อย่าเสียเวลา เถียงกับคนไร้เหตุผล
อย่าเสียเวลา เถียงกับคนไร้เหตุผล
พูดไปก็เท่านั้น เถียงไปก็ไม่ชนะ
ถ้าวันหนึ่งเราต้องทำงานร่วมกับคนชอบเถียงข้างๆ คูๆ
หรือเจอคนในชีวิตประจำวันที่มีเหตุต้องประทะคารมกันจนไม่ได้ข้อสรุป
การนิ่งเฉย ปล่อยให้เขาพูดไปอาจจะเป็นวิธีการหนึ่งที่จบเรื่องนี้ได้
แต่ยังมีอีกหลายอย่างที่จะช่วยดึงสติคุณให้กลับมาโดยไม่ต้องต่อความ
ต่อคารมให้ยืดยาว
>> หยุดเถียงแล้วหาหลักฐานมายัน
ถ้าคุยกันด้วยเหตุผลไม่ฟัง ก้อต้องโต้แย้งด้วยหลักฐาน
ไม่ใช่จะเอาผิดหรือเปิดโปงคนคนนั้น แต่เพราะหาข้อสรุปสุดท้ายไม่ได้สักที
จนต้องมีเอกสาร หลักฐานต่างๆ มายัน อย่างน้อยมันก็เป็นสิ่งที่ยากจะปฏิเสธ
เพราะฉะนั้นจงใช้หลักฐานที่เห็นได้ชัดและเชื่อถือได้เมื่อคุยกับเขา
>> โต้เถียงเรื่อง “ไอเดีย” ของตัวเอง
หากเถียงกันในเนื้องาน
อย่าพูดเรื่องไอเดียของคนอื่นไม่ดีอย่างนั้นไม่ดีอย่างนี้
ให้วิจารณ์เฉพาะในส่วนของตัวเรา
แต่โฟกัสที่หัวข้อการพูดคุยและโต้เถียงกันในเรื่องที่เป็นประโยชน์จะดีกว่า
เพราะบางครั้งการถกเถียงนั้นก็เป็นเรื่องดีที่ทำให้เห็นมุมมองของคนอื่น
ที่มีต่อเรื่องเดียวกัน
>> อย่าใช้คำว่า “คุณ”
ไม่ใช่เพราะไม่สุภาพ แต่การพูดในคนที่ระดับอายุเดียวกัน การใช้คำว่า
“คุณ” อาจเป้นการสร้างความแตกแยกเชิงความคิด แต่หากใช้คำว่า “เรา”
จะช่วยให้เกิดความรู้สึกเป็นกันเอง เป็นพวกเดียวกันได้มากขึ้น
>> รู้ว่าเมื่อไหร่ที่ควรจะหยุด
หนทางที่ดีที่สุดในการโต้เถียงกับคนที่ไร้เหตุผล คือการ “หยุด”
หลายครั้งคนเหล่านี้มักหาเรื่องพูดเถียง เพื่อให้ตัวเองเป็นฝ่ายชนะ
หากคุณไม่ยอมหยุด และพยายามหาเรื่องที่จะเอาชนะพวกเขาได้มากขึ้น
นั่นเป็นสิ่ที่ชี้ชัดว่าคุณก็ไม่ต่างอะไรกับคนไร้เหตุผลคนหนึ่งเท่านั้นเอง
บริบทของการเถียงกันแตกต่างกันไป
ถ้าเป็นเรื่องงานแล้วเถียงเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ลงตัว
เราก็ควรจะใช้ไอเดียเถียงกันให้จบในที่ประชุม แต่ถ้าเถียงด้วยเรื่องส่วนตัว
คุณก็ควรจะช่างน้ำหนักความเหมาะสมที่จะหยุด
หรือหาหลักฐานมายันให้คลี่คลายไปด้วยดีเท่านั้นเอง