ฆาตกรในเงามืด “มะเร็งรังไข่” ภัยเงียบตัวร้าย เช็กสัญญาณเตือน รู้ก่อนรักษาทัน!

ไม่มีสัญญาณเตือนใดๆ ที่จะบอกได้ว่าคุณกำลังประสบกับโรคร้ายอย่าง “มะเร็งรังไข่” บางคนไม่เคยรู้ตัวเลยด้วยซ้ำ มาตรวจพบอีกทีก็เกินจะเยี่ยวยา เพราะโรคนี้ยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่บางครั้งไม่แสดงอาการใดๆ ให้เห็นเลยว่าร่างกายของเราเกิดความผิดปกติ ดังนั้นเรามารู้จักมะเร็งรังไข่ให้มากขึ้น และวิธีสังเกตตัวคุณเอง คุณผู้หญิงต้องระวังเป็นอย่างมาก อย่าให้สายเกินแก้

มะเร็งรังไข่ หมายถึง เซลล์เนื้อร้ายที่เกิดขึ้นในรังไข่ของเพศหญิง เป็นมะเร็งที่พบได้มาก ของมะเร็งระบบอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศหญิง พบว่าโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ เป็นหนึ่งในโรคที่คุกคามชีวิตและสุขภาพร่างกายของผู้หญิงอย่างร้ายแรง

สัญญาณเหล่านี้อาจเตือนถึงมะเร็งรังไข่

-ท้องอืดเป็นประจำ

-มีก้อนในช่องท้องหรือช่องเชิงกราน จึงอาจทำให้เกิดอาการแน่นหรือปวดท้อง

-ก้อนเนื้ออาจกดเบียดลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ทำให้รู้สึกปวดถ่วง ถ่ายอุจจาระไม่สะดวกหรือลำบาก

-เมื่อก้อนมะเร็งโตขึ้น จะกดเบียดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ถ่ายปัสสาวะบ่อยและขัด

-เมื่อเซลล์มะเร็งมีการกระจายไปในช่องท้อง อาจทำให้เกิดน้ำในช่องท้อง ซึ่งจะทำให้ดูเหมือนอ้วนขึ้นได้ ท้องโตขึ้นกว่าเดิม

-เบื่ออาหาร ผอมแห้ง น้ำหนักลด

-อาจมีประจำเดือนผิดปกติ บางรายอาจพบการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย มีการผลิตฮอร์โมนที่ผิดปกติไป

– ในบางรายอาจไม่มีการแสดงอาการเลย

แนวทางการรักษาโรคมะเร็งรังไข่

การรักษาโรคมะเร็งรังไข่ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ระยะของการดำเนินของโรค ซึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้ประเมินแนวทางการรักษาอย่างเหมาะสมให้กับผู้ป่วยแต่ละราย แนวทางการรักษาโรคมะเร็งรังไข่ ได้แก่

-การผ่าตัด หากแพทย์วินิจฉัยว่าเซลล์มะเร็งที่เจริญเติบโตในรังไข่ยังมีขนาดไม่ใหญ่และยังไม่มีการลุกลามมาก แพทย์จะพิจารณารักษาด้วย-การผ่าตัดเพื่อนำเอาก้อนมะเร็งและเนื้อเยื่อรอบๆ ออก หรืออาจผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้เคียงออกด้วย

-การใช้เคมีบำบัด เป็นการใช้ยาในการฆ่าเซลล์มะเร็ง เคมีบำบัดมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น การใช้ยาเม็ด ยาฉีด หรือฉีดผ่านสายเข้าร่างกาย เมื่อยาเข้าสู่กระแสเลือดแล้วจะเดินทางไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายและฆ่าเซลล์มะเร็งที่อยู่ในร่างกาย (แต่ก็ส่งผลฆ่าเซลล์ร่างกายที่ดีด้วยเช่นกัน)

-การใช้รังสีรักษา เป็นการใช้รังสีเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งและทำให้ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กลง การใช้รังสีนั้นอาจเป็นการฉายรังสีจากภายนอกร่างกายและฉายตรงเข้าสู่ร่างกาย

การป้องกันมะเร็งรังไข่

ยังไม่มีแนวทางในการป้องกันมะเร็งรังไข่อย่างแน่ชัด เพราะยังไม่สามารถหาสาเหตุที่มาของโรคมะเร็งรังไข่ได้ วิธีที่ดีที่สุดคือ เมื่อพบว่ารางกายมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นให้รีบพบแทพย์เพื่อทำการตรวจภายใน หรือตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อตรวจดูในมีก้อนหรือสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นในช่องท้องหรือไม่

ขอบคุณที่มา : share-si, bumrungrad.com