Home »
Uncategories »
งบน้อยก็ทำได้ “ปลูกผักไฮโดรโปรนิคในขวดน้ำ” ลงทุนน้อย กำไรงาม
งบน้อยก็ทำได้ “ปลูกผักไฮโดรโปรนิคในขวดน้ำ” ลงทุนน้อย กำไรงาม
งบน้อยก็ทำได้ “ปลูกผักไฮโดรโปรนิคในขวดน้ำ” ลงทุนน้อย กำไรงาม
เมื่อก่อนหลายๆคนคิดว่าการปลูกผักไฮโดรโปนิคนั้น ต้องลงทุนสูง
ต้องมีแปลงปลูก ต้องทำระบบน้ำ และ ฟังดูยุ่งยากซับซ้อน จนกระทั่งทางเพจ
วิชาชีวิต ได้ไปเจอข้อมูลการปลูกผักไฮโดรโปรนิคในขวดน้ำ ซึ่งน่าสนใจมาก
การปลูกผักไฮโดรโปรนิคในขวดน้ำนั้น ไม่ต้องใช้พื้นที่มาก
ใช้เงินลงทุนน้อย ไม่ต้องเตรียมอุปกรณ์อะไรมากมาย
เหมาะสำหรับผู้ที่อยากเริ่มทดลองปลูกผักไฮโดรโปรนิค
.1
อุปกรณ์ที่ต้องใช้
1. ขวดพลาสติก
2. ฟ๊อกกี้ฉีดน้ำ
3. กระดาษทิชชู่
4. ปุ๋ยน้ำ A และ B
5. ถาดเพาะเมล็ด
6. เมล็ด
7. ฟองน้ำ
8. กรรไกร
9. ไซริงค์ฉีดยา
10. กระดาษ A4
11. เทปใส
ขั้นตอนการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ในขวดน้ำ
1. เพาะเมล็ด
หาภาชนะพลาสติกมา นำทิชชู่ที่เปียกน้ำมาวางรองไว้เพื่อให้มีความชื้น
เอาเมล็โพันธุ์วางบนกระดาษ แล้ว ปิดทับด้านบนด้วยวัสดุที่ทึบแสง
ไม่ให้มีแสงเข้าไปโดนเมล็ด
ข้อควรระวัง :
ระหว่างนี้ควรจะต้องหมั่นสังเกต ปริมาณความชุ่มชื้นของน้ำ อย่างสม่ำเสมอ
เพราะมิเช่นนั้นรากอาจจะไม่งอกออกมาจากเมล็ดพันธุ์ และ
น้ำที่ใช้ควรเป็นน้ำสะอาด เช่นน้ำกรอง หรือ น้ำดื่มจากขวด
ไม่ควรใช้น้ำประปา เพราะมีสารคลอรีน
2. ย้ายเมล็ดพันธุ์มาไว้ในฟองน้ำ
หลังจากเพาะเมล็โได้ประมาณ 2 วัน
จะสังเกตุเห็นรากสีขาวๆงอกออกมาจากเมล็ด
ให้นำเมล็ดพันธุ์ไปวางไว้บนแผ่นฟองน้ำ (
แผ่นฟองน้ำต้องตัดเป็นทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส ขนาด 1×1 นิ้ว
ผ่าเป็นร่องกากบาทไว้ตรงกลาง และ จุ่มฟองน้ำให้ชุ่มน้ำ )
วางในลักษณะเอารากทิ่มลงไปในร่องกากบาทตรงกลาง
แล้วนำฟองน้ำไปวางไว้ในภาชนะและรดน้ำให้ฟองน้ำชื้นอยู่ตลอดเวลา
ข้อควรระวัง : คอยดูระดับน้ำในภาชนะ อย่าให้แห้ง หรือ ลดน้อยจนเกินไป
3. เจริญเติบโตเป็นต้นกล้า ย้ายไปเพาะลงขวดพลาสติก
หลังจากวางเมล็ดพันธุ์ลงไปเพาะในฟองน้ำแล้ว อีกประมาณ 1
สัปดาห์จะมีรากงอกทะลุฟองน้ำออกมา ก็จะกลายเป็นต้นกล้าที่มีใบงอกออกมาด้วย
แสดงว่าเติบโตได้ในระดับนึงแล้ว ให้ย้ายไปลงในขวดพลาสติก
5.1 ผสมปุ๋ยน้ำ A และ B ใส่ขวดน้ำพลาสติกรอเอาไว้ก่อน
ก่อนที่จะย้ายต้นกล้าลงมาในขวดน้ำนั้น เราจะต้อง เอา สารละลายธาตุอาหาร A
