ระวังกับดักหน้าร้อน! แอร์ที่บ้านไม่เย็นไม่ต้องเรียกช่าง แก้ปัญหาเองได้ใช้งบไม่เกิน 200 บาท! (มีคลิป)

เป็นกระแสฮือฮากันอีกแล้วเมื่อโลกออนไลน์มีการแชร์เคล็ดลับให้กับคุณพ่อบ้าน ที่ประสบปัญหาแอร์ไม่เย็น โดยโพสต์ดังกล่าวเผยแพร่จากสมาชิกผู้ใช้เฟซบุ๊ก Niwat Eamkyo ได้มีการโพสต์ภาพพร้อมระบุข้อความว่า



เหยื่อ…หน้าร้อน !!! นานา สาระ รู้ไว้ใช่ว่า จะเรียกว่าค่าโง่หรือค่าครูดี !!!อาการแอร์ไม่เย็น มีแต่ลมเหมือนพัดลมธรรมดา ๆ ออกมาจากช่องแอร์



พัดลมคอมเพรสเซอร์ทำงานปกติ แต่มีเสียงหึ่ง ๆ เป็นช่วง ๆ อาการแบบนี้เคยเกิดขึ้นแล้วหนึ่งครั้งเคยเรียกช่างมาซ่อมเปลี่ยนอะไหล่ที่มีชื่อว่า Capacitor ไป 1800 บาท แอร์ก็กลับเย็นเหมือนเดิม คอมเพรสเซอร์ทำงานปกติ !!! ดีจัง



แต่คราวนี้เมื่ออาการเดิมกำเริบวิญญาณแม็กกายเวอร์เข้าสิง อารมณ์อยากซ่อมเอง เพราะเคยเห็นช่างซ่อมแค่ถอดไอ้เจ้าแท่งทรงกระบอกแบบสีเงินในรูปออก แล้วเอาของใหม่ใส่เข้าไปก็ใช้ได้ แท่งสีเงินเรียกว่า Capacitor หรือ เรียกสั้น ๆ ว่าแคปรันครับ



เริ่มจากหาข้อมูลของเจ้า Capacitor ว่ามีที่ไหนขายบ้าง ถอดซ่อมยากหรือไม่ มีร้านขายใกล้บ้านด้วย มั่นใจปุ๊บก็ลงมือปั๊บ



ถอดหน้ากาก คอมเพรสเซอร์ แอร์ หาตำแหน่ง Capacitor -ถ่ายรูปตำแหน่งสายไฟที่เชื่อมต่อขั้ว แคปรัน เก็บไว้ดูกันลืม-ถอดแคปรันหรือ Capacitor ออกเอาไปเป็นตัวอย่างให้ร้านดู ถึงกับต้องร้อง OMG !!!



เมื่อรู้ว่าแบบที่ช่างเปลี่ยนให้คราวที่แล้วเป๊ะ ของผลิตจากจีนราคาส่งแค่ 60-70 บาท ร้านขายอะไหล่แอร์แถว ๆ บ้านก็ 100 กว่าบาทปล.เจ้าของร้านบอกของจีนใช้ไม่นานก็ต้องเปลี่ยน ไม่ถึงปีหรอก  แล้วเราจ่ายค่าอะไรไป 1800 บาท



คราวนี้เลยได้อะไหล่จากญี่ปุ่นไปมาแค่ 240 บาท ใช้ได้หลายปีอาเฮียบอก ได้อะไหล่กลับบ้านมาพร้อมคำถามมากมายว่า 1800 ค่าอะไรว้าาาาา ต่อๆๆ -นำ Capacitor ตัวใหม่ที่ได้มาใส่กลับตำแหน่งเดิม



ดูรูปที่ถ่ายไว้อีกครั้งเพื่อความแน่ใจ-ลองเปิดแอร์ดู ว้าววววเย็นฉ่ำเหมือนเดิม ง่ายมั๊ยครับ ปล.ทุกขั้นตอนก่อนซ่อมต้องตัดกระแสไฟไม่ให้เข้าระบบแอร์ก่อนทุกขั้นตอนเลยนะครับ แล้วผมควรจะเรียกเงิน 1,800 บาทที่จ่ายไปคราวที่แล้วว่า เป็นค่าโง่หรือค่าครูดีครับ !!!“



ไปชมคลิป


สำหรับใครที่เจอปัญหาแอร์ไม่เย็น ก็ลองนำไปใช้ หรือถ้าใครลองวิธีดังกล่าวแล้ว ไม่ได้ผล ก็ลองศึกษาวิวธีการแก้ไขได้จากคลิปที่้นำมาให้ชมได้ ทั้งนี้การซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า ต้องใช้ความระมัดระวัง ไม่แนะนำสำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้พื้นฐาน เพราะอาจเกิดอันตรายได้


ขอบคุณที่มาจาก: Niwat Eamkyo