“โกษาปาน”
ราชฑูตที่เดินทางไปฝรั่งเศสเป็นอีก1บุคคลที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์
แต่ชีวิตสุดท้ายของโกษาปาน ไม่ได้ดีอย่างที่ทุกคนคิด
ตามมาดูกันดีกว่าว่าจะเป็นอย่างไรกันบ้าง
นับเป็นอีกหนึ่งบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ ที่ทุกคนรู้จักกันดี สำหรับ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) หรือ ออกพระวิสุทธิสุนธร ราชทูตของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่เดินทางไปเจริญพระราชไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ท่านเป็นบุตรของเจ้าแม่วัดดุสิต พระนมของสมเด็จพระนารายณ์ และเป็นน้องชายของ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) แม่ทัพคนสำคัญของกรุงศรีอยุธยา
โกษาปานเดินทางไปกับเรือฝรั่งเศสเมื่อธันวาคม พ.ศ. 2228 ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เมื่อ 1 กันยายน พ.ศ. 2229 และเดินทางกลับเมื่อ 27 กันยายน พ.ศ. 2230 รวมเดินทางไปกลับอยุธยาฝรั่งเศสทั้งหมด 1 ปี 9 เดือน
หลังสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ พระเพทราชา เจ้ากรมพระคชบาล ขึ้นครองราชย์ต่อโดยสถาปนาราชวงศ์บ้านพลูหลวงเป็นราชวงศ์ใหม่ โกษาปานได้รับราชการต่อมาในราชวงศ์ใหม่ สำหรับเรื่องราวการเสียชีวิตของโกษาปาน สมาชิกพันทิป ‘ศรีสรรเพชญ์’ ได้ให้ข้อมูลไว้อย่างน่าสนใจ ระบุว่า
เรื่องเจ้าพระญาศรีธรรมราช (ปาน) หรือ โกษาปานถึงแก่อสัญกรรม มีระบุในจดหมายของบาทหลวงกาเบรียล โบรด์ (Gabriel Braud) รองประมุขมิสซังสยาม ส่งถึงบาทหลวงบริซาซิเยร์ (Jacques-Charles de Brisacier) ผู้อำนวยการคณะมิสซังต่างประเทศ กรุงปารีส เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ.1700 (พ.ศ.2243) มีเนื้อหากล่าวถึงการลงอาญาและประหารชีวิตขุนนางที่ส่งไปปราบกบฏที่เมืองนครราชสีมาจำนวนมาก รวมถึงมรณกรรมโกษาปานซึ่งถึงแก่อสัญกรรมไปก่อนหน้าสองเดือนแล้ว (แก้การสะกดคำเป็นแบบปัจจุบัน)
“เจ้าพระยาพระคลังหาได้อยู่ในจำพวกขุนนางที่ถูกประหารชีวิตไม่ เพราะได้ตายเสียก่อนสองเดือนมาแล้ว เขาพูดกันว่าที่ตายนี้ก็เพราะถูกเฆี่ยนตายทั้งเสียใจที่ตัวต้องถูกเฆี่ยนและถูกลงอาญาบ่อยๆ ด้วย เพราะเมื่อ 4 ปีมาแล้วพระเจ้าแผ่นดินทรงกริ้วขึ้นมาก็ได้เอาพระแสงดาบตัดปลายจมูกเจ้าพระยาพระคลัง ตั้งแต่นั้นมาเจ้าพระยาพระคลังก็ต้องรับพระราชอาญาเรื่อยมา เพราะพระเจ้าแผ่นดินไม่ทรงไว้พระทัยเสียแล้ว ก่อนที่เจ้าพระยาพระคลังจะตายนั้นบุตรสาวคนใหญ่คน 1 บุตรชายสองสามคนกับภรรยาน้อยของเจ้าพระยาพระคลังได้ถูกจับไปและถูกชำระ จึงได้เกิดลือกันว่าเจ้าพระยาพระคลังมีความเสียใจนักจึงได้เอามีดแทงชายโครงฆ่าตัวเองตาย
