กรมคุมประพฤติ เตรียมใช้กำไล EM กำไลติดตามตัว คดีเมาแล้วขับช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างความปลอดภัย
วันที่ 12 เมษายน 2561 กรมคุมประพฤติ ระบุถึงกรณีที่จะนำเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (Electronic Monitoring) หรือ อีเอ็ม มาไว้ใช้ในขั้นตอนหลังพิจารณาคดีกับผู้ถูกคุมความประพฤติ ตามมาตรา 56 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งศาลกำหนดเป็นเงื่อนไขหนึ่งในการคุมความประพฤติ โดยระยะแรกจะใช้กับคดีเมาแล้วขับและนำร่องที่ศาลแขวงพระนครเหนือ และศาลแขวงดอนเมือง โดยเริ่มตั้งแต่เทศกาลสงกรานต์นี้
ในการใช้อีเอ็มนั้น จะดำเนินการตามที่ศาลกำหนดเป็นเงื่อนไขการคุมประพฤติ
ทั้งนี้จะมีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างสำนักงานศาลยุติธรรมและสำนักงานคุมประพฤติในการติดตามผู้ถูกคุมความประพฤติ
ซึ่งได้ฝึกอบรมพนักงานคุมประพฤติเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
และสามารถดำเนินการตามมาตรการใช้อีเอ็มกับกลุ่มผู้กระทำผิดในคดีขับรถขณะเมาสุราได้ทันที
สำหรับการนำอีเอ็มมาใช้นั้นเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของจำเลยที่ต้องพิพากษาแล้ว โดยเฉพาะกลุ่มผู้กระทำผิดในคดีเมาแล้วขับที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ 200-250 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ โดยศาลอาจใช้ดุลยพินิจสั่งให้รอการลงโทษ และกำหนดเงื่อนไขคุมความประพฤติ เช่น ห้ามออกนอกสถานที่พักอาศัยในยามวิกาล โดยการใช้อีเอ็มกับกลุ่มผู้กระทำผิดที่อยู่ภายใต้การดูแลของกรมคุมประพฤติต่อไป
ภาพและข้อมูลจาก workpointnews
วันที่ 12 เมษายน 2561 กรมคุมประพฤติ ระบุถึงกรณีที่จะนำเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (Electronic Monitoring) หรือ อีเอ็ม มาไว้ใช้ในขั้นตอนหลังพิจารณาคดีกับผู้ถูกคุมความประพฤติ ตามมาตรา 56 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งศาลกำหนดเป็นเงื่อนไขหนึ่งในการคุมความประพฤติ โดยระยะแรกจะใช้กับคดีเมาแล้วขับและนำร่องที่ศาลแขวงพระนครเหนือ และศาลแขวงดอนเมือง โดยเริ่มตั้งแต่เทศกาลสงกรานต์นี้
สำหรับการนำอีเอ็มมาใช้นั้นเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของจำเลยที่ต้องพิพากษาแล้ว โดยเฉพาะกลุ่มผู้กระทำผิดในคดีเมาแล้วขับที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ 200-250 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ โดยศาลอาจใช้ดุลยพินิจสั่งให้รอการลงโทษ และกำหนดเงื่อนไขคุมความประพฤติ เช่น ห้ามออกนอกสถานที่พักอาศัยในยามวิกาล โดยการใช้อีเอ็มกับกลุ่มผู้กระทำผิดที่อยู่ภายใต้การดูแลของกรมคุมประพฤติต่อไป
ภาพและข้อมูลจาก workpointnews