หากคุณเป็นคนหนึ่งที่เป็นคนขี้หลงขี้ลืม
ต่อจากนี้คุณคงไม่ต้องเครียดกับมันอีกต่อไป
เพราะมีสองนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโทรอนโต ประเทศแคนาดา ได้กล่าวไว้ว่า
“คนขี้ลืมคือคนฉลาด” คุณเห็นด้วยกับคำกล่าวนี้หรือไม่ จะจริงเท็จแค่ไหน?
เรามาหาคำตอบจากบทความนี้กันเลย!!
การขี้หลงขี้ลืมเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ซึ่งหลายคนอาจจะมองว่ามันเป็นเรื่องไม่ดีเท่าไรนัก แต่ความจริงมันเป็นสัญญาณของคนฉลาดต่างหาก โดยงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในนิตยสาร Neuron บอกไว้ว่า “คนที่มีสมองสุขภาพแข็งแรงบางครั้งอาจมีการทำงานที่หนักหน่วงเกินไปจนกลายเป็นอาการหลงลืมชั่วขณะ” ซึ่งเป็นงานวิจัยของนักวิจัยจาก University of Toronto ประเทศแคนาดา ที่มีข้อสรุปว่า
“การลืมสิ่งต่างๆ ไม่ใช่เรื่องธรรมดา แต่ว่ามันเป็นการพักสมองหลังจากใช้งานมาอย่างหนัก และมันก็กำลังเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่สมองของเรา”
Paul Frankland และ Blake Richards สองนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโทรอนโต ประเทศแคนาดา ผู้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องกลไกการทำงานของสมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำ พวกเขาได้พบว่า ความขี้หลงขี้ลืมไม่ได้เกิดจากประสิทธิภาพในการเรียกคืนข้อมูลล้มเหลว หากแต่นี่เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้สมองสามารถตัดสินใจได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Blake Richards กล่าวว่า
เรื่องที่สำคัญที่สุดคือ สมองของคนเราต้องลืมหรือตัดรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่จำเป็นออกไปบ้าง และให้ความสนใจ ให้ความสำคัญกับเรื่องที่จำเป็นหรือเรื่องที่ต้องตัดสินใจในช่วงเวลา ณ ขณะนั้น เพราะถ้าคุณพยายามจะจำทุกสิ่งอย่างที่ผ่านเข้ามาในชีวิต สมองของคุณก็จะอัดแน่นไปด้วยความจำเหล่านั้นมากเกินไป ทำให้สมองเบลอ เชื่องช้า ส่งผลให้การตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ทำได้ยาก
พูดง่ายๆ ก็คือ คุณจะลังเลไม่กล้าตัดสินใจในทุกๆ เรื่องนั่นเอง และสมองของคนเราเป็นตัวกรองข้อมูลชั้นดี นั่นหมายความว่า อะไรที่ไม่สำคัญก็ควรจะลืมมันไปซะ เหมือนเป็นการเคลียร์สมองเพื่อเก็บพื้นที่เอาไว้จดจำในเรื่องที่สำคัญๆ หรือเรื่องที่ตัวเองสนใจก็เพียงพอแล้ว
Paul Frankland ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า
จากผลการวิจัยที่เราได้ศึกษาค้นคว้ากันมา แสดงให้เห็นว่า สมองของคนเรามีกลไกบางอย่างที่สนับสนุนให้เกิดอาการหลงลืม ซึ่งมันแตกต่างจากกลไกของสมองที่เกี่ยวข้องกับการบันทึกข้อมูลเป็นอย่างมาก และประโยชน์ของเจ้ากลไกชนิดนี้ก็คือ ทำให้คนที่ขี้ลืมนั้นมีความคิดความอ่านที่ฉลาดและหลักแหลมนั่นเอง
อย่างไรก็ตามนักวิจัยทั้งสองคนก็ได้ทิ้งท้ายเอาไว้ว่า ผลงานวิจัยของพวกเขาชิ้นนี้หมายถึงคนที่มีนิสัยขี้ลืมหน่อยๆ ไม่ได้หมายถึงคนที่ขี้หลงขี้ลืมมากๆ ชนิดที่ว่าจำเรื่องราวสำคัญต่างๆ ไม่ได้เลย เพราะนั่นคืออาการป่วยหรือเป็นอาการของโรคความจำเสื่อมซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับผลการวิจัย แต่ควรได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีจะเป็นการดีที่สุดนั่นเอง
แหล่งที่มา: spokedark
การขี้หลงขี้ลืมเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ซึ่งหลายคนอาจจะมองว่ามันเป็นเรื่องไม่ดีเท่าไรนัก แต่ความจริงมันเป็นสัญญาณของคนฉลาดต่างหาก โดยงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในนิตยสาร Neuron บอกไว้ว่า “คนที่มีสมองสุขภาพแข็งแรงบางครั้งอาจมีการทำงานที่หนักหน่วงเกินไปจนกลายเป็นอาการหลงลืมชั่วขณะ” ซึ่งเป็นงานวิจัยของนักวิจัยจาก University of Toronto ประเทศแคนาดา ที่มีข้อสรุปว่า
“การลืมสิ่งต่างๆ ไม่ใช่เรื่องธรรมดา แต่ว่ามันเป็นการพักสมองหลังจากใช้งานมาอย่างหนัก และมันก็กำลังเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่สมองของเรา”
Paul Frankland และ Blake Richards สองนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโทรอนโต ประเทศแคนาดา ผู้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องกลไกการทำงานของสมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำ พวกเขาได้พบว่า ความขี้หลงขี้ลืมไม่ได้เกิดจากประสิทธิภาพในการเรียกคืนข้อมูลล้มเหลว หากแต่นี่เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้สมองสามารถตัดสินใจได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Blake Richards กล่าวว่า
เรื่องที่สำคัญที่สุดคือ สมองของคนเราต้องลืมหรือตัดรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่จำเป็นออกไปบ้าง และให้ความสนใจ ให้ความสำคัญกับเรื่องที่จำเป็นหรือเรื่องที่ต้องตัดสินใจในช่วงเวลา ณ ขณะนั้น เพราะถ้าคุณพยายามจะจำทุกสิ่งอย่างที่ผ่านเข้ามาในชีวิต สมองของคุณก็จะอัดแน่นไปด้วยความจำเหล่านั้นมากเกินไป ทำให้สมองเบลอ เชื่องช้า ส่งผลให้การตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ทำได้ยาก
พูดง่ายๆ ก็คือ คุณจะลังเลไม่กล้าตัดสินใจในทุกๆ เรื่องนั่นเอง และสมองของคนเราเป็นตัวกรองข้อมูลชั้นดี นั่นหมายความว่า อะไรที่ไม่สำคัญก็ควรจะลืมมันไปซะ เหมือนเป็นการเคลียร์สมองเพื่อเก็บพื้นที่เอาไว้จดจำในเรื่องที่สำคัญๆ หรือเรื่องที่ตัวเองสนใจก็เพียงพอแล้ว
Paul Frankland ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า
จากผลการวิจัยที่เราได้ศึกษาค้นคว้ากันมา แสดงให้เห็นว่า สมองของคนเรามีกลไกบางอย่างที่สนับสนุนให้เกิดอาการหลงลืม ซึ่งมันแตกต่างจากกลไกของสมองที่เกี่ยวข้องกับการบันทึกข้อมูลเป็นอย่างมาก และประโยชน์ของเจ้ากลไกชนิดนี้ก็คือ ทำให้คนที่ขี้ลืมนั้นมีความคิดความอ่านที่ฉลาดและหลักแหลมนั่นเอง
อย่างไรก็ตามนักวิจัยทั้งสองคนก็ได้ทิ้งท้ายเอาไว้ว่า ผลงานวิจัยของพวกเขาชิ้นนี้หมายถึงคนที่มีนิสัยขี้ลืมหน่อยๆ ไม่ได้หมายถึงคนที่ขี้หลงขี้ลืมมากๆ ชนิดที่ว่าจำเรื่องราวสำคัญต่างๆ ไม่ได้เลย เพราะนั่นคืออาการป่วยหรือเป็นอาการของโรคความจำเสื่อมซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับผลการวิจัย แต่ควรได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีจะเป็นการดีที่สุดนั่นเอง
แหล่งที่มา: spokedark