การที่เจ้าพระยาพระคลังตายนี้พระเจ้าแผ่นดินก็ออกตัวได้ดี ได้ทรงแกล้งทำเสียพระทัยว่าเจ้าพระยาพระคลังได้ถึงอสัญกรรมเสียแล้ว จึงได้โทษว่าหมอจีนซึ่งเปนผู้รักษาเจ้าพระยาพระคลังได้เอายาพิษให้เจ้าพระยาพระคลังรับประทานจึงได้พระราชทานรางวัลโดยให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยนหมอคนนั้นและให้เฆี่ยนทั้งหลังและท้องด้วย เวลากลางคืนได้ยกศพเจ้าพระยาพระคลังไปฝังไว้ยังวัดหาได้มีการทำบุญให้ทานอย่างใดไม่และมิได้ทำการศพให้สมกับเกียรติยศ ซึ่งต้องมีการแห่ศพไปไว้ยังโรงทึมและเผาตามธรรมเนียม นี่แหละเปนสิ้นชื่อของอัครราชทูตสยามที่ได้ไปเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศฝรั่งเศส และเปนอัครมหาเสนาบดีของพระเจ้าแผ่นดินสยามองค์ปัจจุบันนี้ด้วย ออกญาพิพัฒน์ผู้ช่วยของเจ้าพระยาพระคลังซึ่งเปนคนอัธยาศัยดีคงทำการให้พระเจ้าแผ่นดินโปรดอยู่เสมอ แต่ออกญาพิพัฒน์ก็พูดอยู่เสมอว่ามิช้ามิเร็วก็คงจะถูกเหมือนอย่างคนทั้งหลายเหมือนกัน”
ถ้าอ้างอิงตามจดหมายนี้ เจ้าพระญาศรีธรรมราช (ปาน) ถึงแก่อสัญกรรมประมาณเดือนมิถุนายน ค.ศ.1700
หลักฐานของบาทหลวงฝรั่งเศสอีกคนคือ จดหมายของบาทหลวงเคเมอเน (Quémener) ถึงบาทหลวงถึง เดอ ตอร์ซี (de Torcey) ลงวันที่ 4 มกราคม ค.ศ.1701 (พ.ศ. 2244) ระบุว่าเจ้าพระญาศรีธรรมราชถูกเฆี่ยนจนตาย แต่ช่วงเวลาไม่ตรงกับจดหมายของบาทหลวงโบรด์ เพราะระบุว่า “เจ้าพระยาพระคลังคนที่เคยไปฝรั่งเศสนั้นได้ถูกเฆี่ยนตายเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีกลายนี้แล้ว” หมายความว่าท่านถึงแก่อสัญกรรมในเดือนพฤจิกายน ค.ศ. 1700
แต่หลักฐานร่วมสมัยของดัตช์กล่าวต่างกันเล็กน้อย ตามรายงานของกิเดโยน ตันต์ (Gideon Tant) หัวหน้าบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ในกรุงศรีอยุทธยาเวลานั้นส่งไปถึงสำนักงานที่เมืองปัตตาเวีย ระบุว่าเจ้าพระญาศรีธรรมราชถูกลงโทษขังไว้ในพระราชวังหลวงจนป่วยหนัก และถึงอสัญกรรมในวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.1699
ตันต์ตั้งสมมติฐานว่ากบฎเมืองนครราชสีมานั้นมีบุคคลในราชสำนักแอบสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง โดยมีจุดประสงค์จะล้มสมเด็จพระเพทราชาลงจากราชสมบัติ แล้วยกเจ้าพระขวัญซึ่งเป็นโอรสของพระองค์กับเจ้าฟ้ากรมหลวงโยธาเทพพระราชธิดาของสมเด็จพระนารายณ์ขึ้นครองบัลลังก์แทน โดยเชื่อกันเจ้าฟ้ากรมหลวงโยธาเทพกับเจ้าพระญาศรีธรรมราช (ปาน) เป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังเรื่องนี้ จึงนำมาสู่การกวาดล้างขุนนางในราชสำนักอย่างรุนแรงในช่วงนั้น
