📣 มาทำความรู้จัก กับโรคซึมเศร้าแต่ละแบบกัน โรคซึมเศร้า เป็นโรคทางจิตเวชที่มีคนเป็นกันเยอะ แต่ยังรู้จักโรคนี้ไม่มากนัก บางคนเป็นโดยที่ตัวเองไม่รู้ นึกว่าคิดมากไปเอง ทำให้ไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม และทันท่วงที เฮียร์อยากให้ทุกคนสังเกตตัวเอง และคนรอบข้างกันด้วยนะครับ ว่าแต่ซึมเศร้าแต่ละแบบมีอาการแบบไหนกันบ้าง มาดูกันครับ
ทำความรู้จัก อาการซึมเศร้า แต่ละแบบต่างกันอย่างไร ?!
โรคซึมเศร้า เป็นความผิดปกติของสมองที่มีผลกระทบต่อความนึกคิด อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรมและสุขภาพกาย แต่คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าโรคซึมเศร้า เป็นผลมาจากความผิดปกติของจิตใจ สามารถแก้ไขให้หายได้ด้วยตนเอง แต่ในความจริงแล้ว โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่เกิดจากความไม่สมดุลของสารสื่อประสาท 3 ชนิด คือ ซีโรโตนิน นอร์เอปิเนฟริน และโดปามีน ส่งผลให้ร่างกาย พฤติกรรม ความคิด และอารมณ์ เกิดความแปรปรวน นำไปสู่อาการต่าง ๆ โดยมีสาเหตุ
✌️ สาเหตุของอาการซึมเศร้า
🌓 1. สถานการณ์เลวร้ายในชีวิต เช่น โดนทำร้าย ถูกข่มขืน ตกงาน ผิดหวังจากความรักหรือการเรียน สิ่งเหล่าจะทำให้เกิดความผิดหวังและความเศร้า หากไม่ได้รับการเยียวยาหรือรักษา จะนำไปสู่โรคซึมเศร้า 🌓 2. ผลข้างเคียงของการเป็นโรคร้ายหรือการใช้ยาบางชนิด เช่น ภาวะไทรอยด์ทำให้ฮอร์โมนทำงานผิดปกติ โรคลมชัก โรคสมองเสื่อม 🌓 3. พันธุกรรม จากการสำรวจพบว่า หากมีฝาแฝดคนหนึ่งเป็นโรคซึมเศร้า ฝาแฝดอีกคนมีโอกาสเป็นสูงถึง 60 – 80% หากคนในครอบครัวที่เป็นญาติสายตรง (พ่อ แม่ พี่ น้อง) ที่เป็นโรคซึมเศร้า จะมีโอกาสเป็นมากกว่าคนทั่วไปถึง 20% 🌓 4. ผู้สูงอายุ เมื่อเข้าสู่วัยนี้ จะมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าได้ง่าย เนื่องจากอารมณ์และความรู้สึกแปรปรวน หรือความเศร้าจากการใช้ชีวิต เช่น อยู่คนเดียว ไม่มีลูกหลานดูแล โรคซึมเศร้านั้นมีหลากหลายประเภท ทำให้ผู้ป่วยซึมเศร้าแต่ละคนมีความแตกต่างกันออกไป อารมณ์ที่หลายหลายของโรคซึมเศร้า
1. โรคซึมเศร้าแบบเมเจอร์ ดีเพรสชั่น (Major Depression) ✌️
คนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าชนิดนี้ จะมีความผิดปกติที่มีอารมณ์ซึมเศร้านานกว่า 2 สัปดาห์ ผู้ที่ป่วยจะมีอาการเศร้าสลดอย่างมาก จนไม่มีความสนใจในกิจกรรมต่างๆ ที่จะช่วยทำให้กลับมามีความสุขสดชื่นเหมือนเดิม ดังนั้นควรเริ่มรักษาแต่เนิ่นๆ จะช่วยไม่ให้โรคซึมเศร้าแบบนี้มีความรุนแรงขึ้น อีกทั้งยังลดความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายอีกด้วย
2. โรคซึมเศร้าแบบดิสทีเมีย (Dysthymia Depression) ✌️
คนที่เป็นโรคซึมเศร้าชนิดนี้ จะมีอาการรุนแรงน้อยกว่าชนิดแรก แต่เป็นอย่างต่อเนื่องนานกว่า นั่นคือ จะมีอาการอย่างน้อย 2 ปี แต่มักจะนานกว่า 5 ปี อาการไม่รุนแรงถึงขนาดทำอะไรไม่ได้ เนื่องจากผู้ที่ป่วยจะมีอารมณ์ผิดปกติสลับไปด้วย ☔ อาการของซึมเศร้าประเภทนี้ ได้แก่ - รู้สึกไม่อยากอาหารหรือกินมากไป - นอนไม่หลับหรือนอนมากไป - เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย หมดแรง - ขาดความมั่นใจในตัวเอง - ไม่ค่อยมีสมาธิ - การตัดสินใจแย่ลง - รู้สึกหมดหวัง - สลัดความรู้สึกแย่ออกไปไม่ได้ - คนอื่นมองว่าเรามองโลกในแง่ร้ายหรือขี้บ่น