และ B มาเติมลงในน้ำ เพื่อให้สารอาหาร มาหล่อเลี้ยงต้นไม้ พืชผักของเรา
ให้เจริญเติบโต และ มีชีวิตต่อไป คล้ายๆ กับเด็กทารก
ที่จะสามารถเจริญเติบโตได้จากนมแม่ เช่นกัน
สำหรับการผสม สารละลายธาตุอาหาร A และ B นั้น จะมีอัตราส่วนการผสมที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. ประเภทของผักที่ใช้ในการปลูก : ผักแต่ละชนิด
มีความต้องการสารละลายธาตุอาหาร ที่แตกต่างกันออกไป
ดังนั้นควรอ่านคำแนะนำที่ขวดของสารอย่างละเอียด
2. ยี่ห้อของผลิตภัณฑ์ สารละลายธาตุอาหาร A และ B : จุดนี้ผมไม่แน่ใจว่า
ยี่ห้อของ สารละลายธาตุอาหาร A และ B แต่ละชนิด นั้นมีส่วนผสมของสารละลาย
ที่แตกต่างกันมากน้อยเพียงใด แต่คำแนะนำคือ ควรจะ ซื้อ สารละลายธาตุอาหาร A
และ สารละลายธาตุอาหาร B ที่เป็นยี่ห้อเดียวกัน ไม่ควรซื้อคนละยี่ห้อ
ในส่วนนี้จะแนะนำ วิธีการผสม สารละลายธาตุอาหาร A และ B
ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ค่อนข้างจะสำคัญ ถ้าไม่อยากให้ผักตาย และ
เสียเวลาเริ่มต้นปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ในขวดน้ำ ใหม่อีกครั้ง
ควรจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
เพราะมันจะมีส่วนต่อการเจริญเติบโต ของผัก หรือ ผลผลิต ของเราเป็นอย่างมาก
และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เรามาดูวิธีการผสมกันเลย
ขั้นแรก :
หาภาชนะใส่ สารละลายธาตุอาหาร A ผสมกับ สารละลายธาตุอาหาร B
แนะนำเป็นขวดพลาสติกธรรมดาอีก 1 ขวด ซึ่ง
(ภาชนะที่ใช้ของผมเป็นขวดนมโฟร์โมสต์ ขนาด 2 ลิตร)
ขั้นสอง :
เทน้ำสะอาดลงไปในขวดน้ำให้เต็มขวด โดย น้ำสะอาดในที่นี้ อาจจะเป็นน้ำดื่ม
ถ้าใครมีเครื่องกรองน้ำ ก็สามารถใช้น้ำจากเครื่องกรองน้ำได้
แต่ถ้ากลัวเปลืองเงิน สามารถใช้น้ำประปา ได้เช่นกัน แต่ถ้าใช้น้ำประปา
ควรจะต้องเทน้ำใส่ขวด เปิดฝาขวดทิ้งไว้ประมาณ 8-10 ชั่วโมง เพื่อให้
สารคลอรีน ที่อยู่ในน้ำประปาระเหย ออกไปเสียก่อน
ขั้นสาม :
นำไซริงค์ฉีดยา ดูดสารละลายธาตุอาหาร A จากขวดของมัน และ
ฉีดใส่ขวดที่เตรียมไว้ ในปริมาณที่เหมาะสม แล้วทิ้งเอาไว้ 4 ชั่วโมง
(หรือมากกว่านั้น) จากคำแนะนำยี่ห้อที่ผมซื้อมาคือ ใช้สารละลายธาตุอาหาร A
จำนวน 5 มิลลิลิตร ต่อน้ำเปล่า 1 ลิตร นั่นหมายความว่า ถ้าขวดภาชนะบรรจุ
ของคุณมีขนาด 2 ลิตร จะต้องเติมใส่สารละลายธาตุอาหาร เป็น 2 เท่า นั่นก็คือ
