิธีผ่อนคลายอารมณ์ เพื่อไม่ให้เกิดภาวะตึงเครียด เป็นต้นจากกรณีผู้กำกับชื่อดัง “อ๊อฟ-พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง” อายุ 56 ปี ที่ต้องเข้าโรงพยาบาลกะทันหัน อันเนื่องมาจากโรคเส้นเลือดในสมองตีบ

ซึ่งถ้าจะว่าไปแล้วโรคนี้เป็นภัยร้ายใกล้ตัว สำหรับกลุ่มวัยกลางคนกับผู้สูงอายุ และหากมีปัจจัยเสี่ยง

อาทิเช่น ทำงานหนัก จนมีเวลาพักผ่อนไม่เพียงพอ, ไม่มีเวลาออกกำลังกาย, ชื่นชอบการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง, มีความเครียดสูง, สูบบุหรี่จัด ฯลฯ ก็ถือว่าอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน

 

 

ซึ่งในกลุ่มโรคหลอดเลือดสมอง ประกอบด้วย 3 โรคหลัก คือ เส้นเลือดสมองตีบ , เส้นเลือดในสมองแตก และเส้นเลือดในสมองอุดตัน โดยโรคเส้นเลือดในสมองตีบ เป็นโรคที่พบมากที่สุดของกลุ่ม มีเปอร์เซนต์สูงถึงร้อยละ 80 – 85

 

 

ส่วนสาเหตุของเส้นเลือดในสมองตีบ เกิดจากการหนาตัวของผนังหลอดเลือด รวมทั้งอาจมีเกล็ดเลือด หรือองค์ประกอบอื่นๆ ของเลือดมาสะสมตามผนังหลอดเลือด

ทำให้เลือดไหลผ่านได้น้อยลง ถ้าอาการหนักจนเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ก็จะทำให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์สมองบริเวณนั้นๆ

 

 

สำหรับอาการของผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองตีบ ได้แก่ เวียนศีรษะมาก เดินเซ , แขนขาอ่อนแรง หรือชาซีกใดซีกหนึ่ง หรืออาจเป็นทั้ง 2 ซีก, ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด, มีปัญหาด้านความเข้าใจภาษา จนทำให้พูดไม่ได้ หรือฟังไม่รู้เรื่อง, มองไม่เห็นซีกใดซีกหนึ่ง เป็นต้น

ซึ่งอาการของโรคจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว กะทันหัน ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุด ก็คือการป้องกันเสียแต่เนิ่นๆ ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น ควรลดอาหารที่มีไขมันสูง, ลดหรือเลิกสูบบุหรี่, ควรหาวิธีผ่อนคลายอารมณ์

เพื่อไม่ให้เกิดภาวะตึงเครียด เป็นต้น เเละที่สำคัญ ผู้ที่อยู่ในวัยกลางคน รวมถึงผู้สูงอายุ ต้องไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี

 

 

ส่วนในด้านการรักษา แพทย์จะเน้นไปที่การทำกายภาพบำบัดให้กับผู้ป่วย เพื่อทำให้ส่วนที่อ่อนแรง กลับมามีแรงมากขึ้นได้

ส่วนยาที่ใช้ในการรักษา จะเน้นไปที่การป้องกันการเกิดซ้ำของเส้นเลือดสมองตีบ ซึ่งถึงแม้จะทานยาครบตามที่แพทย์กำหนด แต่หากทำกายภาพบำบัดไม่สม่ำเสมอ อาการก็จะไม่ดีขึ้น

 

หมายเหตุ : ผู้ที่เป็นโรคหัวใจบางชนิด มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคเส้นเลือดในสมองตีบ

 

 

ขอบคุณที่มา :  workpointnews, SiPH Channela