เพจกฎหมายแนะ ” 9 วิธีดูแลที่ดินว่างเปล่า ” ก่อนจะถูก ” ครอบครองปรปักษ์ “

เพจกฎหมายแนะ ” 9 วิธีดูแลที่ดินว่างเปล่า ” ก่อนจะถูก ” ครอบครองปรปักษ์ “

นี่คืออีกหนึ่งปัญหาคาใจใครหลายๆ คน ที่มีเปล่าแล้วปล่อยทิ้งไว้ไม่ให้การดูแล จนกระทั่งมีคนเข้าไปสร้างกระท่อมอยู่อาศัยอย่างเปิดเผยนานหลาย 10 ปี จนทำให้เจ้าของต้องเสียที่ดินไป แม้จะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือมีโฉนดที่ดินก็ตาม เพราะผู้บุกรุกก็อาจได้กรรมสิทธิ์โดยการ ครอบครองปรปักษ์ ตามกฎหมายได้

โดยทางเพจ สายตรงกฎหมาย ได้ออกมาโพสให้ความรู้และแนะนำการดูแลที่ดินที่ซื้อไว้ และไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ โดยอาจทำให้เสียสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของไป โดยสามารถดำเนินการได้ 9 วิธีดังนี้

1 หมั่นไปดูที่ดินเป็นประจำ อย่างน้อยสุดปีละ 1 ครั้ง

2 เมื่อไปดูที่ดิน หากมีชาวบ้านแถวนั้น ให้เข้าไปถามไถ่ว่ามีใครมาใช้ที่ดินของเราบ้างมั้ย

3 ตรวจหลักหมุดว่ายังอยู่ที่เดิมมั้ย ชำรุดหรือไม่ มีการเคลื่อนย้ายหรือไม่ ไม่ใช่ว่าหายไปแล้วล่ะ

4 ถ้าหลักหมุดหาย ควรไปแจ้ง ตร ขอดำเนินคดีไว้ (ไม่ใช่แจ้งเป็นหลักฐาน ไม่ใช่แจ้งขอลงบันทึกประจำวัน) เพราะการทำลายหลักหมุดเป็นความผิดอาญา แต่หาก ตร ไม่ยอมจริงๆ เราก็อาจจะต้องยอมก็ได้ หลังจากนั้น แจ้งที่ดินเพื่อดำเนินการต่อ

5 ควรรังวัดที่ดินอย่างน้อยทุก 5 ปี หรือเมื่อพบความผิดปกติของเนื้อที่ที่เรามี เพราะที่ดินอาจมีการเพิ่มหรือลดได้ โดยเฉพาะที่ดินริมตลิ่งหรือริมน้ำ

6 หากพบผู้อื่นมาอยู่อาศัย ควรดำเนินการตกลงให้รู้เรื่องว่า เค้าอยู่บนที่ดินเรานะ จะเช่าหรือจะซื้อหรือจะอย่างไร ก็ควรตกลงกันให้รู้เรื่อง ไม่งั้นก็ไล่ออกไป

7 ที่ดินเราควรล้อมรั้วไว้เพื่อกำหนดเขตแดนที่แน่นอน

8 ควรแสดงป้ายว่าที่ดินนี้มีเจ้าของ คนอื่นจะได้รู้ว่าไม่ใช่ที่ดินสาธารณะ

9 สังเกตว่ามีร่องรอยทางเดินผ่านหรือทางรถวิ่งผ่านประจำหรือไม่ เพราะอาจจะโดนใช้เป็นทางผ่านประจำก็ได้

ความรู้เพิ่มเติมเรื่อง : ที่ดินตาบอด และ ทางจำเป็น สิทธิทางกฎหมายที่คนมีที่ดินควรรู้ไว้

หลายๆคนที่เป็นเจ้าของที่ดินตาบอด หรือ ที่ดินที่ไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะ คงหนักใจกับที่ดินแบบนี้ แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าเราสามารถขอ “ทางจำเป็น” เพื่อให้ที่ดินตาบอดสามารถมีทางออกไปสู่ถนนสาธารณะได้

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติเรื่องทางจำเป็นไว้ในมาตรา 1349 ว่า

ที่ดินแปลงใดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินแปลงนั้นจะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้

ที่ดินแปลงใดมีทางออกได้ แต่เมื่อต้องข้ามสระ บึงหรือทะเล หรือมีที่ชัน อันระดับที่ดินกับทางสาธารณะสูงกว่ากันมากไซร้ ท่านว่าให้ใช้ความในวรรคต้นบังคับ

วิธีทำทางผ่านนั้นต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน กับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ ถ้าจำเป็นผู้มีสิทธิจะผ่านจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้

ผู้มีสิทธิจะผ่าน ต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่ เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้น ค่าทดแทนนั้นนอกจากค่าเสียหายเพราะสร้างถนน ท่านว่าจะกำหนดเป็นเงินรายปีก็ได้

“จากบทบัญญัติมาตราดังกล่าวสามารถสรุปสั้นๆ ให้เข้าใจง่ายๆ ได้ว่า ที่ดินที่ถูกที่ดินแปลงอื่นล้มเอาไว้จนไม่มีทางออกสู่สาธารณะ สามารถทำทางผ่านที่ดินแปลงที่ล้อมอยู่ออกไปสู่ทางสาธารณะโดยจะขอผ่านไปสู่สถานที่หรือทางอย่างอื่นนอกจากทางสาธารณะไม่ได้ ตามกฎหมายจะใช้ทางผ่านออกไปสู่สาธารณะโดยคำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้มีความเสียหายน้อยที่สุด”

ทั้งนี้การได้มาซึ่งสิทธิใช้ทางจำเป็น ไม่จำเป็นต้องมีนิติกรรมหรือทำสัญญาระหว่างเจ้าของที่ดินที่ล้อมที่ดินตาบอดเอาไว้ เนื่องจากเป็นสิทธิที่เจ้าของที่ดินตาบอดควรได้ตามกฎหมาย แต่ทั้งนี้เจ้าของที่ดินตาบอดจะต้องมีค่าทดแทนให้กับเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่ด้วยจากการที่เจ้าของที่ดินตาบอดจำเป็นต้องสร้างทางผ่านและก่อให้เกิดความเสียหายบนที่ดินของผู้อื่น โดยค่าทดแทนจะอยู่ที่การประเมินของเจ้าหน้าที่พนักงานหรือตามตกลงของเจ้าของที่ทั้ง 2 ซึ่งจะจ่ายเป็นเงินค่าเช่ารายเดือน รายปี หรือ จะเป็นเงินก้อนก็ได้แล้วแต่ตกลง

แต่ถึงอย่างไรก็ตามการได้มาซึ่งสิทธิทางจำเป็นนั้น ทางกฎหมายกได้มีการกำหนดวิธีการทำทางผ่านให้มีขนาดเพียงพอต่อความจำเป็นของผู้ผ่านเท่านั้น หากเจ้าของที่ดินตาบอดไม่มความจำเป็นต้องใช้รถอาจมีการขอสิทธิทางจำเป็นเป็นเส้นทางไม่กว้างมากแต่สามารถเดินเข้าออกได้ หรือถ้าจำเป็นต้องใช้รถยนต์ก็สามารถขอสิทธิทางจำเป็นให้รถยนต์สามารถผ่านได้เช่นกัน โดยสามารถสร้างถนนไปสู่ทางสาธารณะได้มากสุดไม่เกิน 8 เมตร

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก เพจ สายตรงกฎหมาย , home2nd