หยุดฟุ้งซ่านง่ายๆ ด้วย 5 วิธีที่คนคิดมากควรอ่าน

หยุดฟุ้งซ่านง่ายๆ ด้วย 5 วิธีที่คนคิดมากควรอ่าน

“ความคิดฟุ้งซ่าน” ทำให้จิตและสมองเหนื่อยมาก

หลายคนบางทีไม่ได้ออกแรงแต่สงสัยว่า

ทำไมตัวเองเหนื่อยล้าเหลือเกิน

นั่นเพราะเรา คิดฟุ้งซ่าน นั่นเอง

ลองมาใช้วิธีเหล่านี้ฝึกให้ไม่ คิดฟุ้งซ่าน กัน

 

1.ตั้งใจฟัง

เนื่องจากในปัจจุบันมีสิ่งเร้าที่มีผลต่อโสตประสาทเพิ่มขึ้นมากเกินไป

มากเสียจนบทสนทนาที่มีสิ่งเร้าในปริมาณที่พอเหมาะพอดี

กลายเป็นสิ่งที่ทำให้รู้สึกอ้างว้างราวกับอยู่บนฟ้า

บทสนทนาในการทำงานมีแรงกระตุ้นที่เพิ่มเข้าไปว่า

“เนื่องจากเป็นเรื่องงานจึงต้องฟัง” แต่เดิมการฟังเสียงคู่สนทนา

อย่างชัดเจนคงไม่ยากขนาดนั้น แต่เนื่องจากแรงกระตุ้นระดับนั้น

ยังไม่พอให้เราสนใจได้ใจจึงยังเลื่อนลอย สับสนวุ่นวายไป

ด้วยเสียงรบกวนของความคิดจำนวนมากที่ไม่จำเป็น

หากเงี่ยหูฟังเสียงเล็ก ๆ ที่เกิดขึ้นจริงตรงหน้าอย่างตั้งใจ

แล้วจะเข้าสู่โหมดฟังเสียงที่น่าเบื่อได้อย่างสนอกสนใจ

ด้วยเหตุนี้จึงไม่จำเป็นต้องใช้อุบายตื้นๆ เช่น การหาข้ออ้างที่จะฟัง

เพราะเมื่อตั้งใจฟังคำพูดของคู่สนทนาแล้วก็จะเข้าใจเนื้อหาเอง

ไม่ว่าจะเป็นเสียงพูดคุยของใคร หรือเสียงประชุม

หรือเสียงนกและเสียงลม “การฟัง” จะเป็นอิสระจากฉากเหล่านั้น

 

2.ลดการพูดเพ้อเจ้อ

ในบรรดาศีลที่เกี่ยวกับการพูดทั้งสี่ข้อ เมื่อเทียบกับข้ออื่น ๆ

ข้อที่เกี่ยวกับการ “เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ” คงเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก

พูดเพ้อเจ้อ คือ พูดเรื่องไร้สาระไปเสียหมด ปากมาก คือ

การที่ถูกผลักดันด้วยความอยากจนพูดในสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป

ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วเรื่องที่พูดก็ไม่ใช่สิ่งสวยงาม

นอกจากนี้ยังเป็นการกดดันผู้อื่น เพราะเป็นสภาวะที่พลังความอยาก

ที่ว่า “อยากให้ฟังเรื่องของตัวเอง” ได้ถูกปล่อยออกมา

การคุยโม้โอ้อวด การนำเรื่องที่ไม่รู้ก็ไม่ทุกข์มาร้อยเรียงกัน

มารยาทสังคมที่เกินพอดี ข่าวลือของคนอื่น

และเรื่องซุบซิบในวงการบันเทิง เป็นต้น นั่นแหละเป็นเรื่องไร้สาระ

เมื่อผู้ฟังถูกบ่มเพาะข้อมูลไร้สาระและจดจำไปแล้ว

คลื่นรบกวนความคิดจะเพิ่มขึ้น ส่วนผู้พูดเอง

การพูดเพ้อเจ้อก็ทำให้ความคิดไร้สาระทวีความรุนแรง

เพิ่มปริมาณมากขึ้น ส่งผลให้ความจุในหน่วยความจำถูกแย่งพื้นที่ไป

หากห้ามปากตนเองไม่ให้พูดเรื่องไร้สาระตามแรงสนับสนุน

ของความอยากได้ ก็จะนำไปสู่ความมีเกียรติ

มีศักดิ์ศรีอย่างมากและจะมีความประพฤติอันงดงาม

หากไม่ใช้พลังความโลภและความหลงในการพูดเรื่องไร้สาระ

เราคงสำรองพลังงานไว้ใช้กับเรื่องที่มีประโยชน์กว่าเรื่องอื่นได้

 

