ปุ่มบนรีโมทแอร์ กดปรับให้ถูกต้อง แอร์เย็นฉ่ำและยังประหยัดไฟ

ปุ่มบนรีโมทแอร์ กดปรับให้ถูกต้อง แอร์เย็นฉ่ำและยังประหยัดไฟ

เปิดแอร์มันกินไฟมากนะ โดยเฉพาะหน้าร้อนค่าไฟบางบ้านนั้นบานจนอยากจะสลบกับค่าไฟเลย แต่วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับวิธีการใช้แอร์ให้ประหยัดไฟ แบบมาทำความรู้จักกับ  ปุ่มบนรีโมทแอร์ คุณใช้มันเป็นทุกปุ่มไหม ลองมาดู วิธีปรับแอร์ที่ถูกต้อง แล้วจะช่วยให้ไฟในบ้านประหยัดลงไปได้ตั้งเยอะเลยนะ  เชื่อว่าทุกคนเวลาจะเปิดแอร์นั้นก็ใช้เพียงไม่กี่ปุ่มเท่านั้น สำหรับปุ่มโมด ( HODE) ที่อยู่ตรงกลางนั้นจะเป็นตัวช่วยให้แอร์เลือกจดจำการเหลือโหมดนั้นเอาไว้ และสั่งการให้ทำงานตามที่เราต้องการ จนกว่าเราจะเปลี่ยนโหมดใหม่นั่นเอง

ปุ่มบนรีโมทแอร์

แม้ว่าแอร์จะทำให้เราเย็นสบาย และเหมือนจะใช้งานง่ายนะ แค่เอารีโมทมากดเปิดก็เย็นแล้ว แต่ว่าไม่ใช่ทุกคนหรอกที่จะเข้าใจว่าปุ่มบนรีโมทนั้นแต่ละปุ่มมันมีหน้าที่ทำอะไร จะต้องปรับอะไรเท่าไหร่บ้าง โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ไม่ค่อยมองเห็นหรือเข้าใจอะไรยากนัก กดเปิดมาปรับเมนูผิด กดโหมดผิดแอร์มันไม่เย็นก็คิดว่ามันเสียซะแล้ว แบบนี้ก็มีเหมือนกันนะ

ปุ่มบนรีโมทแอร์

ใครที่มีทั้ง เ ด็ ก และผู้สูงอายุอยู่ในบ้านการตั้งค่าโหมดแอร์บนรีโมทเอาไว้ให้ดี แบบเสร็จสับเรียบร้อยแล้วจะตัดปัญหาการใช้งานแอร์ยาก ๆ ไปได้เลย มันมีเรื่องตลกที่มีคนเปิดแอร์แล้วมันไม่เย็นเรียกช่างมาดู ปรากฏว่า เปิดโหมด Fan เอาไว้ ก็คือ โหมดนี้จะมีแต่ลมแอร์ ไม่มีความเย็นออกมาพอช่างลองปรับไปเป็นโหมด Cool แอร์ก็ทำงานได้ปกติดี แบบนี้ก็มีนะ นี่แหละทำให้เราต้องมาพาทุกท่านรู้จักกับปุ่มบนรีโมทแอร์ด้วยในบทความนี้นั่นเอง ลองอ่านและปรับกันดูนะ

แอร์บ้านในปัจจุบันนี้ผลิตออกมาดีและทันสมัยจะมีโหมดการใช้งานพื้นฐานมาให้ 4 โหมดการทำงาน ได้แก่ โหมด Auto, Cool, Fan, Dry และในแอร์รุ่นใหม่ๆ โดยเฉพาะแอร์ระบบอินเวอร์เตอร์รุ่นที่มาพร้อมด้วยฟังชั่นเสริมมากมาย ก็อาจจะมีอีกหนึ่งโหมดการทำงานเพิ่มเข้ามานั่นก็คือโหมด Heat ซึ่งในแต่ละโหมดมันก็มีการทำงานที่ต่างกันออกไป

