มะยมแดง ผลไม้มากฤทธิ์ พิชิตสารพัดโรคและสรรพคุณอีกมาก

 


มะยมแดง ผลไม้มากฤทธิ์ พิชิตสารพัดโรคและสรรพคุณอีกมาก

มะยมแดง ว่าที่สรรพคุณที่ช่วยในเรื่องของโรคผิวหนังได้เป็นอย่างดี แก้ผดผื่น ช่วยซับน้ำเหลืองให้แห้ง แก้พิษเสมหะ เปลือกมีรสจืดมีสรรพคุณแก้ไข้ทับระดู แก้ผดผื่นคัน ไม่มีรสจืดสามารถนำไปปรุงประกอบทางยาเขียวได้ สรรพคุณดับพิษไข้บำรุงประสาท สามารถนำไปต้มกับใบหมากผู้หมากเมียและใบมะเฟือง นำไปอาบแก้คัน ดอกนำมาต้มแล้วกรองเอาน้ำแก้โรคในตา ส่วนผลนั้นมีรสเปรี้ยว ช่วยในเรื่องของจัดการเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิตและระบายท้องได้เป็นอย่างดี

มะยมแดง”หรือ”มะยมฝรั่ง”(เชอร์รี่สเปน) “surinam cherry” ผลมีสีแดงและรสชาติหวาน ดูผ่านๆเหมือนลูกเชอร์รี่ เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก ไม่มีหนาม ชอบแดดที่สำคัญคือปลูกง่าย ผลทานได้ รสเปรี้ยวจี๊ดจ๊าด เวลาผลออกเต็มต้น

ประโยชน์ สรรพคุณทางยา

1. ราก รสจืด สรรพคุณแก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน ช่วยซับน้ำเหลืองให้แห้ง แก้ประดง ดับพิษเสมหะ

2. เปลือกต้น รสจืด สรรพคุณแก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ และแก้เม็ดผดผื่นคัน

3. ใบ รสจืดมัน ปรุงเป็นส่วนประของยาเขียว สรรพคุณแก้ไข้ ดับพิษไข้ บำรุงประสาท ต้มร่วมกับใบหมากผู้หมากเมียและใบมะเฟืองอาบแก้คัน ไข้หัด เหือด และสุกใส

4. ดอก ดอกสดใช้ต้มกรองเอาน้ำแก้โรคในตา ชำระล้างในตา

5. ผล รสเปรี้ยวสุขุม กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต และระบายท้อง

คติความเชื่อ ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง กล่าวว่ามะยมเป็นต้นไม้ที่ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตก (ประจิม) เพื่อป้องกันความถ่อย ถ้อยความ และผีร้ายมิให้มากล้ำกราย ในบางตำราก็ว่า เป็นต้นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนาม ปลูกแล้วผู้คนจะได้นิยมเหมือนมี นะเมตตามหานิยม

ประโยชน์ ด้านอาหาร

ชาวไทยภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคอีสาน รู้จักรับประทานมะยมเป็นผัก ชาวภาคกลางใช้ยอดอ่อนเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก ส้มตำ และนำมาชุบแป้งทอด รับประทานร่วมกับขนมจีนน้ำยา นอกจากนี้ยอดอ่อนยังนำมาแกงเลียง และผลแก่นำมาแกงคั่วได้ ชาวเหนือใช้ยอดมะยมเป็นผักแกล้มรับประทานกับลาบ ส่วนชาวอีสาน นำยอดอ่อน ใบอ่อน รับประทานกับส้มตำ ลาบ ก้อย ป่น และหมูสับ (แหนมสด) และนำผลแก่ไปปรุงเป็นส้มตำ สำหรับผลมะยมแก่ นอกจากทำแกงได้แล้ว ผลมะยมแก่ยังเป็นผลไม้ โดยรับประทานสดเป็นผลไม้ จิ้มกับเกลือ น้ำปลาหวาน และสามารถปรุงเป็นน้ำมะยม แยมมะยม มะยมดอง มะยมกวน มะยมเชื่อมได้อีกด้วย

ข้อมูลอื่น

คนไทยเชื่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณว่ามะยมแดงเป็นไม้มงคล นิยมปลูกกันไว้ในบริเวณบ้าน ขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเมล็ด

ขอขอบคุณ : monmai