สอนวิธีการเช็คด้วยตัวเองเส้นเลือดอุดตันในสมอง รู้ไว้จะได้หมั่นสังเกตคนใกล้ตัว

 


สอนวิธีการเช็คด้วยตัวเองเส้นเลือดอุดตันในสมอง รู้ไว้จะได้หมั่นสังเกตคนใกล้ตัว

สำหรับใครที่กำลังเสี่ยงในเรื่อง โรคหลอดเลือดสมอง หมายถึงว่าสภาวะที่ขาดเลือดไปเลี้ยงบริเวณสมอง เนื่องจากหลอดเลือดเล็กตีบและอุดตัน ส่งผลให้ชิ้นเนื้อบริเวณสมองนั้นถูกทำลายไป การทำงานของสมองจึงหยุดชะงักลง

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองมีหลายสาเหตุ แบ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันไม่ได้ และปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้มักมีสาเหตุจากสุขภาพโดยรวมและรูปแบบการดำเนินชีวิต

ปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันไม่ได้

– อายุ เมื่ออายุมากขึ้น หลอดเลือดก็จะเสื่อมตามไปด้วย โดยผิวชั้นในของหลอดเลือดจะหนาและแข็งขึ้นจากการที่มีไขมันและหินปูนมาเกาะ รูที่เลือดไหลผ่านจะแคบลงเรื่อยๆ

– เพศ พบว่าเพศชายมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าเพศหญิง

– ภาวะการแข็งตัวของเลือดเร็วกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดการจับตัวกันของเม็ดเลือดและมีลิ่มเลือดเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าคนปกติ

ปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้

– ความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงจึงมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้มากกว่าคนปกติ

– เบาหวาน เป็นสาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดแข็งทั่วร่างกาย หากเกิดที่สมองจะมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าคนปกติ 2-3 เท่า

– ไขมันในเลือดสูง เป็นความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองเช่นเดียวกับโรคหลอดเลือดหัวใจ คือภาวะไขมันสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือด ทำให้กีดขวางการลำเลียงเลือด

– โรคหัวใจ เช่น โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นสาเหตุของการเกิดลิ่มเลือด ถ้าลิ่มเลือดไปอุดตันที่หลอดเลือดสมอง ก็จะทำให้สมองขาดเลือดได้

– การสูบบุหรี่ สารนิโคตินและคาร์บอนมอนอกไซด์ทำให้ปริมาณออกซิเจนลดลง และเป็นตัวทำลายผนังหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดแข็งตัว พบว่าการสูบบุหรี่เพียงอย่างเดียวเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองถึง 3.5%

– ยาคุมกำเนิด ในผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองสูง

– โรคซิฟิลิส เป็นสาเหตุของหลอดเลือดอักเสบและหลอดเลือดแข็ง

– การขาดการออกกำลังกายเส้นเลือด

อาการของโรคหลอดเลือดสมอง

เมื่อสมองขาดเลือดจะทำให้สมองไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ซึ่งอาการแสดงต่างๆ จะมากหรือน้อยขึ้นกับระดับความรุนแรงและตำแหน่งของสมองที่ถูกทำลาย เช่น

– ชาหรืออ่อนแรงที่ใบหน้าและ/หรือบริเวณแขนขาครึ่งซีกของร่างกาย

– พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว มุมปากตก น้ำลายไหล กลืนลำบาก

– ปวดศีรษะ เวียนศีรษะทันทีทันใด

– ตามัว มองเห็นภาพซ้อนหรือเห็นครึ่งซีก หรือตาบอดข้างเดียวทันทีทันใด

– เดินเซ ทรงตัวลำบาก

อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ในรายที่มีภาวะสมองขาดเลือดแบบชั่วคราว (transient ischemic attack: TIA) อาจมีอาการเตือนเหล่านี้เกิดขึ้นชั่วขณะแล้วหายไปเอง หรืออาจเกิดขึ้นได้หลายครั้งก่อนจะมีอาการสมองขาดเลือดแบบถาวร ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ควรรีบพบแพทย์ทันที เนื่องจากอาการของโรคหลอดเลือดสมองจัดเป็นอาการร้ายแรงและอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หรือหากไม่ถึงชีวิต ก็อาจทำให้กลายเป็นโรคอัมพาต อัมพฤกษ์ ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองและต้องใช้เวลาในการรักษาฟื้นฟูสุขภาพต่อไป

วิธีการเช็คเส้นเลือดอุดตันในสมอง อาการบ่งชี้ และการทดสอบ ซึ่งคนที่ยืนอยู่รอบข้างก็สามารถรู้อาการได้ โดยคำถาม 3 ข้อ ดังนี้

– S *Ask the individual to SMILE. คือบอกให้ผู้ป่วย ยิ้ม T *Ask the person to TALK and SPEAK A SIMPLE SENTENCE (Coherently) (i.e.. It is sunny out today.) คือบอกให้ผู้ป่วยพูด โดยอาจจะเป็นประโยคง่ายๆ เช่น วันนี้อากาศดีนะ

– R *Ask him or her to RAISE BOTH ARMS. คือบอกให้ผู้ป่วยยกแขนทั้งสองข้างขึ้น ถ้าผู้ป่วยมีความลำบากในการทำข้อใดข้อหนึ่ง ให้โทร.หาเบอร์ฉุกเฉินทันทีและแจ้งไปว่าผู้ป่วยมีอาการอย่างไร

– Blood Clots/Stroke – They Now Have an Indicator, the Tongue สัญญาณใหม่ของเส้นเลือดสมองอุดตัน

แลบลิ้นออกมาดู คือ ลองให้ผู้ป่วยแลบลิ้นออกมา หากลิ้นมีลักษณะม้วนงอ ตกไปด้านใดด้านหนึ่ง นั่นคือข้อบ่งชี้ว่ามีอาการเส้นเลือดสมองอุดตัน

โรคหลอดเลือดในสมองไม่มีวิธีรักษาที่ดีไปกว่าการป้องกัน และดุแลตัวเอง และลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่จะทำให้เกิดโรคอย่างเช่น สูบบุหรี่ ความเครียด โรคอ้วน ดื่มเหล้าเบียร์มากๆ ขาดการออกกําลังกาย เป็นต้น เพราะฉะนั้นเราต้องป้องกันตั้งแต่อายุยังน้อยและหมั่นตรวจเช็คสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดความเสี่ยง อีกทั้งต้องลดการรับประทานอาหารเค็มหวาน มัน เพิ่มผักผลไม้ นอกจากนี้ ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงหรือป่วยเป็นโรคหลอดเลือดอยู่แล้วก็ควรรับการรักษาและปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดด้วย

ขอขอบคุณ : โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์