ความแตกต่างของผลไม้ใน อดีต กับ ปัจจุบัน หลังจากถูกดัดแปลงพันธุกรรม เปลี่ยนไปมากจริงๆ

ความแตกต่างของผลไม้ใน อดีต กับ ปัจจุบัน หลังจากถูกดัดแปลงพันธุกรรม เปลี่ยนไปมากจริงๆ

ไม่ใช่เพียงแต่มนุษย์เท่านั้น ที่มีวิวัฒนาการเปลี่ยนรูปลักษณ์ไปในช่วงหลายพันหลายหมื่นศตวรรษที่ผ่านมา แต่พวกพืชผักผลไม้ก็มีรูปร่างหน้าตาที่เปลี่ยนไปเช่นกัน โดยเฉพาะในไม่กี่ศตวรรษที่ผ่านมา มนุษย์ก็มีวิธีการทางวิทยาศาสตร์ อย่างเช่นการคัดเลือกพันธุ์ หรือการดัดแปลงพันธุกรรม ที่จะสร้างสรรค์ผักผลไม้ให้น่ากินมากขึ้น เนื้อเยอะขึ้น รสชาติหวานอร่อยขึ้น วันนี้ทางเพจ วิชาชีวิต จะพามาดูกันว่าผลไม้ในอดีตนั้นเปลี่ยนไปมากขนาดไหน

1. แตงโม
ภาพวาดในศตวรรษที่ 17 ระหว่างปี ค.ศ. 1645-1672 โดย จิโอวานนี่ สตานชิ จิตรกรชาวอิตาลี ที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะของแตงโมสมัยก่อน ที่แตกต่างจากปัจจุบันค่อนข้างมาก โดยเนื้อในของแตงโมสมัยก่อนนั้นมีน้อยกว่าปัจจุบันอย่างมาก



2. กล้วย
กล้วยถือเป็นผลไม้ที่ถูกปลูกมานานอย่างน้อย 7,000-10,000 ปี ในบริเวณพื้นที่ๆ ที่เรียกว่าปาปัวนิวกีนี และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน ซึ่งกล้วยป่าในสมัยก่อนจะมีเมล็ดเยอะและแข็ง อย่างเช่นในภาพ



3. แครอท
แครอทที่เก่าแก่ที่สุด ถูกปลูกในสมัยศตวรรษที่ 10 ในแถบเปอร์เซียและเอเชีย เดิมทีแครอทจะมีลักษณะเป็นสีม่วงและสีขาว และมีลักษณะผอมดูเป็นกิ่งก้านเหมือนกับรากไม้ หน้าตาดูเหมือนจะกินไม่ได้ด้วยซ้ำ แต่ปัจจุบันแครอทถูกดัดแปลงพันธุกรรมไปมาก มีหัวใหญ่ขึ้น และ กลายเป็นสีส้มอย่างที่เราเห็นในทุกวันนี้



4. ข้าวโพด
ข้าวโพดในยุคแรกถูกปลูกในช่วงยุค 7,000 ปีก่อนคริสตกาล มีขนาดเล็กกว่าปัจจุบันมาก แถมยังปอกเปลือกยากและเติบโตยากอีกด้วย ส่นการเปลี่ยนแปลงของข้าวโพดเกิดขึ้นตั้งแต่ในศตวรรษที่ 15 หลังชาวยุโรปเริ่มหันมาเพาะปลูกข้าวโพดมากขึ้น



5. แอปเปิ้ล
แอปเปิ้ลดั้งเดิมจะมีขนาดเล็กกว่าปัจจุบันมาก และมีรสชาติขมกว่าแอปเปิ้ลในปัจจุบัน แต่ด้วยกระบวนการคัดเลือกพันธุ์ในช่วงหลายร้อยปีที่ผ่านมา และการกระจายไปยังทั่วทวีปยุโรปและแถบบอลติก ทำให้แอปเปิ้ลมีหน้าตาเปลี่ยนไป แถมยังมีรสชาติที่หวานอร่อย จนเป็นแบบที่เห็นในปัจจุบัน



***เพิ่มเติม***
บทความมีกระแสมาว่า “ข้อมูลไม่ถูกต้อง” ซึ่งอธิบายเบื้องต้นว่า ข้อมูลนี้อ้างอิงมาจาก Business Insider และ Genetic Literacy Project อีกที ซึ่งสรุปก็คือผลไม้เหล่านี้ผ่าน การคัดเลือกพันธุ์ (Selective Bredding) หรือ การดัดแปลงพันธุกรรม (Genetically Modified Organisms – GMOs) จนทำให้มันเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มานานหลายร้อยหลายพันปี (สมัยก่อน คงทำได้แต่คัดเลือกพันธุ์เท่านั้น)

การคัดเลือกพันธุ์ อธิบายง่ายๆ ก็คือ การเลือกหยิบผักผลไม้ที่มีลักษณะเฉพาะ มาเพาะพันธุ์อีก เช่น หากคุณเจอแตงโมที่มีลูกเล็กและเมล็ดน้อย คุณก็หยิบลูกนี้มาเพาะพันธุ์ต่อยอด และขยายพันธุ์มันไป การคัดเลือกพันธุ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก จะทำให้คุณได้ผลไม้ที่ต่างไปจากเดิม ซึ่งมนุษย์ก็มักจะเลือกแต่สิ่งที่ดี ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ผลไม้ จะมีพัฒนาการที่ดีขึ้นกว่าเดิมในหลายๆ ด้านเช่น กินง่ายขึ้น เนื้อเยอะขึ้น เมล็ดน้อยลง และอื่นๆ อีกมากมาย

ส่วนการดัดแปลงพันธุกรรม ในส่วนของพืช ก็คือการตัดต่อยีน (Gene) จากกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering) อาจเรียกแบบเฉพาะได้ว่า Transgenic Plant อย่างเช่น การนำยีนจากแบคทีเรียชนิดหนึ่งมาใส่ในยีนของถั่วเหลืองเพื่อให้ถั่วเหลืองทนทานต่อยาปราบวัชพืช ซึ่งในปัจจุบัน พืช GMO เองก็มีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ถั่วเหลือง มะละกอ มันฝรั่ง ข้าวโพด มะเขือเทศ ฯลฯ




อ้างอิงข้อมูลจาก . Genetic Literacy Project , www.liekr.com/post_149603.html