10 มิลลิลิตร
ขั้นสี่ :
นำไซริงค์ฉีดยา ดูดสารละลายธาตุอาหาร B จากขวดของมัน และ ฉีดใส่ขวดที่ผสม
สารละลายธาตุอาหาร A เตรียมไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ในอัตราส่วนที่เท่ากัน
(ทำเหมือนขั้นตอนที่ 3 คือ ใช้สารละลายธาตุอาหาร B จำนวน 5 มิลลิลิตร
ต่อน้ำเปล่า 1 ลิตร)
ขั้นห้า : นำสารละลายธาตุอาหาร A และ B ที่ผสมกันเรียบร้อยแล้ว ไปเทใส่ลงในขวดน้ำพลาสติก ที่จะปลูก
5.2 ย้ายต้นกล้า จาก ภาชนะเพาะเมล็ด ไปใส่ใน ขวดน้ำพลาสติก
เมื่อเห็นเป็นเช่นนี้แล้วให้ เอา ต้นกล้าที่รากแก้วยังคงปักอยู่ในฟองน้ำ
(อย่าดึงรากมัน ออกมานะ) ย้ายไปใส่ในขวดน้ำพลาสติก ที่ตัดฝาขวด
พลิกด้านบนกลับมา และ เอาฟองน้ำยัดลงไปในช่องน้ำออกของขวด
ทั้งนี้เพื่อขยายพื้นที่ให้รากแก้ว สามารถขยายได้ยาว และ
เจริญเติบโตไปได้อีกนั่นเอง
และทั้งหมดนี้คือ 5 ขั้นตอนง่ายๆ ของการ ผสมสารละลายธาตุอาหาร A และ B โดย ขอให้อ่านซ้ำอีกสักรอบ เพื่อความแน่ใจ
5.2 ย้ายต้นกล้า จาก ภาชนะเพาะเมล็ด ไปใส่ใน ขวดน้ำพลาสติก
เมื่อเห็นเป็นเช่นนี้แล้วให้ เอา ต้นกล้าที่รากแก้วยังคงปักอยู่ในฟองน้ำ
(อย่าดึงรากมัน ออกมานะ) ย้ายไปใส่ในขวดน้ำพลาสติก ที่ตัดฝาขวด
พลิกด้านบนกลับมา และ เอาฟองน้ำยัดลงไปในช่องน้ำออกของขวด
ทั้งนี้เพื่อขยายพื้นที่ให้รากแก้ว สามารถขยายได้ยาว และ
เจริญเติบโตไปได้อีกนั่นเอง
ข้อควรระวัง ! # 1 :
ระหว่างการย้ายต้นกล้า ที่อยู่ในฟองน้ำ ไปยังขวดน้ำ ระวังอย่าให้รากแก้วขาด
มันจะทิ่มทะลุออกมาทางทิศทางไหนก็ช่างมัน อย่าไปสนใจ
เพราะนั่นคือท่อลำเลียงอาหารของมันเลย
ข้อควรระวัง ! # 2 : รากแก้ว
จะต้องจุ่มในน้ำที่ผสมสารละลายธาตุอาหาร A และ B
แต่ควรมีช่องว่างระหว่างฟองน้ำที่อยู่บนฝาขวด กับ ระดับน้ำ ด้านล่างด้วย
6. หมั่นคอยดูแลและรักษาต้นกล้า
หลังจากที่เสร็จสิ้นขั้นตอนที่ 5 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ก็ไม่มีอะไรมากแล้ว แค่ดูแลรักษาระดับน้ำ ไม่ให้น้อยจนเกินไป
ควรแบ่งเวลามาดูระดับน้ำ ประมาณสัก 2-3 วันครั้ง ถ้ามันน้อยเกินไป
ก็เติมให้ได้ระดับ และ รอจนถึงวันเก็บเกี่ยว (ไปรับประทาน)
ข้อควรระวัง ! :
พืชผักแต่ละชนิดจะมีระยะเวลาการเจริญเติบโตไม่เท่ากัน และ
ก่อนที่จะเก็บผักไฮโดรโปนิกส์ มารับประทาน ควรจะต้องปล่อยให้ดื่มน้ำเปล่า
แทนการป้อน สารละลายธาตุอาหาร A และ B เสียก่อน เพื่อเป็นการล้างสารตกค้าง
