Home »
Uncategories »
หญ้าแห้วหมู ไม่ใช่วัชพืช แต่เป็นยาอายุวัฒนะชั้นเยี่ยม!
หญ้าแห้วหมู ไม่ใช่วัชพืช แต่เป็นยาอายุวัฒนะชั้นเยี่ยม!
หญ้าแห้วหมู ไม่ใช่วัชพืช แต่เป็นยาอายุวัฒนะชั้นเยี่ยม!
หญ้าแห้วหมู เป็นวัชพืชที่มีให้เห็นโดยทั่วไปพบได้ในทุกภาค
นอกจากนี้ยังเป็นวัชพืชที่มีคุณประโยชน์อย่างมากมาย
แต่หลายคนไม่รู้เลยชอบถอนทิ้ง
วันนี้นายข้าวต้มจะพามารู้จักหญ้าแห้วหมูในอีกด้านที่หลายๆ
คนไม่รู้มาก่อนว่าแค่หญ้าต้นเล็กๆ ที่เราเห็นตามข้างถนน สนามหญ้า ทุ่งนา
จะมีประโยชน์ได้มากมายขนาดนี้
แห้วหมู ชื่อสามัญ Nut grass, Coco grass
แห้วหมู ชื่อวิทยาศาสตร์ Cyperus rotundus L. จัดอยู่ในวงศ์กก (CYPERACEAE)
สมุนไพรแห้วหมู มีชื่อท้องถิ่นหรือพื้นที่อื่น ๆ เรียกว่า หญ้าแห้วหมู
หรือ หญ้าขนหมู (แม่ฮ่องสอน), ซาเช่า (แต้จิ๋ว), ซัวฉ่าว (จีนกลาง) เป็นต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของ หญ้าแห้วหมู
– เป็นพืชล้มลุก มีลำต้นใต้ดิน สามารถแพร่ขยายไปเป็นเส้นยาว
ที่ปลายสุดมีหัวรูปกลมหรือรี เส้นผ่าศูนย์กลาง 3 – 6 มม. แข็งและมีสีดำ
ลำต้นมีขนาดเล็ก เกลี้ยงเป็นสามเหลี่ยมเกิดจากก้านใบหุ้มซ้อนกัน ยาว 10 –
25 ซม. ใบ ยาวเล็กกลางใบเป็นร่องสีเขียวเข้มเกลี้ยง
– ดอก ออกเป็นช่อขนาดเล็กขึ้นจากกลางต้น มีใบประดับรองรับช่อดอก 2 – 4
(-6) ใบกางออก ใบประดับยาวเท่ากับช่อดอกหรือยาวกว่า ดอกย่อยไม่มีก้านดอก
เกสรผู้ 3 อัน อับเรณูยาวแคบปลายท่องรับไข่มี 3 แฉก ผล
รูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับปลายแหลม มีหน้าตัดเป็นรูป 3 เหลี่ยม
สีน้ำตาลหรือดำ
สรรพคุณของหญ้าแห้วหมู
– สมุนไพรหญ้าแห้วหมู ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ด้วยการใช้หัวนำมาล้างให้สะอาด
แล้วนำมาเคี่ยวกิน หรืออีกวิธีเป็นสูตรของหมอชีวกโกมารภัจจ์
ซึ่งในสูตรจะประกอบไปด้วย หัวแห้วหมู 10 หัว, ดีปลี 10 หัว, และพริกไทยดำ
10 เม็ด นำทั้งหมดมาบดให้เป็นผงแล้วใช้ชงกับน้ำผึ้งดื่มก่อนนอน
ตามตำรานี้กล่าวว่า ให้ทำเฉพาะวันเสาร์และรับประทานให้หมดในวันเดียว
ไม่ให้เหลือทิ้งไว้ แล้วเสาร์ต่อไปค่อยทำใหม่
ผู้ใช้สูตรยาตำรับนี้ร่างกายจะปราศจากโรคภัย และมีอายุยืนยาว (หัว)
– ช่วยบำรุงกำลัง ช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรงกระชุ่มกระชวย ไม่มีโรคภัยมาเบียดเบียน หูตาสว่างไสว (หัว)
– สรรพคุณ หัวแห้วหมูใช้เป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย (หัว,ราก)
