สวัสดีครับม.. วันนี้เราขอนำเสนอวิธีการออกแบบ เล้าเป็ด ให้อยู่แบบสบาย
ออกไข่เยอะๆ เป็ดไม่เครียด ลงทุนไม่มากสามารถทำได้จริงรายได้งามได้จริง
มาดูกันเลยครับ ว่าจะมีวิธีการแบบใดมาดูกัน
ณ ศูนย์เรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่หนองสามพราน ต.วังด้ง อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ที่นั่นมี ผู้ใหญ่พิเชษฐ์ เจริญพร เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ได้มีแปลงสาธิตการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภายใต้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ของ “ผู้ว่าหัวใจเกษตร” นายศักดิ์ สมบุญโต และสำนักงานเกษตรจังหวัดกาญจนบุรี ด้วยเกษตรกรรมที่หลากหลาย ทั้งปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ จัดให้ครบครัน
แต่ละส่วนของเกษตรกรรมที่ดำเนินการขึ้นถือว่าน่าสนใจทั้งสิ้น “มีความรู้มากมายให้ค้นหา” และที่จะนำมาบอกกล่าวในครั้งนี้ก็คือ การเลี้ยงเป็ดไข่ โดยเฉพาะการออกแบบโรงเรือน หรือ “เล้าเป็ด” ที่ทำเป็น “ห้องหับ” ให้มีสัดส่วนต่างๆอย่างลงตัว มันโดนใจผู้เขียนสุดๆ ส่วนจะโดนใจผู้อยู่อาศัยคือเป็ดแค่ไหน เดี่ยวไปหาคำตอบกัน
ได้แรงบันดาลใจหรือว่ามีแนวคิดอย่างไร ?
ผมเริ่มจากความคิดที่ว่า ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่… คือเรามาคิดว่า ธรรมชาติของเป็ดชอบอยู่อาศัยอย่างไร ทีนี้พื้นที่ของเราตรงนี้มันขาดน้ำ “น้ำมีน้อย” ทำอย่างไรจึงจะเลี้ยงเป็ดได้ ก็เลยทำเป็นสระน้ำเล็กๆขึ้นมา และคิดต่อว่าน้ำที่ใช้เลี้ยงเป็ดนั้น เราจะต้องเปลี่ยนอยู่บ่อยๆ จะใช้ประโยชน์อย่างไรได้บ้าง เราเริ่มจากตรงนี้
แบ่งสัดส่วนพื้นที่ใช้สอยอย่างไรบ้าง ?
ในการออกแบบเล้าเป็ดหรือโรงเรือนเลี้ยงเป็ดของเรามีขนาดพื้นที่ 12X12 เมตร เลี้ยงเป็ดได้ 350-400 ตัว เราได้ออกแบบให้มีพื้นที่ต่างๆ เป็น 3 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1
