Home »
Uncategories »
ระวังให้ดีเผยโรคห้ามดื่ม”น้ำมะพร้าว”จำไว้มีประโยชน์ใช่ว่าจะไม่มีโทษ
ระวังให้ดีเผยโรคห้ามดื่ม”น้ำมะพร้าว”จำไว้มีประโยชน์ใช่ว่าจะไม่มีโทษ
น้ำมะพร้าวดีต่อสุขภาพ แต่ใช่ว่าจะดื่มกันได้ทุกคน
โรคไหนที่ควรดื่มน้ำมะพร้าว?? โรคไหนที่ไม่ควรดื่ม??
วันนี้เรามีคำตอบมาให้ทุกท่านกัน มาดูกันเลย
1. นักกีฬา น้ำมะพร้าวเป็นเครื่องดื่มเกรือแร่ที่ดีที่สุดสำหรับนักกีฬา เพราะมีทั้งโพแทสเซียมที่ช่วยฟื้นฟูร่างกาย
2. คนท้องเสีย เวลาท้องเสียร่างกายจะต้องเสียเกลือแร่ไปด้วย
จนบางคนถึงกับช็อกไปก็มี แต่น้ำมะพร้าวช่วยชดเชยเกลือแร่ให้เราได้
ที่สำคัญไม่มีน้ำตาลขัดสีที่เป็น อันตรายต่อสุขภาพด้วย
3. วัยรุ่น น้ำมะพร้าวมีสารอาหารที่ช่วยบำรุงสมองอยู่หลายชนิด
วัยรุ่นวัยเรียนที่ดื่มเป็นประจำจะทำให้ควมจำดี ช่วยให้ผิวแข็งแรง
ป้องกันสิวได้เด็ดนัก
4. คนที่มีอาการความดันต่ำ
ที่คุณหน้ามืดบ่อยๆก็เพราะเลือดน้อยแต่โพแทสเซียมในน้ำมะพร้าวจะเข้าไปบำรุง
และเพิ่มการสร้างเม็ดเลือด ระดับความดันจะเพิ่มขึ้นเป็น ปกติ
5. คนเป็นไข้หวัดตัวร้อน หรือไข้ติดเชื้อ เวลามีไข้ไม่ได้
น้ำมะพร้าวคือคำตอบ เพราะมะพร้าวมีฤทธิ์เย็นช่วยลดไข้ได้ดี
และยังมีกรดลอริกที่เป็นยาฆ่าเชื้อ ดื่มแล้ว อาการติดเชื้อทั้งหลายจะดีขึ้น
คนที่ต้องเลี่ยงน้ำมะพร้าว เพราะมันเกิดผลลบมากกว่า
คนเป็นโรคไตเสื่อม น้ำมะพร้าวจะไปกระตุ้นการขับปัสสาวะ ถ้าร่างกายขาดน้ำ
คนที่เป็นโรคไตอาจจะหัวใจวายได้เรื่องนี้จำเป็นต้องรู้
ถ้าจะให้ดีคนที่เป็นโรคนี้ควรระวัง
สาเหตุของโรคไตวาย หรือไตเสื่อม
ไตวายสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ
ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ส่งผลเสียต่อไตโดยตรงหรือส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะอื่น
ๆ จนทำให้ไตเกิดการทำงานที่ผิดปกติตามไป
โดยสาเหตุของไตวายทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรังที่พบได้บ่อยมีดังนี้
– การสูญเสียเลือดหรือน้ำในร่างกายมากเกินไป ส่งผลให้ไตเสื่อมประสิทธิภาพในการทำงานลงอย่างเฉียบพลัน
– ความดันโลหิตสูง ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดที่ไหลเวียนเลือดไปที่ไตผิดปกติ
หากมีภาวะความดันโลหิตสูงเป็นระยะเวลานานโดยไม่ได้รับการรักษา
อาจเป็นสาเหตุหนึ่งให้ไตเสื่อมได้ในที่สุด
– โรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดส่งผลโดยตรงกับไตทำให้ไตเสื่อม ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานส่วนมากจึงมีความเสี่ยงที่จะเป็นไตวายเรื้อรัง
– อาการแพ้อย่างรุนแรง จนทำให้ระบบการทำงานในร่างกายล้มเหลว ส่งผลกระทบต่อการทำงานของไต
– การทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายล้มเหลว อาทิ หัวใจวาย หัวใจล้มเหลว
ตับล้มเหลว
ที่กระทบต่อระบบไหลเวียนเลือดทั่วร่างกายจนทำให้ไตได้รับเลือดไปไหลเวียนไม่เพียงพอ
– การติดเชื้อ การติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรียบางชนิด
เมื่อแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด เชื้อโรคเหล่านี้จะถูกพาไปยังไต
และทำให้ไตถูกทำลาย
– ผลข้างเคียงจากการใช้ยา อาทิ ยาแอสไพริน (Aspirin) ยาไอบูโพรเฟน
(ibuprofen) หรือ ยานาพรอกเซน (Naproxen) หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป
หรือซื้อใช้เองโดยไม่อยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร
อาจนำมาสู่ภาวะไตเสื่อม
– ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น
ลิ่มเลือดอุดตันในทางเดินปัสสาวะ ต่อมลูกหมากโตในเพศชาย นิ่วในไต
หรือโรคมะเร็งที่ส่งผลให้เกิดก้อนเนื้อไปขัดขวางระบบทางเดินปัสสาวะจนทำให้ไตขับปัสสาวะออกมาไม่ได้
และเกิดภาวะเสื่อมของไตในที่สุด
ได้รับสารพิษ เมื่อสารพิษเข้าสู่ร่างกาย ร่างกายจะพยายามขับออกมาทางปัสสาวะ
ทำให้ไตทำงานหนักขึ้น สารพิษบางชนิดอาจทำลายไตจนทำให้ไตวายได้
คนที่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ ถ้าร่างกายได้รับโพแทสเซียมมากเกินไป
อาจสร้างปัญหาให้หัวใจเราได้
สำหรับคนที่เป็นโรคนี้ควรลีกเหลี่ยงการดื่มน้ำมะพร้าว
อาการของภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
ผู้ป่วยอาจมีอาการใจสั่น หน้ามืด เจ็บหน้าอก อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
เป็นลมหมดสติ หรือหัวใจวาย ขึ้นกับอัตราเร็ว ระยะเวลาที่เกิด
รวมทั้งพยาธิสภาพของหัวใจ อาการที่เกิดกับผู้ป่วยอาจทำให้เกิดความวิตกกังวล
หรือกลัวจนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้
บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยได้รับคำแนะนำว่าอาการทั้งหมดเกิดจากความเครียด
และได้รับยาคลายความวิตกกังวลหรือยานอนหลับมารับประทานเป็นระยะเวลานาน
โดยอาการของผู้ป่วยไม่ดีขึ้น จนมีความรู้สึกว่าเป็นโรคที่รักษาไม่หาย
เกิดความเบื่อหน่าย ท้อแท้
ปัจจุบันการตรวจวินิจจัยทางการแพทย์ดีขึ้นสามารถค้นหาสาเหตุและให้การรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมได้ดีกว่าเดิมมาก
ขอบคุณข้อมูลจาก : lacaverne.info , pobpad , bangkokhospital
เรียบเรียงโดย : จิระนันท์ เมฆปัจฉาพิชิต