– หัวแห้วหมู สรรพคุณช่วยแก้ธาตุพิการ (หัว)
– หัวแห้วหมู นำมาแช่น้ำเกลือแล้วผัดกิน มีสรรพคุณช่วยปรับลมปราณให้สมดุล (หัว)
– ช่วยบำรุงหัวใจ กินน้อยเป็นยาบำรุงหัวใจ แต่ถ้าหากกินมากเกินไปจะมีฤทธิ์บีบหัวใจทำให้หัวใจหยุดเต้น (หัว)
– ช่วยลดไขมัน ด้วยการใช้แห้วหมูทั้ง 5 ส่วน ตั้งแต่รากจนถึงต้น
จำนวนตามต้องการ นำมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
แล้วคั่วไฟให้เหลือง แล้วใช้ชงกับน้ำร้อนดื่มเป็นชา (หัว)
– ใช้เป็นยาลดความอ้วน ทำให้น้ำหนักตัวลดลง ด้วยการหัวแห้วหมู 5 บาท,
บอระเพ็ด 4 บาท, กระชาย 5 บาท, เหงือกปลาหมอ 10 บาท, พริกไทยอ่อน 10 บาท,
และมะตูมอ่อนแห้ง 4 บาท นำมาบดให้เป็นผงผสมกับน้ำผึ้ง
แล้วปั้นเป็นยาลูกกลอนขนาดเม็ดพุทรา ใช้รับประทานก่อนนอนวันละ 1 เม็ด
สูตรนี้ยังช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรง
และช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อได้ดีอีกด้วย (หัว)
– ช่วยลดความดันโลหิต โดยใช้หัวแห้วหมูนำมาชงกับร้อนดื่ม ในอัตราส่วนหัว 1 ส่วน ต่อน้ำร้อน 10 ส่วน (หัว)
– แห้วหมู สรรพคุณของรากใช้เป็นยาแก้กษัย (ราก)
– หัวแห้วหมูใช้เป็นยาเจริญอาหาร ด้วยการใช้หัวแห้วหมูประมาณ 1 ฝ่ามือนำมาต้มกับน้ำดื่ม (หัว)
– ช่วยแก้อาการกินไม่ได้ นอนไม่หลับ หรือเป็นโรคผอมแห้งแรงน้อย
ด้วยการใช้หัวแห้วหมู พริกไทยอ่อน น้ำผึ้ง และเนย ในปริมาณอย่างละเท่าๆ กัน
นำมาผสมรวมกันใส่ลงไปในกระทะตั้งไฟกวนให้เป็นตังเม
แล้วปั้นเป็นยาลูกกลอนขนาดเท่าเมล็ดพุทรากินก่อนนอนทุกคืน
และสูตรนี้ยังช่วยบำรุงกำลังและเป็นยาวัฒนะอีกด้วย (หัว)
– หัวใช้ปรุงเป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ รวมไปถึงอาการกินไม่ได้นอนไม่หลับ
ด้วยการนำหัวแห้วหมูที่ล้างน้ำสะอาดแล้ว 1 ถ้วยตวง
และต้นอ้อยที่จัดเป็นปล้องเล็กๆ 1 ต้น แล้วใส่ไปลงไปต้มในหม้อกับน้ำฝน 4
ถ้วยตวง แล้วเคี่ยวจนน้ำหวานเล็กน้อย ขมเยอะ เสร็จแล้วก็เอาลง รอให้อุ่น
แล้วนำมาตักกินก่อนอาหารมื้อละ 1 ถ้วย
พอวันถัดไปก็ให้นำมาอุ่นทุกเช้าก่อนนำมาดื่ม (หัว)
– ช่วยลดไข้ แก้ไข้ ด้วยการใช้ทั้งต้นและหัว นำมาล้างน้ำให้สะอาดแล้วต้มเป็นน้ำดื่ม (หัว,ราก)
– หญ้าแห้วหมู สรรพคุณของหัวช่วยขับเหงื่อ (หัว)
– ช่วยแก้อาการคลื่นเหียน อาเจียน (หัว)
– ช่วยทำให้ดวงตาแข็งแรง ป้อวงกันตามัว ตาไม่แก่เร็ว
ทำให้ตาใสไม่ขุ่นมัวมองเห็นได้อย่างชัดเจนด้วยการใช้หัวแห้วหมูสดนำมาปอกเปลือกออกแล้วล้างน้ำให้สะอาดใช้รับประทานทุกวันตอนเช้า