เป็นสระว่ายน้ำ ใช้พื้นที่ประมาณ 1 ส่วน (1 ใน 5 ส่วนของพท.ทั้งหมด) ขนาด 4X4 เมตร น้ำลึกประมาณ 40 ซ.ม. โดยจะออกแบบให้มีระบบท่อเติมน้ำและระบบน้ำล้นไว้ จะมีการเปลี่ยนน้ำทุก 3 วัน สิ่งสำคัญได้ออกแบบให้มีท่อน้ำทิ้งที่ต่อท่อไปยังแปลงปลูกพืช วิธีนี้จะทำให้น้ำกลายเป็นปุ๋ยไปในตัว “น้ำที่เปลี่ยนทุก 3 วัน เราจะนำไปรดพืชผัก และไม้ผลต่างๆ เป็นปุ๋ยไปในตัว”
ส่วนที่ 2
พื้นที่พักอาศัย(ห้องพัก) ใช้พื้นที่ประมาณ 3 ส่วน (3 ใน 5 ส่วนของพท.ทั้งหมด) ในส่วนนี้จะทำเป็นหลังคากระเบื้องลอนใหญ่ ออกแบบเพื่อไว้ให้เป็ดพักผ่อน โดยที่พื้นดินนั้นจะใช้ฟางข้าวปูและเมื่อเกิดความชื้นหรือเปียกก็จะปูทับไปเรื่อยๆ
“ประโยชน์ของฟางข้าวที่ปูทับไปเรื่อยๆนี้ เมื่อเป็ดรุ่นหนึ่งหมดอายุไข่ก็จะรื้อเปลี่ยนทีหนึ่ง และนำฟางข้าวนี้ไปเป็นปุ๋ยต่อไป”
นอกจากนี้ภายในห้องพักนี้ ได้แบ่งพื้นที่มุมหนึ่งที่ติดกับผนังให้มีส่วนของที่วางไข่ โดยใช้อิฐบล็อก 1 ก้อนก่อขึ้นทำเป็นช่องๆ ขนาดกว้าง 40 ซ.ม. สูง 20 ซ.ม. และใช้ไม้กระดานปูด้านบน (ตามภาพ) มีทั้งหมด 10 กว่าช่อง และแต่ละช่องจะทำเป็นแอ่งกระทะมีฟางรองให้เป็ดนอนไข่อย่างสบายใจ ไม่ต้องมีเพื่อนเป็ดตัวใดมารบกวน ซึ่งเป็ดแต่ละตัวจะเข้าไปวางไข่หมุนเวียนกัน
“วิธีการออกแบบที่วางไข่แบบนี้ จะทำให้สะดวกต่อการเก็บไข่ไม่ให้ไปไข่ตรงนั้นตรงนี้ ซึ่งบางทีก็เลอะเทอะ และสิ่งสำคัญที่วางไข่ที่ทำเป็นช่องๆแบบนี้เป็ดจะรู้สึกสงบหลบภัยได้ โดยธรรมชาติเป็ดจะขี้ตกใจง่าย…”
ส่วนที่ 3
พื้นที่เดินเล่นกลางแจ้ง ใช้พื้นที่ประมาณ 1 ส่วน (1 ใน 5 ส่วนของพท.ทั้งหมด) ไว้เพื่อให้เป็ดเดินเล่นออกกำลังกายและรับแสงแดดตามธรรมชาติ ทั้งนี้ ในการทำรั้วล้อมรอบโรงเรือน จะใช้อิฐบล็อกจำนวน 2 ก้อน ก่อสูงขึ้นมา และต่อด้วยตาข่ายพลาสติกแบบหนาสูงขึ้นอีกประมาณ 1 เมตร เพื่อป้องกันเป็ดออกนอกเล้า
และที่ต้องใช้อิฐบล็อกก่อตรงพื้นดินก็เพื่อป้องกันสัตว์เลื้อยคลานเข้ามาทำร้ายเป็ด โดยเฉพาะพวกงูที่มักมาเยี่ยมเยือนแบบไม่รับเชิญ เป็ดอยู่กันอย่างมีความสุข…ใครใคร่ทำกิจกรรมอะไรก็จะมีพิ้นที่เป็นสัดส่วน มองไปจากด้านหน้าจะเห็นว่า สมาชิกเป็ดอยู่กันอย่างมีความสุข…ใครใคร่ทำกิจกรรมอะไรก็จะมีพิ้นที่เป็นสัดส่วน
เล้าเป็ดแบบนี้ จะดีต่อคุณภาพชีวิตหรือการออกไข่อย่างไรบ้าง?