3. โรคซึมเศร้าแบบไบโพลาร์ (Bipolar Disorder) ✌️
คนป็นโรคซึมเศร้าชนิดนี้ บางรายจะมีอารมณ์เซ็ง ซึมเศร้าสลับกับอาการลิงโลด โดยเป็นอารมณ์ที่ต่างกัน หรือ ต่างขั้วกัน โดยซึมเศร้าชนิดนี้จะมีผลต่อการตัดสินใจและมักก่อให้เกิดปัญหา ☔ สำหรับช่วงที่อารมณ์ดีหรือก้าวร้าวผิดปกติ มักอาการ ดังนี้ - รู้สึกว่าตนมีความสำคัญหรือมีความสามารถมาก - นอนน้อยกว่าปกติมาก โดยไม่มีอาการเพลียหรือต้องการนอนเพิ่ม - พูดเร็ว พูดมาก พูดไม่ยอมหยุด - ความคิดแล่นเร็ว มีหลายความคิดเข้ามาในสมอง - สมาธิลดลง เปลี่ยนความสนใจ เปลี่ยนเรื่องพูดหรือทำอย่างรวดเร็ว ตอบสนองต่อสิ่งเร้าง่าย - มีกิจกรรมมากผิดปกติ อาจเป็นแผนการหรือลงมือกระทำจริงๆ แต่มักทำได้ไม่ดี - การตัดสินใจเสีย เช่น ใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือย ทำเรื่องที่เสี่ยงอันตรายหรือผิดกฎหมาย ไม่ยับยั้งชั่งใจในเรื่องเพศ
4. โรคซึมเศร้าก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual Dysphoric Disorder) ✌️
ซึมเศร้าชนิดนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนเพศหญิงในช่วงครึ่งหลังของรอบเดือน โดยเฉพาะในรอบเดือนที่มีการตกไข่ (ในสตรี วัยเจริญพันธุ์จะมีประจำเดือนทุก 28-30 วัน การตกไข่จะเกิดขึ้น 2 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือนครั้งถัดไป และบ่อยครั้งก็มีประจำเดือนได้โดยไม่มีการตกไข่) ซึ่งจะมีการแสดงอาการหลายอย่าง เช่น ซึมเศร้าอย่างมาก อยากฆ่าตัวตาย ร้องไห้บ่อยๆ โมโหร้าย นอนไม่หลับ ไม่มีเรี่ยวแรง ไม่มีสมาธิหรือสมาธิสั้น บวมตามตัว บวม คัดหน้าอกอย่างมากหรือปวดศีรษะอย่างมากเป็นต้น ซึ่งอาการซึมเศร้าก่อนมีประจำเดือนนั้นจะพบเพียง 2-10% จากจำนวนหญิงที่มีประจำเดือนทั้งหมด ☔ อาการของซึมเศร้าประเภทนี้ ได้แก่ - อารมณ์แกว่ง - รู้สึกเศร้า อ่อนไหวง่าย - ขัดแย้งกับคนอื่นง่าย - รู้สึกสิ้นหวัง ดูถูกตนเอง - อาจมีอาการวิตกกังวล เครียด นั่งไม่ติด สมาธิลดลง - รู้สึกล้า อ่อนเพลีย ไม่อยากทำอะไร - ความอยากอาหารเปลี่ยนแปลง - การนอนผิดปกติไปจากเดิม - มีอาการทางร่างกายร่วมด้วย
5. โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล (Seasonal Affective Disorder) ✌️
เป็นโรคทางอารมณ์ชนิดหนึ่งที่มักเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันของแต่ละปีโดยส่วนใหญ่มักเกิดอาการขึ้นในฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่กลางคืนยาวนานกว่ากลางวัน อาจมีอาการต่างๆ ได้แก่ซึมเศร้า เหนื่อยล้าและแยกตัวจากสังคม แม้ว่าอาการต่างๆ มักจะหายไปภายในไม่กี่เดือน แต่ก็อาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความรู้สึกและการทำหน้าที่ต่างๆ ของบุคคล ☔ อาการของซึมเศร้าประเภทนี้ ได้แก่ - รู้สึกหมดหวัง ไร้ค่า หรือมีอารมณ์ซึมเศร้าต่อเนื่องเป็นเวลานาน - หมดความสนใจในสิ่งที่ตนเองเคยสนใจ - อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง หมดความกระตือรือร้นในการทำสิ่งต่าง ๆ - อยากนอนตลอดเวลา หรือมีปัญหาในการนอนหลับ เช่น นอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท เป็นต้น - มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เปลี่ยนไป เช่น รับประทานอาหารมากเกินไป หรืออยากรับประทานอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลมากกว่าปกติ เป็นต้น - ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งใดได้นาน - เก็บตัว ไม่ต้องการออกไปพบปะผู้อื่น - หมกมุ่นกับเรื่องความตาย หรือคิดฆ่าตัวตาย
6. โรคซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum Depression) ✌️
ซึมเศร้าชนิดนี้ เป็นปัญหาสุขภาพจิตที่คุณแม่บางคนอาจต้องเผชิญหลังคลอดบุตร โดยอาจมีอาการซึมเศร้า เสียใจ วิตกกังวล และอ่อนเพลียมากจนไม่สามารถเลี้ยงลูกหรือทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ หากมีอาการเหล่านี้ คุณแม่ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาอย่างเหมาะสม และหากมีอาการรุนแรงอย่างหลอน มีความคิดทำร้ายตัวเองหรือลูกน้อย หรือแม้แต่คิดฆ่าตัวตาย คนรอบข้างควรรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ทันที ☔ อาการของซึมเศร้าประเภทนี้ ได้แก่ - รู้สึกเศร้า เสียใจ หมดหวัง - อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด โกรธง่าย หรืออยู่ไม่สุข - วิตกกังวลมากผิดปกติ - มีปัญหาในการนอนหลับ เช่น นอนหลับมากผิดปกติ นอนไม่หลับ - ร้องไห้มากกว่าปกติ หรือร้องไห้อย่างไม่มีเหตุผล - มีปัญหาเรื่องสมาธิ การจดจำรายละเอียด หรือการตัดสินใจ - หมดความสนใจในสิ่งที่ชอบหรืองานอดิเรก - รับประทานอาหารน้อยลง หรือรับประทานมากขึ้นอย่างผิดปกติ - มีปัญหาสุขภาพโดยไม่พบสาเหตุที่ชัดเจน เช่น ปวดศีรษะบ่อย ปวดกล้ามเนื้อ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินอาหาร - เก็บตัว หรือหลีกเลี่ยงการพบเจอเพื่อนและคนในครอบครัว - มีปัญหาในการสร้างความผูกพันระหว่างแม่ลูก - กังวลไปว่าตนเองไม่มีความสามารถในการดูแลลูกอยู่บ่อย ๆ - มีความคิดทำร้ายร่างกายตัวเองหรือลูกน้อย
7. โรคซึมเศร้าเพราะปรับตัวไม่ทัน (Situational Depression) ✌️
เกิดตามหลังเหตุการณ์ที่ทำร้ายจิตใจ เช่น หย่าร้าง ตกงาน การเสียชีวิตของคนใกล้ชิด ประสบอุบัติเหตุรุนแรง หรือกระทั่งเกษียณอายุ หลังเหตุการณ์ไม่เกิน 90 วันอาจเกิดอาการ เช่น ห่อเหี่ยววุ่นวายใจ รู้สึกเศร้าและสิ้นหวัง นอนไม่หลับ ร้องไห้บ่อยๆ วิตกกังวล เสียสมาธิ แยกตัวจากคนรอบข้างหรือไม่ทำกิจกรรมที่เคยทำตามปกติ บางคนอาจมีความคิดฆ่าตัวตายได้ ☔ อาการของซึมเศร้าประเภทนี้ ได้แก่ - รู้สึกไม่มีกะจิตกะใจจะทำอะไร - ไม่อยากไปโรงเรียน หรือ คนทำงานก็มักจะลาป่วยบ่อยๆ - มีอาการทางร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นอาการ ปวดหัว ปวดท้อง หัวใจเต้นแรง - ร้องไห้บ่อย - รับประทานมากจนเกินไป หรือ รู้สึกไม่อยากอาหาร - ใช้แอลกอฮอล์หรือยาเสพติดเพื่อหลีกหนีหรือลดความเจ็บปวดทางใจที่เกิดขึ้น