โหมดการทำงานแบบ Auto หรือการทำงานแบบอัตโนมัติ

ในแอร์บางยี่ห้ออาจจะเรียกว่าโหมด I FEEL เมื่อกดปุ่ม Mode บนรีโมทคอนโทรล แล้วเลือกการทำงานในโหมด Auto แอร์จะตั้งอุณหภูมิและความเร็วพัดลมโดยอัตโนมัติ ระบบจะเป็นฝ่ายกำหนดอุณหภูมิและความเร็วพัดลมให้เอง ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิห้องที่เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิตรวจพบได้ในขณะนั้น

โหมดการทำงานอาจจะสลับกันเองระหว่างโหมด Cool กับ Dry ยกตัวอย่างเช่น หากอุณหภูมิที่ตั้งอยู่ที่ 24 องศาเซลเซียส เมื่อระบบตรวจพบว่า อุณหภูมิห้องสูงเกินกว่า 25 องศาเซลเซียส ก็จะเลือกการทำงานในโหมด Cool เพื่อทำความเย็นให้กับในห้อง และระบบจะสลับไปทำงานในโหมด Dry โดยอัตโนมัติ เมื่ออุณหภูมิห้องลดลงมาต่ำกว่าค่าของอุณหภูมิที่ตั้งไว้ ซึ่งโหมดการทำงานแบบ Auto มีกลไกลการทำงานแบบอัตโนมัติที่ค่อนข้างซับซ้อน แต่ก็ไม่ค่อยจะมีประโยชน์อะไรมากในการใช้งานแอร์แบบที่เราใช้กันทั่วๆไป

Cool หรือโหมดทำความเย็น

เป็นโหมดการทำงานที่เรานิยมใช้กันมากที่สุด โดยเมื่อกดปุ่ม Mode บนรีโมทคอนโทรล แล้วเลือกการทำงานให้อยู่ในโหมด Cool แอร์จะเข้าสู่รูปแบบการทำงานสำหรับทำความเย็น และคงระดับอุณหภูมิให้อยู่ในขอบเขตที่เรากำหนด โดยผู้ใช้งานมีอิสระในการปรับตั้งอุณหภูมิได้ตามที่ต้องการ รวมทั้งยังสามารถปรับระดับความเร็วพัดลมได้อีกด้วย ในกรณีของแอร์แบบที่จำหน่ายกันอยู่ในกลุ่มประเทศเขตหนาวที่มีฤดูหนาวยาวนานกว่าฤดูร้อน โหมด Cool จะเป็นโหมดสำหรับใช้งานเฉพาะในช่วงฤดูร้อนเท่านั้นแต่ในบ้านเราที่อากาศค่อนข้างจะร้อนตลอดทั้งปี โหมด Cool จึงถือเป็นโหมดการทำงานหลักที่เราใช้งานกันมากที่สุด

Dry หรือโหมดลดความชื้น

ซึ่งแทนด้วยสัญลักษณ์รูปหยดน้ำ โดยเมื่อกดปุ่ม Mode บนรีโมทคอนโทรล แล้วเลือกการทำงานให้อยู่ในโหมด Dry ผู้ใช้งานจะไม่สามารถปรับตั้งอุณหภูมิได้ เมื่ออยู่ในโหมดลดความชื้น และแอร์ก็จะทำหน้าที่เป็นเหมือนเครื่องลดความชื้นในอากาศ โดยใช้การควบแน่นของความชื้นในอากาศที่เกิดขึ้นบนแผงอีวาปอเรเตอร์หรือแผงทำความเย็น เพราะโดยหลักการพื้นฐานที่แอร์ใช้ทำความเย็น ใช้สารทำความเย็นในระบบที่ถูกทำให้ไหลไปตามท่อเพื่อให้มันเป็นตัวกลางในการถ่ายเทความร้อน