เรื่องแรกผมคิดว่า ทำให้การบริหารจัดการง่ายขึ้น เช่น ควบคุมให้เป็ดกินอยู่ด้วยกันไม่ให้ไปไหนไกล ป้องกันอันตรายจากสัตว์เลื้อยคลานต่างๆ มีที่วางไข่เป็นสัดส่วน ป้องกันเรื่องโรคหรือความสะอาดได้ ฯลฯ
เรื่องที่ว่ามีผลต่อการออกไข่หรือไม่นั้น อาจจะไม่ชัดเจนนัก แต่ก็คิดว่ามีส่วนอยู่บ้าง มันเหมือนกับว่าเราให้เป็ดอยู่บ้านที่มีความปลอดภัย มีอาหารการกินอย่างดี มีที่ออกกำลังกาย มีที่ว่ายน้ำ ฯลฯ ก็ย่อมจะส่งผลต่อสุขภาพของเป็ด เมื่อเป็ดมีความสุขก็จะทำให้เป็ดออกไข่สม่ำเสมอ อย่างเช่น ตอนนี้เราเลี้ยงเป็ดทั้งหมดจำนวน 300 ตัว ก็จะออกไข่ได้วันละประมาณ 85 % ซึ่งก็ถือว่าเป็นเปอร์เซ็นต์ที่เราพอใจ
หากจะสร้างเล้าเป็ดแบบนี้ขนาดนี้ใช้ทุนมากไหม?
ผมใช้ทุนค่าวัสดุก่อสร้างและค่าแรงทั้งหมดประมาณ 4 หมื่นกว่าบาท ของเราเน้นความยั่งยืน สร้างแข็งแรงหน่อย แต่ถ้าเกษตรทำเองก็ไม่จำเป็นต้องลงทุนสูงแบบของเรา ให้ใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่น เช่น ใช้โครงสร้างไม้ หลังคามุงจากหรือแฝก ฯลฯ ก็คิดว่ามีทุน 2 หมื่นก็น่าจะทำได้แล้ว ลุงพร สอนอาชีพ เกาะติดรั้วเป็ด…และดูการเลี้ยงเป็ดอย่างใกล้ชิด
เป็นครั้งแรกที่ผู้เขียน (ลุงพร สอนอาชีพ)ได้เกาะติดรั้วเป็ด…ทำให้รู้ว่าทุกงานอาชีพจะต้อง “เข้าถึง เข้าใจ พัฒนา” นี่คือศาสตร์ของพระราชาที่เรียนรู้ได้ไม่จบสิ้น…ขอบคุณผู้ใหญ่พิเชษฐ์ เจริญพร ที่ได้เดินตามในหลวง ที่ทำให้ได้ความรู้มากมาย
ความคุ้มทุน…เลี้ยงเป็ดไข่ดีอย่างไร?
เป็ดตัวหนึ่งๆจะกินอาหารเฉลี่ยวันละ 150 กรัม ใช้อาหารเป็ดไข่เป็นหลัก ซื้อมาถุงละ 440 บาท และต้นทุนจะอยู่ที่ค่าพันธุ์เป็ด ซึ่งซื้อเป็ดสาวอายุ 18 สัปดาห์ พันธุ์ซุปเปอร์ซีพี ราคาตัวละ 136 บาท เลี้ยงไปประมาณ 3-4 สัปดาห์ก็ออกไข่
สำหรับไข่เป็ดที่ได้จะขายอยู่ที่ศูนย์เรียนรู้ ไม่ต้องไปขายที่ไหนไกล โดยขายฟองละ 4 บาท ซึ่งถือว่าราคาถูก แค่ให้พออยู่ได้ เพื่อเป็นแหล่งเพิ่มโปรตีนให้กับชาวบ้านในย่านใกล้เคียง โดยที่ถ้าไปซื้อที่ตลาดหรือตามห้างก็ตกฟองละ 5 บาทกว่า…
“ผมคิดว่าคุ้มทุนนะ ถ้าอยู่แบบพอเพียง ค่อยๆเลี้ยง และเพิ่มจำนวนเป็ดไข่ ตามความต้องการของตลาด และขยายตลาด หรือทำการแปรรูปเป็นไข่เค็ม ซึ่งก็จะเพิ่มมูลค่าได้ด้วย”
ทั้งหมดนี้ คือเล้าเป็ดในสไตล์ผู้ใหญ่พิเชษฐ์ เจริญพร ซึ่งใครจะมาดูแบบหรือมาดูการเลี้ยงก็เชิญได้ ตามเบอร์โทร. ในภาพด้านล่างนี้ (081 4251163) โดยที่ผู้ใหญ่พิเชษฐ์ พร้อมที่จะให้ข้อมูลหรือแนวทางอย่างเต็มที่ครับ
