สำหรับคนที่กำลังเบื่อกับการเป็นมนุษย์เงินเดือน
แล้วกำลังมองหาอาชีพใหม่ วันนี้มีอาชีพที่น่าสนใจมาฝาก คือ
ขายต้นอ่อนผักบุ้ง ซึ่งเป็นไอเดียอาชีพของคุณดิเรก ขำคง
จะมีการปลูกอย่างไรมาดูกัน
นายดิเรก ขำคง วัย 46 ปี ชาว อ.เมือง จ.ราชบุรี หนุ่มวิศวกรไฟฟ้าที่เบื่อกับความเป็นมนุษย์เงินเดือน ประกอบกับภรรยาเป็นโรคภูมิแพ้ทั้งอากาศและอาหาร ต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิด จึงตัดสินใจลาออกจากงาน หันเหชีวิตมาเป็นเกษตรกร คิดหาวิธีการที่จะทำให้ภรรยาสามารถบริโภคอาหารที่ปลอดภัย
เจ้าตัวทดลองปลูกพืชหลายประเภท จนสุดท้ายมาทดลองกินต้นอ่อนผักบุ้งก็พบว่าไม่มีผลข้างเคียง แถมติดใจในรสชาติ จึงตัดสินใจปลูกต้นอ่อนผักบุ้งไว้รับประทานเอง รวมไปถึงแจกเครือญาติและเพื่อนบ้าน ในระยะแรกผลผลิตที่ออกมามีลักษณะไม่สมบูรณ์ หงิกงอ ขึ้นรา เสียหายเป็นจำนวนมาก จึงศึกษาวิธีการเพาะต้นอ่อนอย่างจริงจังและลองผิดลองถูกอยู่นานถึง 2 ปี จนสุดท้ายสามารถผลิตต้นอ่อนผักบุ้งที่มีลำต้นสูง สวย น่ารับประทาน จนกลายเป็นที่ต้องการของลูกค้า สร้างรายได้เป็นอย่างดี
1. เลือกใช้ดินที่มีส่วนผสมของขุยไผ่ป่า ขี้เถ้าแกลบ และขุยมะพร้าว
2. ในส่วนขั้นตอนของเมล็ดพันธุ์ จะใช้เมล็ดผักบุ้งพันธุ์เรียวไผ่จากแปลงปลูกแบบอินทรีย์ นำมาแช่น้ำอุ่น 12 ชั่วโมง
3. ร่อนตะแกรงคัดเมล็ดที่บวมน้ำมาหว่านลงบนถาดเพาะกล้า ที่มีการโรยดินเตรียมเอาไว้ก่อนหน้านี้
4. จะหว่านเมล็ดพันธุ์ให้เต็มพื้นที่ถาด รดน้ำพอหมาด
5. นำกระสอบพลาสติกมาวางปิดด้านบน ทับด้วยถาดเพาะชุดอื่นซ้อนกัน เพื่อบ่มเมล็ดพันธุ์ให้รากที่งอกออกมาม้วนลงดินได้เร็วขึ้น เป็นเวลา 2 วัน
6. นำถาดเพาะเข้าห้องทึบแสง ที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี เป็นระยะเวลา 3 วัน ต้นอ่อนที่ได้จะงอกยาวตั้งตรง
7. นำมาตั้งไว้ที่มีแสงแดดส่องถึงอีก 2 วัน เพื่อให้ใบของต้นผักบุ้งอ่อนสร้างคลอโรฟิลล์ เปลี่ยนเป็นสีเขียวสด สวยงาม เท่านี้ก็สามารถทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตได้
ในส่วนของการดูแลรดน้ำ จะรดในช่วงเช้า กลางวันและเย็น ให้ดินเปียกพอหมาด ด้านโรคสำคัญที่จะเกิดขึ้นบ่อยกับต้นอ่อนผักบุ้ง คือ โรคเชื้อรา และ โรคโคนเน่า ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีผสมเชื้อไตรโคเดอม่าในดิน ผสมในน้ำอุ่นที่แช่เมล็ดพันธุ์ และใช้ผสมน้ำรดในระหว่างการเจริญเติบโต