ซึ่งนี่จึงทำให้แผงที่บริเวณที่อยู่ในชุดคอยล์เย็นจะมีอุณหภูมิต่ำมาก จนความชื้นในอากาศมาควบแน่นและกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ ไหลออกไปตามท่อน้ำทิ้งและเมื่อแอร์ถูกกำหนดให้ทำงานในโหมดลดความชื้น แม้ว่าคอมเพรสเซอร์ที่อยู่ในชุดที่ติดตั้งอยู่นอกอาคารยังคงทำงานอยู่ แต่พัดลมที่อยู่ในชุดคอยล์เย็นอาจจะมีการทำงานสลับกับการหยุดทำงานเป็นช่วงๆ เพื่อเป็นการดึงความชื้นในอากาศให้ถูกกลั่นตัวเป็นหยดน้ำให้ได้มากที่สุด และนำเอานำที่กลั่นตัวจากความชื้นปล่อยทิ้งออกมาทางท่อน้ำทิ้ง โหมดลดความชื้นนี้หากไม่ได้ใช้งานในห้อง ที่ต้องการควบคุมความชื้นโดยเฉพาะก็ถือว่าไม่จำเป็นสักเท่าไหร่กับการใช้ในบ้านทั่วๆไป

Fan หรือโหมดพัดลม

เมื่อกดปุ่ม Mode บนรีโมทคอนโทรล แล้วเลือกการทำงานให้อยู่ในโหมด Fan ระบบจะตัดการทำงานในส่วนของชุดคอนเด็นซิ่งยูนิตที่อยู่นอกอาคารออกไป เหลือไว้แต่เพียงชุดแฟนคอยล์หรือคอยล์เย็นในอาคารที่จะยังคงทำงานอยู่ พัดลมคอยล์เย็นจะยังคงทำงานอยู่ ผู้ใช้งานก็สามารถปรับความเร็วพัดลมได้ แต่ไม่สามารถตังอุณหภูมิได้ และลมที่ออกมาจากชุดคอยล์เย็นก็อยู่ในระดับของอุณหภูมิห้อง ไม่ใช่ลมเย็น เพราะการทำความเย็นในชุดคอนเด็นซิ่งยูนิตถูกตัดการทำงานออกไปทันทีที่กดเลือกโหมด Fan จึงทำให้คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน และไม่มีน้ำยาแอร์ไหลวนเข้ามายังชุดคอยล์เย็น

โหมด Fan แม้จะเป็นอีกหนึ่งโหมดการทำงาน ที่โดยปกติเราไม่ค่อยจะใช้งานกันอยู่แล้ว แต่ก็เป็นอีกหนึ่งโหมดการทำงานที่ค่อนข้างมีประโยชน์ ซึ่งหากท่านใดเจอปัญหากลิ่นเหม็นอับที่ออกมาจากแอร์ ก็ลองใช้งานโหมดนี้ดูได้ โดยการใช้งานนั้นเมื่อเราใช้แอร์เสร็จ หรือเป็นช่วงที่ใกล้จะปิดแอร์ ก่อนจะปิดแอร์หากเราเปลี่ยนให้แอร์ทำงานในโหมด Fan ต่อไปอีกสัก 15-20 นาที แล้วจึงปิดเครื่อง ก็จะช่วยเป่าแผงคอยเย็นด้านใน ลดความชื้นสะสม ซึ่งสามารถช่วยลดกลิ่นอับที่ไม่พึงประสงค์ได้

Heat หรือโหมดทำความร้อน

ซึ่งในรีโมทแอร์บางยี่ห้อจะแทนโหมดนี้ด้วยสัญลักษณ์รูปดวงอาทิตย์ เป็นโหมดการทำงานที่เพิ่งมีการนำเข้ามาใส่ในแอร์บางรุ่นที่ขายในบ้านเรา โดยเมื่อกดปุ่ม Mode บนรีโมทคอนโทรล แล้วเลือกการทำงานให้อยู่ในโหมด Heatเมื่อเข้าสู่โหมดนี้ การทำงานของเครื่องจะเป็นการเพิ่มอุณหภูมิเพื่อทำความร้อนให้กับภายในห้อง โดยส่วนใหญ่การทำงานในโหมดนี้ จะใช้เทคโนโลยีการทำความร้อนที่เรียกว่า Heat Pump ซึ่งหากจะเปรียบให้พอเข้าใจได้ง่ายๆ ก็คือเป็นการทำงานแบบกลับทิศทาง สลับหน้าที่กันระหว่างแผงคอยล์ร้อนและแผงคอยล์เย็น

