เชื่อว่า เจ้าฟักข้าว นี้ เป็นผลไม้สุดโปรดของใครหลายๆคน
และเชื่อว่าในตอนนี้ คงไม่มีใครที่จะไม่รู้จัก ฟักข้าว
แล้วล่ะค่ะ เนื่องจากช่วงนี้กระแสสุขภาพมาแรง ทางเราขอเอาใจคนรักสุขภาพ
จึงขอนำเสนอ เมนู น้ำฟักข้าวปั่น วิธีปั่นให้อร่อย
รสชาติกลมกล่อมและช่วยทานง่ายค่ะ แต่ก่อนไปดูวิธีการปั่นนั้น
เรามาดูประโยชน์ของฟักข้าวกันก่อนนะคะ
ในปัจจุบันจากงานวิจัยหลายแห่งพิสูจน์แล้วว่าการบริโภคเยื่อหุ้มเมล็ดของผลสุก มีประโยชน์มากกว่าการบริโภคผลอ่อน เพราะในเยื่อหุ้มเมล็ด มีสารที่มีประโยชน์มากมาย เช่น สารต้านอนุมูลอิสระสูง, ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะอาหาร ฯลฯ
1. เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดี เพราะในฟักข้าวอุดมไปด้วยสารสำคัญที่ชื่อ “เบต้าแคโรทีน” ที่มากกว่าแครอท 20 เท่า “ซีแซนทีน” มากกว่าข้าวโพดเหลือง 40 เท่า และมีวิตามินซีสูงกว่าส้มถึง 40 เท่า ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ โรคมะเร็งต่างๆ สร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย และบำรุงผิวพรรณให้ผุดผ่องสวยงาม
2. โดดเด่นที่สารไลโคปีน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งในฟักข้าวมีปริมาณที่สูงกว่ามะเขือเทศถึง 70 เท่า มีสรรพคุณช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ ชะลอความเสื่อมของร่างกายและริ้วรอยที่เกิดจากวัย ทำให้ระบบไหลเวียนของโลหิตมีประสิทธิภาพ
3. ปรุงเป็นยารักษาโรค ส่วนอื่นๆ ของต้นฟักข้าวสามารถนำไปใช้เป็นยาตามตำรับแพทย์แผนตะวันออกได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นส่วนใบ เมล็ด ยอด และราก เพื่อใช้ในการถอนพิษ ลดไข้ และรักษาโรคบางชนิด
4. ป้องกันโรคมะเร็ง เนื่องจากในผลฟักข้าวนั้นอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระอย่างมากมาย จึงสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพดีเยี่ยม ซึ่งมีการศึกษาค้นคว้าในประเทศจีนแล้วพบว่า ผลฟักข้าวสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเซลล์ตับ และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับอีกด้วย
5. ยับยั้งเชื้อ HIV จากผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลพบว่า โปรตีนจากผลฟักข้าวมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ HIV และได้รับการจดสิทธิบัตรในประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว
เป็นอย่างไรกันบ้างค่ะเพื่อนๆกับข้อมูลสาระดีๆในวันนี้
บอกเลยว่าเป็นผลไม้ที่ดีมีประโยชน์มากเลยนะคะ หากเรามองข้ามรูปร่างอันแปลกประหลาดของมันไปได้
ก็จะพบกับคุณประโยชน์อันน่าทึ่งที่ชวนให้ต้องหามารับประทานเลยค่ะ
ขอบคุณที่มาจาก: kaijeaw.com
ฟักข้าว
เป็นไม้เลื้อยตามต้นไม้หรือตามรั้วบ้าน โดยมีชื่อเรียกกันต่างไป เช่น ขี้กาเครือ (ปัตตานี) ผักข้าว (ตาก ภาคเหนือ) มะข้าว (แพร่) แก็ก (Gac เวียดนาม) Baby Jackfruit Spiny Bitter Gourd, Sweet Gourd, และ Cochinchin Gourdถิ่นกำเนิด
ฟักข้าว เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิด ตั้งแต่ประเทศจีนตอนใต้ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย บังกลาเทศ และ ฟิลิปปินส์ลักษณะพืช
ลำต้น
ฟักข้าวเป็นไม้ประเภทล้มลุก โดยเป็นเถาเลื้อย มีมือเกาะ แบบเดียวกับตำลึง ใบเป็นใบเดี่ยว รูปหัวใจ หรือรูปไข่ รูปร่างคล้ายใบโพธิ์ ความกว้างยาวเท่ากันประมาณ 6-15 เซนติเมตร ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก 3-5 แฉกดอก
ดอกลักษณะดอกจะออกบริเวณข้อต่อระหว่างใบ หรือ ซอกใบ โดยออกข้อละดอก ลักษณะ คล้ายดอกตำลึง ลักษณะกลีบดอก ขาวอมเหลือง หรือขาวแกมเหลือง ก้านเกสรและกลีบละอองมีสีม่วงแกมดำ หรือน้ำตาลแกมม่วง ใบเลี้ยงประดับมีขน โดยดอกจะเป็นดอกแบบ เพศไม่สมบูรณ์ แยกแป็นดอกดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย และจะอยู่ต่างต้นกัน ดอกจะมีสีขาวอมเหลือง มีกลีบดอก 5 กลีบ ดอกเพศเมียจะมีขนาดเล็กกว่าดอกตัวผู้ผล