สำหรับวิธีการตัดต้นอ่อนนั้น จะต้องใช้มีดโกน เนื่องจากจะช่วยทำให้รอยตัดไม่ช้ำและดำง่าย โดยจะตัดขึ้นเหนือโคนต้นมาประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วนำไปล้างยางออกด้วยน้ำเปล่าทันที หากปล่อยทิ้งไว้นาน ยางของต้นผักบุ้งจะกลายเป็นสีดำ ทำให้ดูไม่น่ารับประทาน จึงควรเก็บต้นอ่อนผักบุ้งไว้ในตู้เย็น เพราะจะช่วยทำให้คงความสดและกรอบได้นานถึง 7 วัน
น.ส.ณัฐปภัสร์ ยอดธรรม ภรรยากล่าวเสริมว่าด้านการตลาด ปัจจุบันมีการส่งขายตามร้านอาหาร ตลาดนัดสุขภาพทั้งในจังหวัดราชบุรี นครปฐม และกรุงเทพ และโซเชียลมีเดีย เฟสบุ๊คชื่อ “วิสาหกิจชุมชนต้นอ่อนผักบุ้ง กุ้งก้ามแดงบ้านพระพร” ซึ่งในแต่ละเดือนจะสามารถผลิตต้นอ่อนผักบุ้งได้ 100 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 200 บาท โดยลูกค้าส่วนใหญ่จะนำไปประกอบอาหารหลากหลายเมนู อาทิ ส้มตำ ผัดน้ำมันหอย สุกี้ และสลัดผัก
แหล่งที่มา: ข่าวสด
นายดิเรก ขำคง วัย 46 ปี ชาว อ.เมือง จ.ราชบุรี หนุ่มวิศวกรไฟฟ้าที่เบื่อกับความเป็นมนุษย์เงินเดือน ประกอบกับภรรยาเป็นโรคภูมิแพ้ทั้งอากาศและอาหาร ต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิด จึงตัดสินใจลาออกจากงาน หันเหชีวิตมาเป็นเกษตรกร คิดหาวิธีการที่จะทำให้ภรรยาสามารถบริโภคอาหารที่ปลอดภัย
เจ้าตัวทดลองปลูกพืชหลายประเภท จนสุดท้ายมาทดลองกินต้นอ่อนผักบุ้งก็พบว่าไม่มีผลข้างเคียง แถมติดใจในรสชาติ จึงตัดสินใจปลูกต้นอ่อนผักบุ้งไว้รับประทานเอง รวมไปถึงแจกเครือญาติและเพื่อนบ้าน ในระยะแรกผลผลิตที่ออกมามีลักษณะไม่สมบูรณ์ หงิกงอ ขึ้นรา เสียหายเป็นจำนวนมาก จึงศึกษาวิธีการเพาะต้นอ่อนอย่างจริงจังและลองผิดลองถูกอยู่นานถึง 2 ปี จนสุดท้ายสามารถผลิตต้นอ่อนผักบุ้งที่มีลำต้นสูง สวย น่ารับประทาน จนกลายเป็นที่ต้องการของลูกค้า สร้างรายได้เป็นอย่างดี
วิธีเพาะต้นอ่อนผักบุ้ง
อดีตวิศวกรหนุ่มได้เผยวิธีการเพาะต้นอ่อนผักบุ้งอินทรีย์ชนิดไม่มีปิดบัง โดยจะเริ่มตั้งแต่การเตรียมดิน โดยเริ่มจาก1. เลือกใช้ดินที่มีส่วนผสมของขุยไผ่ป่า ขี้เถ้าแกลบ และขุยมะพร้าว
2. ในส่วนขั้นตอนของเมล็ดพันธุ์ จะใช้เมล็ดผักบุ้งพันธุ์เรียวไผ่จากแปลงปลูกแบบอินทรีย์ นำมาแช่น้ำอุ่น 12 ชั่วโมง
