กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเตือน ช่วงวันที่ 20 – 23 มี.ค.นี้ ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงฟ้าผ่า
(17 มี.ค. 61) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ประกาศเตือนภัยลักษณะอากาศ พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 20 – 23 มีนาคม 2561)
ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 17 มีนาคม 2561 ว่า บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไป และมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นบางพื้นที่ ส่วนมากบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก สำหรับภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่
อนึ่ง ในช่วงวันที่ 20 – 23 มี.ค. 2561 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่
โดยเริ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก วันที่ 20 มี.ค. 2561 ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะได้รับผลกระทบในวันถัดไป (21 มี.ค. 2561) จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย
ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้มีอากาศร้อนโดยทั่วไป ในขณะที่ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ในระยะนี้ สำหรับภาคใต้มีลมตะวันออกพัดปกคลุม ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่
ภาคเหนือ อากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 16 – 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 – 37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดมุกดาหาร อำนาจเจริญ ยโสธร ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี อุณหภูมิต่ำสุด 21 – 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 – 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม.
ภาคกลาง อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35 – 38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม.
ภาคตะวันออก มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดกระบี่ ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 20 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 – 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไป ในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2561 เวลา 11.00 น.
(17 มี.ค. 61) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ประกาศเตือนภัยลักษณะอากาศ พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 20 – 23 มีนาคม 2561)
ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 17 มีนาคม 2561 ว่า บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไป และมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นบางพื้นที่ ส่วนมากบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก สำหรับภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่
อนึ่ง ในช่วงวันที่ 20 – 23 มี.ค. 2561 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่
โดยเริ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก วันที่ 20 มี.ค. 2561 ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะได้รับผลกระทบในวันถัดไป (21 มี.ค. 2561) จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย
ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้มีอากาศร้อนโดยทั่วไป ในขณะที่ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ในระยะนี้ สำหรับภาคใต้มีลมตะวันออกพัดปกคลุม ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่
ภาคเหนือ อากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 16 – 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 – 37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดมุกดาหาร อำนาจเจริญ ยโสธร ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี อุณหภูมิต่ำสุด 21 – 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 – 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม.
ภาคกลาง อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35 – 38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม.
ภาคตะวันออก มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดกระบี่ ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 20 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 – 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไป ในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2561 เวลา 11.00 น.