ทำไม? “เกษตรกรไทย” ต้องเจอแบบนี้ตลอด!!

เจ้าของเฟซบุ๊ค Itipong Singsuto ได้โพสต์รูปภาพและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเกษตรกรของไทย โดยได้โพสต์ว่า…
เห็นแบบนี้ บอกตรงๆว่า #เศร้าใจ ครับ ไม่ว่าจะปลูกพืชอะไร ทำไมเกษตรกรไทยต้องเจอแบบนี้ตลอด การพัฒนาต้องพัฒนาคนส่วนมากใช่ไหม แล้วคนส่วนมากก็คือ #เกษตรกร ราคาผลผลิตราคาเท่าเดิม 20 กว่าปีมาแล้ว แต่ค่าครองชีพเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว
#แล้วประเทศมันจะพัฒนาไปได้อย่างไร??????..เวรกรรม


เกษตรกรชาวไร่สับปะรด หลายสิบรายนำสับปะรดสุก จำนวนหลายสิบตัน มาวางขายสองข้างทาง พร้อมคัดแยกขนาดผลสับปะรดแต่ละเบอร์ ก่อนนำป้ายมาเขียนติดบอกราคา โดยสับปะรดเบอร์เล็กที่ชาวสวนติดป้ายขาย เหลือเพียงลูกละ 1 บาทเท่านั้น

เกษตรกรที่ทำไร่สับปะรดมานานกว่า 10 ปี เล่าว่าในปีนี้ราคาดิ่งลงหนักสุดเข้าขั้นวิกฤติกว่าทุกปี ที่ผ่านมา โดยปีที่แล้วสับปะรดเบอร์ใหญ่ขายอยู่ที่ ลูกละ 15-17 บาท แต่ปีนี้เหลือเพียงลูกละ 10 บาท ส่วนเบอร์เล็กตกเกรดจากปีที่แล้วขายอยู่ที่ ลูกละ 3-5 บาท ปีนี้ลดเหลืออยู่ที่ลูกละ 1 บาท

แม้ว่าจะลดราคาขายแบบยอมขาดทุนขนาดนี้ แต่ยังไม่มีพ่อค้าสนใจมารับซื้อ มีเพียงแม่ค้าหาบเร่ แผงลอย มาเหมาไป ปอกใส่รถเข็นขาย ส่วนสาเหตุที่ทำให้ราคาสับปะรดปีนี้ตกต่ำมากที่สุด คาดว่าน่าจะเกิดจาก แหล่งรับซื้อปลายทางหยุดรับซื้อผลผลิตชั่วคราว ให้เหตุผลว่าล้นตลาด เนื่องจากผลผลิตสับปะรดจากทั่วประเทศปีนี้ ออกมาพร้อมกันแต่มีตลาดปลายทางที่รองรับเพียงแค่ 4 แห่ง


ประเทศไทยประสบปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำมายาวนานมาก และก็ยังไม่มีใครหาวิธีแก้ไขแบบยั่งยืนได้เลย ส่วนใหญ่รัฐบาลที่เข้ามาช่วยเหลือก็มักจะเข้ามาแก้ปัญหาแบบระยะสั้น เช่น การจำนำข้าว , รัฐรับซื้อผลผลิตไว้เอง เป็นต้น ซื่งก็ช่วยเหลือเกษตรกรได้แบบชั่วคราวเท่านั้น (อาจจะเป็นเพราะเปลี่ยนรัฐบาลบ่อย หรือไม่มีใครคิดจะแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรอย่างจริงจังก็ไม่ทราบได้)


มาดูที่ต้นตอของปัญหาก่อนดีกว่า เหตุผลที่ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำหลักๆเลยก็คือมีผลผลิตออกมามากเกินความต้องการของตลาด ยกตัวอย่างง่ายๆเลย กรณีที่สับปะรดราคาถูกมากๆในช่วงหนึ่งก็เพราะมีผลผลิตออกมามาก แต่ประชากรมีความสามารถในการบริโภคได้เท่่าเดิม และจากการที่เป็นสินค้าที่เน่าเสียง่าย ทำให้ต้องเร่งรีบขายออกไป ก็ยิ่งทำให้ราคาตกต่ำลงไปอีก

และปัญหาขาดหน่วยงานที่จะมาจัดสรร วางแผนการปลูก วางแผนการผลิตสินค้าเกษตรให้แก่เกษตรกร เพราะเกษตรกรก่อนที่จะตัดสินใจปลูกอะไรมักจะอ้างอิงราคาผลผลิตในปัจจุบัน ผลผลิตตัวไหนราคาแพงขณะนั้นก็จะแห่กันไปปลูกอันนั้น

ซื่งในความเป็นจริงมันอ้างอิงไม่ได้ เพราะผลผลิตทางการเกษตรมักใช้เวลานานกว่าจะเก็บเกี่ยวได้ ซื่งการที่เกษตรกรแห่กันมาปลูกพืชเหมือนกันหมดก็ทำให้ราคาตกต่ำ กว่าจะรู้ตัวก็สายเกินไปแล้วที่จะเเก้ไข แล้วก็หันหน้าเข้าไปหารัฐบาลให้รัฐบาลช่วยเหลืออยู่เสมอๆ

ที่มา Itipong Singsuto