นับเป็นอีกหนึ่งบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ ที่ทุกคนรู้จักกันดี สำหรับ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) หรือ ออกพระวิสุทธิสุนธร ราชทูตของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่เดินทางไปเจริญพระราชไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ท่านเป็นบุตรของเจ้าแม่วัดดุสิต พระนมของสมเด็จพระนารายณ์ และเป็นน้องชายของ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) แม่ทัพคนสำคัญของกรุงศรีอยุธยา
โกษาปานเดินทางไปกับเรือฝรั่งเศสเมื่อธันวาคม พ.ศ. 2228 ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เมื่อ 1 กันยายน พ.ศ. 2229 และเดินทางกลับเมื่อ 27 กันยายน พ.ศ. 2230 รวมเดินทางไปกลับอยุธยาฝรั่งเศสทั้งหมด 1 ปี 9 เดือน
หลังสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ พระเพทราชา เจ้ากรมพระคชบาล ขึ้นครองราชย์ต่อโดยสถาปนาราชวงศ์บ้านพลูหลวงเป็นราชวงศ์ใหม่ โกษาปานได้รับราชการต่อมาในราชวงศ์ใหม่ สำหรับเรื่องราวการเสียชีวิตของโกษาปาน สมาชิกพันทิป ‘ศรีสรรเพชญ์’ ได้ให้ข้อมูลไว้อย่างน่าสนใจ ระบุว่า
เรื่องเจ้าพระญาศรีธรรมราช (ปาน) หรือ โกษาปานถึงแก่อสัญกรรม มีระบุในจดหมายของบาทหลวงกาเบรียล โบรด์ (Gabriel Braud) รองประมุขมิสซังสยาม ส่งถึงบาทหลวงบริซาซิเยร์ (Jacques-Charles de Brisacier) ผู้อำนวยการคณะมิสซังต่างประเทศ กรุงปารีส เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ.1700 (พ.ศ.2243) มีเนื้อหากล่าวถึงการลงอาญาและประหารชีวิตขุนนางที่ส่งไปปราบกบฏที่เมืองนครราชสีมาจำนวนมาก รวมถึงมรณกรรมโกษาปานซึ่งถึงแก่อสัญกรรมไปก่อนหน้าสองเดือนแล้ว (แก้การสะกดคำเป็นแบบปัจจุบัน)
“เจ้าพระยาพระคลังหาได้อยู่ในจำพวกขุนนางที่ถูกประหารชีวิตไม่ เพราะได้ตายเสียก่อนสองเดือนมาแล้ว เขาพูดกันว่าที่ตายนี้ก็เพราะถูกเฆี่ยนตายทั้งเสียใจที่ตัวต้องถูกเฆี่ยนและถูกลงอาญาบ่อยๆ ด้วย เพราะเมื่อ 4 ปีมาแล้วพระเจ้าแผ่นดินทรงกริ้วขึ้นมาก็ได้เอาพระแสงดาบตัดปลายจมูกเจ้าพระยาพระคลัง ตั้งแต่นั้นมาเจ้าพระยาพระคลังก็ต้องรับพระราชอาญาเรื่อยมา เพราะพระเจ้าแผ่นดินไม่ทรงไว้พระทัยเสียแล้ว ก่อนที่เจ้าพระยาพระคลังจะตายนั้นบุตรสาวคนใหญ่คน 1 บุตรชายสองสามคนกับภรรยาน้อยของเจ้าพระยาพระคลังได้ถูกจับไปและถูกชำระ จึงได้เกิดลือกันว่าเจ้าพระยาพระคลังมีความเสียใจนักจึงได้เอามีดแทงชายโครงฆ่าตัวเองตาย
