หลายคนชอบใช้วิธีนี้
เพราะคิดว่าจะช่วยประหยัดน้ำมัน
แต่หารู้ไม่ว่านอกจากจะไม่ช่วยให้เราประหยัดน้ำมันแล้ว
ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนเกียร์ไปยังตำแหน่ง N
ระบบจะตัดน้ำมันเกียร์มาหล่อเลี้ยง ทำให้กลไกเกิดความสึกหรอได้อย่างรวดเร็ว
ที่สำคัญการปล่อยไหลโดยการใช้เกียร์ N ยังทำให้ไม่สามารถใช้ Engine Break
ได้ ส่งผลให้การควบคุมรถทำได้ยากและค่อนข้างอันตราย
โดยเฉพาะในช่วงทางลาดที่รถมีความเร็วสูง
2. ติดไฟแดงเข้าเกียร์ P
เกียร์ P มาจากคำว่า Park
ซึ่งจะถูกใช้งานก็ต่อเมื่อเราต้องการจอดรถในที่จอดเป็นกิจจะลักษณะ
(สังเกตได้จากรถบางรุ่นจะปลดล็อกประตูโดยอัตโนมัติเมื่อเข้าเกียร์ P)
ส่วนการใช้เกียร์ P ขณะจอดติดไฟแดงนั้น
อาจนำมาซึ่งความเสียหายรุนแรงต่อชุดเกียร์หากเกิดอุบัติเหตุมีรถมาชนท้าย
3. เร่งเครื่องแล้วใส่เกียร์ D วัยรุ่นใจร้อนหลายคนอยากออกตัวแรง ๆ
ด้วยการเร่งเครื่องแล้วค่อยใส่เกียร์ D การกระทำแบบนี้
อาจส่งผลต่อระบบกลไกของเกียร์
รวมไปถึงชุดส่งกำลังที่จะชำรุดเสียหายได้อย่างรวดเร็ว
ก่อนเข้าเกียร์ P
ให้ดึงเบรกมือจนสุดแล้วค่อย ๆ เบรกให้แน่ใจว่ารถไม่ไหล แล้วจึงเข้าเกียร์ P
จะช่วยยืดอายุกลไกภายในของชุดเกียร์ไม่ให้ชำรุดก่อนเวลาอันควรได้
1.
ก่อนสตาร์ทเครื่องยนต์ควรตรวจสอบให้เกียร์อยู่ในตำแหน่ง P
และสตาร์ทเครื่องยนต์ในขณะที่เกียร์อยู่ในตำแหน่ง P เท่านั้น
เพราะหากคันเกียร์คร่อมอยู่ในตำแหน่ง P – R
แรงสั่นสะเทือนจากการสตาร์ทเครื่องยนต์ อาจทำให้เกียร์ดีดไปเข้าเกียร์ R
ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
4.
การจอดรถแล้วไม่ดับเครื่องยนต์ในสถานการณ์ต่างๆ เช่น
จอดรถเพื่อไปลงเปิดประตูบ้านหรือไปซื้อของริมถนน ไม่ควรใช้ตำแหน่ง N
แต่ควรใช้ตำแหน่ง P
และใส่เบรคมือทุกครั้งเพื่อป้องกันไม่ให้รถพุ่งไปข้างหน้า
5. หากต้องการเปลี่ยนเกียร์ไปตำแหน่งอื่น เช่น จากตำแหน่ง N ไป D หรือ R ต้องทำในขณะที่รถยนต์จอดสนิท และควรเหยียบเบรกป้องกันกันรถเคลื่อน
6. หากหยุดในชั่วแค่ 2-3 นาที
ก็ควรอยู่ที่ตำแหน่ง D โดยแตะเบรกแทน
แต่หากหยุดนานเกินกว่านี้ค่อยเปลี่ยนเป็น N
และต้องการป้องกันรถไหลก็ใส่เบรคเบรกมือด้วย