ขอบคุณที่มาจาก: kasetkaoklai.com
ณ ศูนย์เรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่หนองสามพราน ต.วังด้ง อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ที่นั่นมี ผู้ใหญ่พิเชษฐ์ เจริญพร เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ได้มีแปลงสาธิตการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภายใต้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ของ “ผู้ว่าหัวใจเกษตร” นายศักดิ์ สมบุญโต และสำนักงานเกษตรจังหวัดกาญจนบุรี ด้วยเกษตรกรรมที่หลากหลาย ทั้งปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ จัดให้ครบครัน
แต่ละส่วนของเกษตรกรรมที่ดำเนินการขึ้นถือว่าน่าสนใจทั้งสิ้น “มีความรู้มากมายให้ค้นหา” และที่จะนำมาบอกกล่าวในครั้งนี้ก็คือ การเลี้ยงเป็ดไข่ โดยเฉพาะการออกแบบโรงเรือน หรือ “เล้าเป็ด” ที่ทำเป็น “ห้องหับ” ให้มีสัดส่วนต่างๆอย่างลงตัว มันโดนใจผู้เขียนสุดๆ ส่วนจะโดนใจผู้อยู่อาศัยคือเป็ดแค่ไหน เดี่ยวไปหาคำตอบกัน
ได้แรงบันดาลใจหรือว่ามีแนวคิดอย่างไร ?
ผมเริ่มจากความคิดที่ว่า ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่… คือเรามาคิดว่า ธรรมชาติของเป็ดชอบอยู่อาศัยอย่างไร ทีนี้พื้นที่ของเราตรงนี้มันขาดน้ำ “น้ำมีน้อย” ทำอย่างไรจึงจะเลี้ยงเป็ดได้ ก็เลยทำเป็นสระน้ำเล็กๆขึ้นมา และคิดต่อว่าน้ำที่ใช้เลี้ยงเป็ดนั้น เราจะต้องเปลี่ยนอยู่บ่อยๆ จะใช้ประโยชน์อย่างไรได้บ้าง เราเริ่มจากตรงนี้
แบ่งสัดส่วนพื้นที่ใช้สอยอย่างไรบ้าง ?
ในการออกแบบเล้าเป็ดหรือโรงเรือนเลี้ยงเป็ดของเรามีขนาดพื้นที่ 12X12 เมตร เลี้ยงเป็ดได้ 350-400 ตัว เราได้ออกแบบให้มีพื้นที่ต่างๆ เป็น 3 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1
เป็นสระว่ายน้ำ ใช้พื้นที่ประมาณ 1 ส่วน (1 ใน 5 ส่วนของพท.ทั้งหมด) ขนาด 4X4 เมตร น้ำลึกประมาณ 40 ซ.ม. โดยจะออกแบบให้มีระบบท่อเติมน้ำและระบบน้ำล้นไว้ จะมีการเปลี่ยนน้ำทุก 3 วัน สิ่งสำคัญได้ออกแบบให้มีท่อน้ำทิ้งที่ต่อท่อไปยังแปลงปลูกพืช วิธีนี้จะทำให้น้ำกลายเป็นปุ๋ยไปในตัว “น้ำที่เปลี่ยนทุก 3 วัน เราจะนำไปรดพืชผัก และไม้ผลต่างๆ เป็นปุ๋ยไปในตัว”
ส่วนที่ 2
พื้นที่พักอาศัย(ห้องพัก) ใช้พื้นที่ประมาณ 3 ส่วน (3 ใน 5 ส่วนของพท.ทั้งหมด) ในส่วนนี้จะทำเป็นหลังคากระเบื้องลอนใหญ่ ออกแบบเพื่อไว้ให้เป็ดพักผ่อน โดยที่พื้นดินนั้นจะใช้ฟางข้าวปูและเมื่อเกิดความชื้นหรือเปียกก็จะปูทับไปเรื่อยๆ