การที่เจ้าพระยาพระคลังตายนี้พระเจ้าแผ่นดินก็ออกตัวได้ดี ได้ทรงแกล้งทำเสียพระทัยว่าเจ้าพระยาพระคลังได้ถึงอสัญกรรมเสียแล้ว จึงได้โทษว่าหมอจีนซึ่งเปนผู้รักษาเจ้าพระยาพระคลังได้เอายาพิษให้เจ้าพระยาพระคลังรับประทานจึงได้พระราชทานรางวัลโดยให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยนหมอคนนั้นและให้เฆี่ยนทั้งหลังและท้องด้วย เวลากลางคืนได้ยกศพเจ้าพระยาพระคลังไปฝังไว้ยังวัดหาได้มีการทำบุญให้ทานอย่างใดไม่และมิได้ทำการศพให้สมกับเกียรติยศ ซึ่งต้องมีการแห่ศพไปไว้ยังโรงทึมและเผาตามธรรมเนียม นี่แหละเปนสิ้นชื่อของอัครราชทูตสยามที่ได้ไปเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศฝรั่งเศส และเปนอัครมหาเสนาบดีของพระเจ้าแผ่นดินสยามองค์ปัจจุบันนี้ด้วย ออกญาพิพัฒน์ผู้ช่วยของเจ้าพระยาพระคลังซึ่งเปนคนอัธยาศัยดีคงทำการให้พระเจ้าแผ่นดินโปรดอยู่เสมอ แต่ออกญาพิพัฒน์ก็พูดอยู่เสมอว่ามิช้ามิเร็วก็คงจะถูกเหมือนอย่างคนทั้งหลายเหมือนกัน”
ถ้าอ้างอิงตามจดหมายนี้ เจ้าพระญาศรีธรรมราช (ปาน) ถึงแก่อสัญกรรมประมาณเดือนมิถุนายน ค.ศ.1700
หลักฐานของบาทหลวงฝรั่งเศสอีกคนคือ จดหมายของบาทหลวงเคเมอเน (Quémener) ถึงบาทหลวงถึง เดอ ตอร์ซี (de Torcey) ลงวันที่ 4 มกราคม ค.ศ.1701 (พ.ศ. 2244) ระบุว่าเจ้าพระญาศรีธรรมราชถูกเฆี่ยนจนตาย แต่ช่วงเวลาไม่ตรงกับจดหมายของบาทหลวงโบรด์ เพราะระบุว่า “เจ้าพระยาพระคลังคนที่เคยไปฝรั่งเศสนั้นได้ถูกเฆี่ยนตายเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีกลายนี้แล้ว” หมายความว่าท่านถึงแก่อสัญกรรมในเดือนพฤจิกายน ค.ศ. 1700
แต่หลักฐานร่วมสมัยของดัตช์กล่าวต่างกันเล็กน้อย ตามรายงานของกิเดโยน ตันต์ (Gideon Tant) หัวหน้าบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ในกรุงศรีอยุทธยาเวลานั้นส่งไปถึงสำนักงานที่เมืองปัตตาเวีย ระบุว่าเจ้าพระญาศรีธรรมราชถูกลงโทษขังไว้ในพระราชวังหลวงจนป่วยหนัก และถึงอสัญกรรมในวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.1699
ตันต์ตั้งสมมติฐานว่ากบฎเมืองนครราชสีมานั้นมีบุคคลในราชสำนักแอบสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง โดยมีจุดประสงค์จะล้มสมเด็จพระเพทราชาลงจากราชสมบัติ แล้วยกเจ้าพระขวัญซึ่งเป็นโอรสของพระองค์กับเจ้าฟ้ากรมหลวงโยธาเทพพระราชธิดาของสมเด็จพระนารายณ์ขึ้นครองบัลลังก์แทน โดยเชื่อกันเจ้าฟ้ากรมหลวงโยธาเทพกับเจ้าพระญาศรีธรรมราช (ปาน) เป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังเรื่องนี้ จึงนำมาสู่การกวาดล้างขุนนางในราชสำนักอย่างรุนแรงในช่วงนั้น