มี 2 ลักษณะคือ พันธุ์ผลรี กับพันธุ์ผลกลม (พบมากในภาคใต้) พันธุ์ผลรี ก็ยังมีแตกต่างปลีกย่อยหลากหลายไปอีกมาก อาจจะไม่เห็นความต่างเด่นชัดนัก (มข.นำมาวิจัย เกือบ 20 สายพันธุ์) เช่น ดูจากขนาดของผล, ความหนาของเยื่อหุ้มเมล็ด ฯลฯ ฟักข้าวพันธุ์ดั้งเดิมจะมีหนามเล็ก ๆ อยู่รอบผล บางพันธุ์จะแหลมมาก (ดังรูป), ผลอ่อนมีสีเขียว จะเจริญได้ต้องมีการผสมระหว่างดอกตัวผู้กับดอกตัวเมีย ต้นฟักข้าวมีการแยกเพศ เมื่อผลสุกจะมีสีแดง หรือแดงอมส้ม ภายในมีเมล็ดจำนวนมากเรียงตัวเยื่อหุ้มเมล็ด
ฟักข้าวที่ปลูกในประเทศไทย ปริมาณความหนาของเยื่อหุ้มเมล็ดมีมาก-น้อยขึ้นกับสายพันธุ์และการดูแล บางพันธุ์มีเยิ้อหุ้มเมล็ดมากถึง 144.62 กรัม/ผล , ในขณะที่บางพันธุ์มีเยิ้อหุ้มเมล็ดแค่ 41 กรัม/ผล (ข้อมูลจากงานวิจัย ฯ ของ มข.)การขยายพันธุ์
สามารถขยายพันธุ์ มีหลายวิธึ เช่น ด้วยเมล็ด, แยกราก, ปักชำ, ทับเถา ฟักข้าวชอบความชื้นสูง (ประมาณ 70-80 %) เริ่มมีดอกหลังจากปลูกไปได้แล้วประมาณ 3-6 เดือน , พันธุ์ไทยมักจะให้ผลผลิตตลอดปี การเก็บเกี่ยวสามารถให้ผลประมาณ 0- 60 ผล/ปี ,ขึ้นอยู่กับสถานที่ปลูก และการดูแล ถ้าปลูกในสถานที่ที่โดนแดดน้อยกว่า 5 ชมหรือปริมาณแสงแดดน้อย เช่นปลูกบริเวณหมู่บ้านจัดสรรที่มีที่แคบๆ,มีต้นไม้ใหญ่หรือมีอะไรมาบังแสงแดดนั่งร้านฟักข้าว, ฯลฯ ฟักข้าวจะไม่ออกดอก หรือออกดอกน้อยคุณค่าทางโภชนาการ
ในประเทศไทยคนสมัยก่อนนำผลฟักข้าวอ่อนสีเขียวเป็นอาหาร เนื่องจากรสชาติเนื้อฟักข้าว เหมือนมะละกอ วิธีการนำมารับประทานโดยการนำมาลวกหรือต้มให้สุก จิ้มกินกับน้ำพริก หรือใส่แกง ส่วนยอดอ่อน ใบอ่อนนำมาเป็นผักได้ โดยการนึ่งหรือลวกให้สุก เช่นเดียวกับผลอ่อนนำไปปรุงเป็นแกง เช่น แกงแค หรือจิ้มน้ำพริกได้เช่นเดียวกันในปัจจุบันจากงานวิจัยหลายแห่งพิสูจน์แล้วว่าการบริโภคเยื่อหุ้มเมล็ดของผลสุก มีประโยชน์มากกว่าการบริโภคผลอ่อน เพราะในเยื่อหุ้มเมล็ด มีสารที่มีประโยชน์มากมาย เช่น สารต้านอนุมูลอิสระสูง, ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะอาหาร ฯลฯ
ประโยชน์ของฟักข้าว
1. เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดี เพราะในฟักข้าวอุดมไปด้วยสารสำคัญที่ชื่อ “เบต้าแคโรทีน” ที่มากกว่าแครอท 20 เท่า “ซีแซนทีน” มากกว่าข้าวโพดเหลือง 40 เท่า และมีวิตามินซีสูงกว่าส้มถึง 40 เท่า ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ โรคมะเร็งต่างๆ สร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย และบำรุงผิวพรรณให้ผุดผ่องสวยงาม
2. โดดเด่นที่สารไลโคปีน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งในฟักข้าวมีปริมาณที่สูงกว่ามะเขือเทศถึง 70 เท่า มีสรรพคุณช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ ชะลอความเสื่อมของร่างกายและริ้วรอยที่เกิดจากวัย ทำให้ระบบไหลเวียนของโลหิตมีประสิทธิภาพ
3. ปรุงเป็นยารักษาโรค ส่วนอื่นๆ ของต้นฟักข้าวสามารถนำไปใช้เป็นยาตามตำรับแพทย์แผนตะวันออกได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นส่วนใบ เมล็ด ยอด และราก เพื่อใช้ในการถอนพิษ ลดไข้ และรักษาโรคบางชนิด
4. ป้องกันโรคมะเร็ง เนื่องจากในผลฟักข้าวนั้นอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระอย่างมากมาย จึงสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพดีเยี่ยม ซึ่งมีการศึกษาค้นคว้าในประเทศจีนแล้วพบว่า ผลฟักข้าวสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเซลล์ตับ และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับอีกด้วย
5. ยับยั้งเชื้อ HIV จากผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลพบว่า โปรตีนจากผลฟักข้าวมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ HIV และได้รับการจดสิทธิบัตรในประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณที่มาจาก: kaijeaw.com