“ประโยชน์ของฟางข้าวที่ปูทับไปเรื่อยๆนี้ เมื่อเป็ดรุ่นหนึ่งหมดอายุไข่ก็จะรื้อเปลี่ยนทีหนึ่ง และนำฟางข้าวนี้ไปเป็นปุ๋ยต่อไป”
นอกจากนี้ภายในห้องพักนี้ ได้แบ่งพื้นที่มุมหนึ่งที่ติดกับผนังให้มีส่วนของที่วางไข่ โดยใช้อิฐบล็อก 1 ก้อนก่อขึ้นทำเป็นช่องๆ ขนาดกว้าง 40 ซ.ม. สูง 20 ซ.ม. และใช้ไม้กระดานปูด้านบน (ตามภาพ) มีทั้งหมด 10 กว่าช่อง และแต่ละช่องจะทำเป็นแอ่งกระทะมีฟางรองให้เป็ดนอนไข่อย่างสบายใจ ไม่ต้องมีเพื่อนเป็ดตัวใดมารบกวน ซึ่งเป็ดแต่ละตัวจะเข้าไปวางไข่หมุนเวียนกัน
“วิธีการออกแบบที่วางไข่แบบนี้ จะทำให้สะดวกต่อการเก็บไข่ไม่ให้ไปไข่ตรงนั้นตรงนี้ ซึ่งบางทีก็เลอะเทอะ และสิ่งสำคัญที่วางไข่ที่ทำเป็นช่องๆแบบนี้เป็ดจะรู้สึกสงบหลบภัยได้ โดยธรรมชาติเป็ดจะขี้ตกใจง่าย…”
ส่วนที่ 3
พื้นที่เดินเล่นกลางแจ้ง ใช้พื้นที่ประมาณ 1 ส่วน (1 ใน 5 ส่วนของพท.ทั้งหมด) ไว้เพื่อให้เป็ดเดินเล่นออกกำลังกายและรับแสงแดดตามธรรมชาติ ทั้งนี้ ในการทำรั้วล้อมรอบโรงเรือน จะใช้อิฐบล็อกจำนวน 2 ก้อน ก่อสูงขึ้นมา และต่อด้วยตาข่ายพลาสติกแบบหนาสูงขึ้นอีกประมาณ 1 เมตร เพื่อป้องกันเป็ดออกนอกเล้า
และที่ต้องใช้อิฐบล็อกก่อตรงพื้นดินก็เพื่อป้องกันสัตว์เลื้อยคลานเข้ามาทำร้ายเป็ด โดยเฉพาะพวกงูที่มักมาเยี่ยมเยือนแบบไม่รับเชิญ เป็ดอยู่กันอย่างมีความสุข…ใครใคร่ทำกิจกรรมอะไรก็จะมีพิ้นที่เป็นสัดส่วน มองไปจากด้านหน้าจะเห็นว่า สมาชิกเป็ดอยู่กันอย่างมีความสุข…ใครใคร่ทำกิจกรรมอะไรก็จะมีพิ้นที่เป็นสัดส่วน
เล้าเป็ดแบบนี้ จะดีต่อคุณภาพชีวิตหรือการออกไข่อย่างไรบ้าง?
เรื่องแรกผมคิดว่า ทำให้การบริหารจัดการง่ายขึ้น เช่น ควบคุมให้เป็ดกินอยู่ด้วยกันไม่ให้ไปไหนไกล ป้องกันอันตรายจากสัตว์เลื้อยคลานต่างๆ มีที่วางไข่เป็นสัดส่วน ป้องกันเรื่องโรคหรือความสะอาดได้ ฯลฯ
เรื่องที่ว่ามีผลต่อการออกไข่หรือไม่นั้น อาจจะไม่ชัดเจนนัก แต่ก็คิดว่ามีส่วนอยู่บ้าง มันเหมือนกับว่าเราให้เป็ดอยู่บ้านที่มีความปลอดภัย มีอาหารการกินอย่างดี มีที่ออกกำลังกาย มีที่ว่ายน้ำ ฯลฯ ก็ย่อมจะส่งผลต่อสุขภาพของเป็ด เมื่อเป็ดมีความสุขก็จะทำให้เป็ดออกไข่สม่ำเสมอ อย่างเช่น ตอนนี้เราเลี้ยงเป็ดทั้งหมดจำนวน 300 ตัว ก็จะออกไข่ได้วันละประมาณ 85 % ซึ่งก็ถือว่าเป็นเปอร์เซ็นต์ที่เราพอใจ
หากจะสร้างเล้าเป็ดแบบนี้ขนาดนี้ใช้ทุนมากไหม?