วันละ 2-3 หัว (หัว)
– ช่วยทำให้ฟันแน่นแข็งแรง ด้วยการใช้หัวที่ล้างสะอาดแล้วนำทุบให้แหลกแล้วนำไปคั่วไฟ ใช้ชงกับน้ำเป็นชาดื่ม (หัว)
– ช่วยแก้อาการแน่นหน้าอก จุกอก ลมสลักอก รับประทานอาหารไม่ได้
ด้วยการใช้ หัวแห้วหมู เถาบอระเพ็ด ขิงแห้ง ใบหนาด ดอกดีปลี พริกไทย
ผักคราดหัวแหวน และใบมะตูม น้ำหนักอย่างละเท่าๆ กัน นำมาบดให้ผงละเอียด
นำมาใช้ชงกับน้ำต้มสุกหรือใช้ผสมกับสุราดื่มเช้าเย็น (หัว)
– ช่วยรักษาโรคกระเพาะ แก้ท้องร่วง (หัว)
– ช่วยแก้อาการปวดท้อง ด้วยการใช้หัวแห้วหมูประมาณ 6-8 หัว นำมาบดผสมกับขิงแก่ประมาณ 4-5 แว่น ผสมกับน้ำผึ้ง ใช้เป็นยา (หัว)
– ช่วยแก้อาการปวดท้องอันเนื่องมากจากท้องอืด (หัว)
– ช่วยแก้โรคบิด ด้วยการใช้หัว นำมาบดผสมกับขิงแก่และน้ำผึ้งแท้แล้วปั้นเป็นยาลูกกลอนไว้รับประทานแก้อาการ (หัว)
– ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาการไม่ย่อย ด้วยการใช้หัวแห้งประมาณ 1
กำมือ นำมาทุบให้แตกแล้วต้มเอาน้ำดื่ม หรือใช้หัวสดครั้งละ 5 หัว
นำมาโขลกให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้งรับประทาน (หัว)
– สรรพคุณแห้วหมู ช่วยในการย่อยอาหาร (หัว)
– หัวมีรสเผ็ดขมเล็กน้อย ช่วยขับลมในลำไส้ ด้วยการใช้หัวแห้วหมูประมาณ
6-8 หัว นำมาบดผสมกับขิงแก่ประมาณ 4-5 แว่น ผสมกับน้ำผึ้ง
ใช้ปั้นเป็นยาลูกกลอนไว้กิน (หัว)
– ช่วยขับพยาธิไส้เดือน (หัว)
– หัวแห้วหมูใช้ผัดกับเหล้า ช่วยบรรเทาอาการปวดท้องเนื่องจากไส้เลื่อน และยังช่วยทำให้ระบบเส้นลมปราณไหลเวียนดีขึ้น
อีกด้วย (หัว)
– ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (หัว, ราก)
– ช่วยแก้อาการปัสสาวะขัด ด้วยการใช้หัวแห้วหมูสดนำมาล้างน้ำให้สะอาด
นำไปตากให้แห้งแล้วนำมาบดให้ละเอียด แล้วปั้นเป็นยาลูกกลอนกิน (หัว)
– ช่วยแก้นิ่วในทางเดินปัสสาวะ (หัว)
– ช่วยแก้อาการปวดท้องเพราะมากในกามกิจ ด้วยการใช้แห้วหมู ใบบัวบก
หญ้าเปลือกหอย อย่างละครึ่งตำลึง นำมาตำให้แหลก
แล้วเอาน้ำมาชงกับเหล้าไว้ดื่ม ส่วนกากที่เหลือนำมาพอกสะดือ (หัว)
– ช่วยแก้อาการปวดประจำเดือนของสตรี (หัว)
– ช่วยขับประจำเดือน ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ (หัว)
– ช่วยแก้ผดผื่นคัน
ด้วยการใช้หัวที่บดละเอียดแล้วผสมกับน้ำมันมะพร้าวเล็กน้อย
แล้วนำมาทาบริเวณที่คัน อาการจะทุเลาลงและหายไปในที่สุด (หัว)