ที่อาจจะเกิดขึ้นในพืชผักขณะปลูก
บทสรุปที่ควรรู้ ของ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ในขวดน้ำ
และแล้วก็มาถึงช่วยสุดท้ายของบทความ
การปลูกผักปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ในขวดน้ำ ที่ถือว่าเป็นวิธีการ
ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ที่ลงทุนน้อยที่สุด พูดง่ายๆ คือ “ถูกที่สุด” นั่นเอง
นี่คือข้อดีของมัน เพราะวัสดุต่างๆ
ที่นำมาใช้จะเป็นวัสดุเหลือใช้เสียส่วนใหญ่ อาทิ ขวดน้ำพาสติก ขวดนม กระดาษ
ฟองน้ำ ฯลฯ ดังนั้นจึง เหมาะสำหรับมือใหม่ ที่อยากจะทดลองปลูกผักเอง
ในขั้นแรก พูดง่ายๆ คือ อยู่ในขั้นระหว่างการศึกษา ลองผิดลองถูกนั่นเอง
เพราะเอาเข้าจริงๆ ลงทุนไม่ถึง 100 บาท ก็สามารถปลูกได้แล้ว
แต่ในขณะที่ข้อเสียของ การปลูกผักปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ในขวดน้ำ หรือ
ขวดพลาสติก ที่ ผมอยากจะบอกให้ทราบล่วงหน้าก่อนจะปลูก
ก็จัดว่ามีอยู่พอสมควร มาดูกันเลย
ผลผลิต หรือ ผัก ที่ได้จะมีขนาดใหญ่ไม่เท่ากับผัก ที่ขายตามท้องตลาด ด้วยปัจจัยต่างๆ ที่ไม่เหมาะสม อาทิ
– ออกซิเจนในน้ำทีมีน้อย : หากเปรียบเทียบ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
ในภาชนะอื่น อาทิ กระถางราง หรือ กล่องโฟม จะพบว่าในขวดน้ำพลาสติก
ถึงแม้ว่าจะเป็นขวดโปร่งแสงก็จริง แต่อากาศก็ไม่สามารถถ่ายเทได้ดี
เท่าไหร่นัก เพราะมันสามารถเข้าได้จากด้านบนขวดด้านเดียวเท่านั้น
– ความร้อนสะสมภายในขวดน้ำพลาสติก :
การควบคุมความร้อนภายในขวดน้ำพลาสติก จะระบายความร้อนได้ไม่ดีเท่า
การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ในกระถางราง และ
กล่องโฟม การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ในขวดพลาสติก จึงเหมาะที่จะปลูกในฤดูหนาว
เพราะผักไม่โดนความร้อนมาก
– การเกิดตะไคร่น้ำ : ถึงแม้ว่าจะให้นำเอากระดาษ A4 หนาทึบกี่ชั้น
มาปิดรอบๆ ขวดน้ำพลาสติก แต่ก็ยังมิอาจที่จะต้านทานแสงจากภายนอกได้
เพราะสุดท้ายแล้ว แสงมันก็ยังสามารถส่องเข้าได้จากปากขวดน้ำพลาสติก
เข้ามาได้อยู่ดี และเมื่อมีแสงแดดเข้า ก็เป็นสาเหตุของการเกิดตะไคร่น้ำ
ที่อยู่ในขวด และ เป็นปลิงเกาะรากของพืชผัก ของเราอยู่
ทำให้พืชผักของเราเจริญเติบโตช้าลง หรือ
อาจจะตายลงในที่สุดก็เป็นได้เช่นกัน
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.thanop.com