ผมใช้ทุนค่าวัสดุก่อสร้างและค่าแรงทั้งหมดประมาณ 4 หมื่นกว่าบาท ของเราเน้นความยั่งยืน สร้างแข็งแรงหน่อย แต่ถ้าเกษตรทำเองก็ไม่จำเป็นต้องลงทุนสูงแบบของเรา ให้ใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่น เช่น ใช้โครงสร้างไม้ หลังคามุงจากหรือแฝก ฯลฯ ก็คิดว่ามีทุน 2 หมื่นก็น่าจะทำได้แล้ว ลุงพร สอนอาชีพ เกาะติดรั้วเป็ด…และดูการเลี้ยงเป็ดอย่างใกล้ชิด
เป็นครั้งแรกที่ผู้เขียน (ลุงพร สอนอาชีพ)ได้เกาะติดรั้วเป็ด…ทำให้รู้ว่าทุกงานอาชีพจะต้อง “เข้าถึง เข้าใจ พัฒนา” นี่คือศาสตร์ของพระราชาที่เรียนรู้ได้ไม่จบสิ้น…ขอบคุณผู้ใหญ่พิเชษฐ์ เจริญพร ที่ได้เดินตามในหลวง ที่ทำให้ได้ความรู้มากมาย
ความคุ้มทุน…เลี้ยงเป็ดไข่ดีอย่างไร?
เป็ดตัวหนึ่งๆจะกินอาหารเฉลี่ยวันละ 150 กรัม ใช้อาหารเป็ดไข่เป็นหลัก ซื้อมาถุงละ 440 บาท และต้นทุนจะอยู่ที่ค่าพันธุ์เป็ด ซึ่งซื้อเป็ดสาวอายุ 18 สัปดาห์ พันธุ์ซุปเปอร์ซีพี ราคาตัวละ 136 บาท เลี้ยงไปประมาณ 3-4 สัปดาห์ก็ออกไข่
สำหรับไข่เป็ดที่ได้จะขายอยู่ที่ศูนย์เรียนรู้ ไม่ต้องไปขายที่ไหนไกล โดยขายฟองละ 4 บาท ซึ่งถือว่าราคาถูก แค่ให้พออยู่ได้ เพื่อเป็นแหล่งเพิ่มโปรตีนให้กับชาวบ้านในย่านใกล้เคียง โดยที่ถ้าไปซื้อที่ตลาดหรือตามห้างก็ตกฟองละ 5 บาทกว่า…
“ผมคิดว่าคุ้มทุนนะ ถ้าอยู่แบบพอเพียง ค่อยๆเลี้ยง และเพิ่มจำนวนเป็ดไข่ ตามความต้องการของตลาด และขยายตลาด หรือทำการแปรรูปเป็นไข่เค็ม ซึ่งก็จะเพิ่มมูลค่าได้ด้วย”
ทั้งหมดนี้ คือเล้าเป็ดในสไตล์ผู้ใหญ่พิเชษฐ์ เจริญพร ซึ่งใครจะมาดูแบบหรือมาดูการเลี้ยงก็เชิญได้ ตามเบอร์โทร. ในภาพด้านล่างนี้ (081 4251163) โดยที่ผู้ใหญ่พิเชษฐ์ พร้อมที่จะให้ข้อมูลหรือแนวทางอย่างเต็มที่ครับ
ขอบคุณที่มาจาก: kasetkaoklai.com