เพื่อให้ชุดภายในอาคารเป่าลมร้านออกมา โดยเทคโนโลยีนี้ มีมานานสักระยะหนึ่งแล้ว และมันเป็นที่รู้จักและใช้งานกันแพร่หลายในกลุ่มประเทศที่มีอากาศหนาว ซึ่งนำมาใช้งานเพื่อให้ความอบอุ่นในครัวเรือน และยังสามารถสลับมาทำความเย็นได้ในช่วงที่มีอากาศร้อน โหมด Heat ที่มีมาให้ ในแอร์ที่จำหน่ายในบ้านเรานั้น ปัจจุบันยังคงจำกัดเฉพาะในแอร์รุ่นท็อประดับบนๆของแต่ละยี่ห้อเท่านั้น ซึ่งมันก็เป็นอีกโหมด ที่ถือว่าไม่จำเป็นในการนำมาใช้งานทั่วๆไป เพราะแม้แต่พื้นที่ ที่มีอากาศหนาวสุดใน ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย ก็มีช่วงที่หนาวจัดติดต่อกันไม่นานสักเท่าไหร่ ดูแล้วอาจจะไม่ค่อยคุ้มค่าที่จะต้องจ่ายแพงกว่าเพื่อซื้อแอร์รุ่นท็อป

ใช้แอร์แบบไหนให้ประหยัดไฟและคุ้มค่ามากที่สุด

1. เลือกแบบที่เป็นแบบประหยัดไฟเบอร์ 5

คงจะคุ้นกันดีสำหรับสินค้า เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉลากเบอร์ 5 ติดอยู่ นั่นแปลว่ามันเป็นรุ่นประหยัดไฟนั่นเอง ถ้าเลือกยากก็เอาแบบที่มีเบอร์ 5 ไว้ก่อนสบายใจกว่า ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 เป็นระดับความประหยัดไฟฟ้าสูงที่สุด ออกโดยกระทรวงพลังงาน และจะมีตรากระทรวงประทับอยู่บนฉลากเสมอ แอร์ประหยัดไฟเบอร์ 5 จึงเป็นแอร์ที่ควรได้รับการพิจารณาเป็นอันดับต้น ๆ เมื่อเลือกซื้อแอร์ติดตั้งภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นแอร์แบบฝังในเพดาน แอร์ติดผนัง หรือแอร์เคลื่อนที่ รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดอื่นด้วยนะ

2. ตรวจสอบตำแหน่งที่จะติดแอร์ให้ดี

หากติดแอร์ในตำแหน่งที่เหมาะสมจะช่วยประหยัดไฟไปได้เยอะเลย แถมแอร์ก็ยังกระจายความเย็นได้ทั่วห้องอีกด้วย หากไม่มั่นใจว่าจะติดตรงไหนดีลองให้ช่างแอร์มาตรวจสอบพื้นที่ห้องก่อนก็ได้ เพราะจะต้องติดในที่ที่สามารถกระจายลมไปได้ทั่วห้องมากที่สุด มุมอับไม่เหมาะแน่นอน และเลี่ยงการติดตั้ง FCU ใกล้กับประตู หน้าต่าง พัดลมดูดอากาศด้วยนะ เพราะถ้าทำแบบนั้นจากที่จะเย็นจะร้อนแทนได้นะ เนื่องจากอากาศข้างนอกจะเข้ามา