– หัวสดนำมาตำละเอียดใช้เป็นยาพอกช่วยดูดหนองจากฝีมีหัวหนอง
หรืออีกสูตรใช้หัวแห้วหมูและเกลือตัวผู้พอประมาณ พริกไทย 7-8 เม็ด
และข้าวเหนียวที่คั่วให้เหลืองตำละเอียดแล้วประมาณ 3 หยิบมือ
นำทั้งหมดมาผสมกันและคลุกผสมกับน้ำปูนใส แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็นหัวฝี
ตัวยาจะช่วยดูดหนองออกมาจนหมด (หัว)
– หัวนำมาตำ ใช้พอกหรือทาแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย (หัว)
– ช่วยรักษาแผลสดและห้ามเลือด
ด้วยการใช้ต้นและใบนำมาโขลกแล้วใส่น้ำปูนใสเล็กน้อย
เสร็จแล้วเอามาพอกหรือกดที่แผลเพื่อห้ามเลือด (ต้น, ใบ)
– ช่วยรักษาแผลเรื้อรัง ด้วยการใช้ต้นและใบประมาณ 5-10 ต้น นำมาหั่นตำให้ละเอียดแล้วใช้พอกแผล (ต้น, ใบ)
– ช่วยรักษาบาดทะยัก ด้วยการใช้หัวแห้วหมู ต้นผักบุ้ง และสารส้ม
นำมาโขลกรวมกัน แล้วผสมยามหานิล แล้วคั้นเอาแต่น้ำกิน
ส่วนกากนำมาใช้พอกบริเวณบาดทะยัก (หัว)
– ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย โดยใช้หัวที่ล้างสะอาดนำมาทุบให้แหลกแล้วนำไปคั่วไฟ ใช้ชงกับน้ำเป็นชาดื่ม (หัว)
– ช่วยลดการอักเสบ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมาลาเรียชนิดฟัลซิพารัมในหลอดทดลองได้ (หัว)
– น้ำมันหอมระเหยจากหัวแห้วหมู มีฤทธิ์ช่วยลดความเจ็บ ช่วยผ่อนคลายอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อเรียบ (หัว)
– ส่วนฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาอื่น ๆ ก็คือช่วยต้านเชื้อไวรัส เชื้อมาลาเรีย เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และช่วยฆ่าแมลง (หัว)
– หัวแห้วหมูที่นำมาสกัดด้วยแอลกอฮอล์จะได้สารที่ช่วยต้านเชื้อรา (หัว)
– น้ำมันหอมระเหยในหัวแห้วหมู
มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียสแต๊ฟ
ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดฝี เจ็บคอ และอาการท้องเสีย (หัว)
– ใช้ปรุงเป็นยาบำรุงทารกในครรภ์ (หัว)
หญ้าแห้วหมู วัชพืชที่เราชอลถอนทิ้งกัน เห็นสรรพคุณทางยากันแล้ว
อาจจะทำให้หลายคนนึกไม่ถึงว่าวัชพืชที่มองว่าไร้ค่าขึ้นตามข้างถนน ทุ่งนา
สนามหญ้า จะเป็นวัชพืชที่ดูมีคุณค่าทางด้านการรักษาได้มากมายขาดนี้ ถือว่า
เป็นยาอายุวัฒนะ จริงๆ เพราะมีสรรพคุณทางยาครอบคลุมมากมาย
สามารถนำมารักษาหลายโรคเลยทีเดียวค่ะ
ครั้งหน้าเราจะนึกเรื่องราวดีๆอะไรมาเล่าสู่กันฟังอีก โปรดติดตามต่อไปนะค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : liekr