3.ลดการดูสิ่งที่มีการกระตุ้นรุนแรง

การไม่เห็นสิ่งที่กระตุ้นความโกรธ ไม่เห็นสิ่งที่ทำให้ใจสับสนนั้นเป็นเรื่องที่ดี

ดังนั้นเราควรจะดูห้องที่สะอาดเรียบร้อย ไม่ค่อยมีของมากกว่าห้องที่รกรุงรัง

ดูทัศนียภาพของธรรมชาติที่เงียบสงบดีกว่าดูกลุ่มคนที่ไม่ดี

อีกทั้งไม่แนะนำให้ดูโทรทัศน์หรือภาพที่มีแรงกระตุ้นรุนแรง

หนังสยองขวัญนั้นห้ามแน่นอน ข่าวก็เช่นเดียวกัน

เนื่องจากภาพข่าวได้หยิบยกมาแต่เหตุการณ์ที่ผิดปกติ

และเรื่องราวในแง่ลบที่สะดุดตาสะดุดใจ ส่วนช่องวาไรตี้

หรือช่องตลกก็ออกแนวก้าวร้าว ทั้งทุบทั้งตีคนอื่น

ทั้งมองด้วยสายตาเลวร้าย ทั้งพูดเรื่องไม่ดี รวมทั้งหัวเราะเยาะคนอื่น

เรียกเสียงหัวเราะด้วยการแสดงความเห็นอย่างไม่สมจริง

ถ้ายังเสพข้อมูลเหล่านี้ต่อไปอย่างไร้สติจะส่งผลให้ใจสับสน

เพราะสติสัมปชัญญะตกลง ความเชื่อมโยงของข้อมูลก็ผิดเพี้ยนไป

จนมีแนวโน้มว่า “ความไม่รู้” จะเติบโตอย่างรุนแรงมากขึ้น

 

4.เขียนด้วยมือแทนการพิมพ์บ้าง

ระหว่างที่ใช้อินเทอร์เน็ตอันแสนสะดวก จะทำอย่างไร

จึงจะไม่ปล่อยให้กิเลสกลืนไป อันดับแรก

หากเขียนเว็บบล็อกหรือไดอะรี่ ในขั้นตอนการร่างต้นฉบับ

แนะนำให้ลองเขียนด้วยลายมือดู ให้รวบรวมแนวคิดเพื่อร่างต้นฉบับ

โดยไม่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา หลังจากได้ประเด็น

ขั้นต่ำตามที่ต้องการแล้วจึงเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและพิมพ์

เนื่องจากเมื่อพิมพ์ตัวหนังสือด้วยคีย์บอร์ดแล้วจะพิมพ์ได้เร็ว

กว่าเขียนด้วยมือเป็นอย่างมาก จึงมีแนวโน้มที่จะต้องคิด

อย่างรวดเร็วด้วย ทำให้เขียน “เรื่องที่ตัวเองแค่อยากจะเขียน”

โดยไม่ได้คิดให้รอบคอบว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านหรือไม่

อยากให้ใส่ใจ ใช้เวลาในการเขียนมากขึ้นอีกนิด

เพื่อให้ข้อมูลมีค่า คนอ่านมีความสุข เป็นงานเขียนที่มีคุณภาพสูง

 

5.เขียนไดอะรีให้ตัวเองอ่าน

ขอแนะนำวิธีการจัดการความคิดของตัวเองอย่างเป็นรูปธรรม

โดยให้ลองเขียนไดอะรี่สำหรับตัวเองอ่านคนเดียว

ปล่อยความรู้สึกของตัวเองออกมาตรง ๆ อย่างซื่อสัตย์

เช่น ไม่ใช่เขียนเพียง “วันนี้หงุดหงิด” แต่เขียนอย่างละเอียดว่า

“ประมาณ…โมง ด้วย สาเหตุ…ทำให้หงุดหงิด แต่เมื่อเวลาผ่านไป

ประมาณ 1 ชั่วโมงเกิดเหตุการณ์…ขึ้น ทำให้ดีใจ”

ไม่ใช่เขียนความรู้สึกลงไปว่า “ร้านอย่างนั้น พังไปเสียได้ก็ดี”

แต่ให้เขียนว่า “ฉันหงุดหงิดว่าร้านแบบนั้นพังไปเสียได้ก็ดี”

การเขียนไม่ใช่การระบายอารมณ์โกรธออกไปทั้ง ๆ อย่างนั้น

แต่เป็นการบันทึกอารมณ์และสภาพที่มีอารมณ์โกรธของตนเอง

เมื่อเวลาผ่านไปสักพักแล้วย้อนกลับมาอ่าน เราจะเข้าใจว่า

เมื่อหกเดือนหรือหนึ่งปีที่แล้วตัวเองมีอารมณ์ความรู้สึกเช่นไร

วัตถุประสงค์ของการทำเช่นนี้เพื่อให้ดูความรู้สึก

ของตนเองได้และจะค่อย ๆ ควบคุมมันได้ง่ายขึ้น

 

ขอบคุณแหล่งที่มา : คิดเป็น.com