3. เลือกแอร์ให้เหมาะกับขนาดห้อง

เช่นกันกับข้อสองหากไม่มั่นใจลองให้ช่างแอร์มาดูสภาพห้อง บริเวณห้องก่อนจะได้รับคำแนะนำว่าควรจะเลือกแอร์ขนาดไหนดี ซึ่งแอร์นั้นก็มีหลายแบบหลาย BTU เลือกใช้ได้ตามขนาดห้องและกำลังงบประมาณของแต่ละคน BTU (British Thermal Unit) คือหน่วยวัดปริมาณความร้อน โดยในเครื่องปรับอากาศจะใช้หน่วยวัดพลังเป็น BTU/hr. (บีทียูต่อชั่วโมง) หรือจะเรียกง่าย ๆ ว่า BTU เทานั้นอาทิ เครื่องปรับอากาศขนาด 12,000 BTU/hr. หมายความว่าเครื่องปรับอากาศเครื่องนี้สามารถดูดความร้อน BTU ภายในหนึ่งชั่วโมง เครื่องปรับอากาศแต่ละรุ่นจะมีค่า BTU ต่างกันเริ่มตั้งแต่ 9,000-80,000 BTU ซึ่งถือเป็นค่าสูงสุด การเลือกขนาด BTU ตามความเหมาะสม ควรเลือกตามขนาดของห้อง สามารถคำนวณโดยใช้สูตร

– พื้นที่ห้อง x ค่า Cooling Load Estimation = ค่า BTU ที่เหมาะสม

– ค่าประเมิน Cooling Load Estimation ที่เหมาะสมกับแต่ละห้อง

– ห้องนอน 700-750 BTU/ตารางเมตร

– ห้องนั่งเล่น 750-850 BTU/ตารางเมตร

– ห้องทานอาหาร 800-950 BTU/ตารางเมตร

– ห้องครัว 900-1000 BTUตารางเมตร

– ห้องทำงาน 800-900 BTU/ตารางเมตร

– ห้องประชุม 850-1000 BTU/ตารางเมตร

สูตรข้างต้นใช้คำนวณในกรณีที่ความสูงของเพดานที่สูงไม่เกิน 3 เมตรเท่านั้น หากห้องมีความสูงมากกว่า และมีปัจจัยอื่น ๆ เพิ่มขึ้น อาทิ จำนวนผู้อยู่อาศัย เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือพื้นที่กระจกภายในห้อง จะต้องบวกค่า BTU เพิ่มด้วย หากเลือกขนาดของ BTU มากติดตั้งในห้องขนาดเล็กก็จะเปลืองพลังงานโดยใช่เหตุ

4. จัดการตั้งอุณหภูมิให้เหมาะสม

เวลาจะตั้งแอร์ควรให้อยู่ในอุณหภูมิเย็นพอดี ๆ แต่อย่าให้หนาวเย็นเกินไป หรืออย่าเปิดแค่พัดลมแอร์อย่างเดียว ซึ่งสำหรับระดับปกติคือ 25 – 26 องศา แต่ถ้าหากยังรู้สึกเย็นไม่พอก็ปรับเป็น 28 – 30 องศา จากนั้นก็เปิดพัดลมเพื่อเพิ่มความเย็นให้เร็วขึ้นทั่วห้อง ให้อยู่ในห้องสบาย ๆ และวิธีนี้ยังประหยัดไฟลงได้ตั้งเยอะเลยนะ หากจะนอนก็เปิดสัก 28 องศา เพราะเวลาหลับร่างกายมันปรับสภาพตามอากาศได้ ตั้งไว้ที่ 28 กำลังพอดีเลย

เป็นยังไงกันบ้างอย่าลืมนำไปปรับใช้กับแอร์ที่บ้านของคุณดูนะ เพื่อที่จะได้ใช้งานแอร์ให้คุ้มค่ามีประสิทธิภาพมากที่สุดตามกำลังของมัน การติดแอร์ก็ใช่ว่าจะเปลืองไฟอย่างเดียว เพราะหากเราเลือกปรับโหมดที่เหมาะสม ให้เข้ากับสภาพห้องก็ใช้แอร์แบบประหยัดไฟได้เช่นกัน และอย่าลืมนะว่าเวลาซื้อให้เลือกแบบประหยัดไฟเบอร์ 5 ด้วยนะ

เรียบเรียงโดย : โลกวันนี้