3. ร่อนตะแกรงคัดเมล็ดที่บวมน้ำมาหว่านลงบนถาดเพาะกล้า ที่มีการโรยดินเตรียมเอาไว้ก่อนหน้านี้
4. จะหว่านเมล็ดพันธุ์ให้เต็มพื้นที่ถาด รดน้ำพอหมาด
5. นำกระสอบพลาสติกมาวางปิดด้านบน ทับด้วยถาดเพาะชุดอื่นซ้อนกัน เพื่อบ่มเมล็ดพันธุ์ให้รากที่งอกออกมาม้วนลงดินได้เร็วขึ้น เป็นเวลา 2 วัน
6. นำถาดเพาะเข้าห้องทึบแสง ที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี เป็นระยะเวลา 3 วัน ต้นอ่อนที่ได้จะงอกยาวตั้งตรง
7. นำมาตั้งไว้ที่มีแสงแดดส่องถึงอีก 2 วัน เพื่อให้ใบของต้นผักบุ้งอ่อนสร้างคลอโรฟิลล์ เปลี่ยนเป็นสีเขียวสด สวยงาม เท่านี้ก็สามารถทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตได้
ในส่วนของการดูแลรดน้ำ จะรดในช่วงเช้า กลางวันและเย็น ให้ดินเปียกพอหมาด ด้านโรคสำคัญที่จะเกิดขึ้นบ่อยกับต้นอ่อนผักบุ้ง คือ โรคเชื้อรา และ โรคโคนเน่า ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีผสมเชื้อไตรโคเดอม่าในดิน ผสมในน้ำอุ่นที่แช่เมล็ดพันธุ์ และใช้ผสมน้ำรดในระหว่างการเจริญเติบโต
สำหรับวิธีการตัดต้นอ่อนนั้น จะต้องใช้มีดโกน เนื่องจากจะช่วยทำให้รอยตัดไม่ช้ำและดำง่าย โดยจะตัดขึ้นเหนือโคนต้นมาประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วนำไปล้างยางออกด้วยน้ำเปล่าทันที หากปล่อยทิ้งไว้นาน ยางของต้นผักบุ้งจะกลายเป็นสีดำ ทำให้ดูไม่น่ารับประทาน จึงควรเก็บต้นอ่อนผักบุ้งไว้ในตู้เย็น เพราะจะช่วยทำให้คงความสดและกรอบได้นานถึง 7 วัน
น.ส.ณัฐปภัสร์ ยอดธรรม ภรรยากล่าวเสริมว่าด้านการตลาด ปัจจุบันมีการส่งขายตามร้านอาหาร ตลาดนัดสุขภาพทั้งในจังหวัดราชบุรี นครปฐม และกรุงเทพ และโซเชียลมีเดีย เฟสบุ๊คชื่อ “วิสาหกิจชุมชนต้นอ่อนผักบุ้ง กุ้งก้ามแดงบ้านพระพร” ซึ่งในแต่ละเดือนจะสามารถผลิตต้นอ่อนผักบุ้งได้ 100 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 200 บาท โดยลูกค้าส่วนใหญ่จะนำไปประกอบอาหารหลากหลายเมนู อาทิ ส้มตำ ผัดน้ำมันหอย สุกี้ และสลัดผัก
ประโยชน์ของต้นอ่อนผักบุ้ง
ต้นอ่อนผักบุ้งมีคุณค่าทางอาหารมากกว่าผักบุ้งต้นใหญ่มากถึง 5 – 10 เท่าตัว ซึ่งช่วยบำรุงสายตา ต้านอนุมูลอิสระ บำรุงสมอง มีไฟเบอร์มากช่วยในการขับถ่าย บำรุงโลหิต ลดน้ำตาลและคอเรสเตอรอล บำรุงหัวใจ และมีแคลอรี่ต่ำ เหมาะสำหรับคนควบคุมน้ำหนักแหล่งที่มา: ข่าวสด