14 โรค ที่ประกันสังคมไม่คุ้มครอง มนุษย์เงินเดือนควรทราบ

มนุษย์เงินเดือนหลายๆคนหรือทุกคนนั้นก็จะต้องรู้จักประกันสังคมอย่างแน่นอนค่ะ เป็นสิ่งที่เรานั้นต้องต้องมีอย่างแน่นอน และก็ต้องถูกหักจากเงินเดือนอีกด้วย โดยบริษัทที่เรานั้นได้ทำงานก็จะได้หากค่าประกันภัยของคุณนั้นออกจากเงินเดือน แต่การที่คุณนั้นจะมีประกันสังคมแล้วก็ต้องรู้ด้วยว่าสิทธิ์ของประกันสังคมนั้นมีอย่างไรบ้าง และการประกันสังคมนั้นก็ไม่ได้ครอบคลุมไปเสียทุกอย่างและบางโรคก็ไม่สามารถคุ้มครองได้จ้ะประกันสังคมที่เรามีนะคะ ดังนั้นควรจะต้องศึกษาให้ดีก่อนที่จะใช้สิทธิ์ มีโรคชนิดไหนบ้างที่ประกันสังคมนั้นไม่ได้ให้การคุ้มครองเรา วันนี้เราจะได้ดูกันค่ะกับ 14 โรคที่ประกันภัยนั้นไม่คุ้มครอง จะมีโรคอะไรบ้างตามอ่านกันด้านล่างมาเช็คกันได้เลย

1.โรคหรือการประสบอันตรายอันเนื่องมาจากการใช้สารเสพติด ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด

2. การรักษาโรคที่ต้องใช้ระยะเวลาการรักษาตัวในโรงพยาบาล ประเภทคนไข้ เกิน 180 วัน ใน 1 ปี

3. การบำบัดทดแทนไต ในกรณี ไตวายเรื้อรัง ยกเว้น

  • กรณีไตวายเฉียบพลัน ที่มีระยะเวลารักษาไม่เกิน 60 วัน ให้มีสิทธิได้รับบริการทางการแพทย์

  • กรณีเจ็บป่วยด้วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ให้สิทธิได้รับบริการทางการแพทย์ โดยการบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม วิธีการล้างช่องท้องด้วยน้ำยาอย่างถาวร และด้วยวิธีการปลูกถ่ายไต ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีการปลูกถ่ายไต และอัตราที่กำหนดในประกาศจากสำนักประกันสังคม

4. การกระทำใดๆ เพื่อความสวยงามโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ (ศัลยกรรม)

5. การรักษาที่ยังอยู่ในระหว่างการค้นคว้าทดลอง

6. การรักษาภาวะมีบุตรยาก

7. การตรวจเนื้อเยื่อเพื่อการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ ยกเว้นการตรวจเนื้อเยื่อเพื่อการปลูกถ่ายไขกระดูกของผู้ประกันตน ให้จ่ายค่าตรวจเนื้อเยื่อเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกิน 7,000 บาทต่อราย ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการแพทย์กำหนด

8. การตรวจใดๆ ที่เกินกว่าความจำเป็นในการรักษาโรค

9. การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ ยกเว้น

  • การปลูกถ่ายไขกระดูก ให้จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายในอัตรา 750,000 บาทต่อราย แก่สถานพยาบาลที่ให้บริการทางการแพทย์ แก่ผู้ประกันตนจนสิ้นสุดกระบวนการปลูกถ่ายไขกระดูก โดยจะต้องเป็นสถานพยาบาลที่คณะกรรมการแพทย์รับรอง และได้ทำข้อตกลงไว้กับสำนักงานในการให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตน กรณีการปลูกถ่ายไขกระดูกตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด

  • การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะกระจกตา โดยให้เหมาจ่ายค่าบริการทางการแพทย์แก่สถานพยาบาล 20,000 บาท และให้ศูนย์ดวงตาสภากาชาตไทย 5,000 บาท ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด

10. การเปลี่ยนเพศ

11. การผสมเทียม

12. การบริการระหว่างรักษาตัวแบบพักฟื้น

13. ทันตกรรม ยกเว้น การถอนฟัน การอุดฟัน การขูดหินปูนและผ่าฟันคุด ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกิน 900 บาทต่อครั้งและต่อปี กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้บางส่วน มีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 1,500 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี แต่หากเป็นกรณีใส่ฟันเทียมที่ถอดได้ทั้งปาก จะมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 4,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี

14. การทำแว่นตา

เมื่อรู้อย่างนี้แล้วหากใครเป็นโรคใน 14 โรคนี้ก็ให้รู้ไว้เลยนะคะว่า ประกันสังคมนั้นไม่สามารถที่จะใช้ได้และก็ไม่ได้ให้การคุ้มครองคุณนั้นก็จะต้องออกค่าใช้จ่ายเองทั้งหมดค่ะ เพื่อที่ไม่ให้เกิดความผิดพลาดก่อนที่เรานั้นจะไปขอรับสิทธิ์ประกันสังคมเราก็ต้องมาเช็คกันให้ดีๆก่อนจะได้ไม่เสียเที่ยว จะได้เตรียมตัวถูกเตรียมความพร้อมกับการหาเงินมาใช้จ่ายโรคดังกล่าวด้านบนที่ไม่ได้รับการคุ้มครอง