Home »
Uncategories »
ข้อคิดจากพ่อค้า หมูปิ้ง รายได้ปีละ200ล้าน มีลูกน้องเกือบ100คน เเต่อยู่บ้านอื้ออาทร
ข้อคิดจากพ่อค้า หมูปิ้ง รายได้ปีละ200ล้าน มีลูกน้องเกือบ100คน เเต่อยู่บ้านอื้ออาทร
อีกหนึ่งบทความที่นับว่าสร้างเเรงบรรดาลใจเป็นอย่างมากในยุคปัจจุบันนี้
ที่ข้าวยากหมากแพง เศรษฐกิจแย่ คนตกงาน หางานทำยาก
ข้างของเครื่องใช้ขึ้นราคา หลายๆ คนก็เริ่มหาอาชีพ
หางานเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้ตนเองเองไว้เลี้ยงดูครอบครัว มีคนพูดไว้ว่า
อาชีพค้าขายนี่แหละรวยที่สุด
วันนี้เราจะพาเพื่อนๆไปทำความรู้จักกับเเนวคิดของพ่อค้าขายหมูปิ้งคนนึงที่มีรายได้เยอะ
แต่เขาก็ยังใช้ชีวิตแบบประหยัด อาศัยอยู่บ้านเล็กๆ บ้านเอื้ออาทร
ที่ได้เห็นแล้วรู้สึกประทับใจ เอามาให้ลองอ่านกัน
เป็นบทความของคุณบรรจง ชีวมงคลกานต์ ได้โพสข้อความไว้ว่า
ผมมีโอกาสได้นั่งดูรายการทีวีที่ไปสัมภาษณ์”เฮียนพ”ชายวัย 49 ปี
ที่เป็นคนขายหมูปิ้งที่รวยที่สุดคนหนึ่งในวงการหมูปิ้งแล้วรู้สึกชื่นชม..
ชายคนนี้เคยเป็นหนุ่มโรงงานที่โดนเลิกจ้างจากพิษเศรษฐกิจ
พอหลังตกงานก็มาเป็นรปภ. ขับแท็กซี่ ตอนหลังแกขอสูตรมาปิ้งขายเองเล็กๆ
ทำไปทำมามีลูกค้ากินแล้วติดใจ เลยสั่งจากแกไปปิ้งขายต่อ กล่องหนึ่งมีหมู
100 ไม้ แกขายราคาไม้ละ 5.50 บาท คนไปปิ้งขายต่อขาย 10 บาท
ปรากฎว่าออเดอร์เริ่มเยอะทำไม่ไหว
แกก็ให้พี่สาวและกลุ่มแม่บ้านที่ให้สูตรแกมาช่วยกันทำหมู
เสียบหมูอยู่แถวเพิงเล็กๆข้างแฟลตนั่นล่ะ
ว่างๆแกก็ถือกล่องหมูเสียบไปตามตลาดต่างๆ เห็นใครขายลูกชิ้นปิ้ง
ใส้กรอกปิ้ง แกก็เชียร์ให้เอาหมูแกไปปิ้งขายด้วย
ที่ผมชื่นชมแกไม่ใช่เรื่องการค้าขาย แต่เป็นเรื่องการบริหารรายได้
เพราะในช่วงแรกๆที่แกได้กำไรจากการส่งหมูปิ้ง
แกก็เอาเงินกำไรไปใส่ตู้ฝากเงินทุกๆวัน
โดยที่ไม่ได้เช็คเลยว่าไอ้ที่หยอดตู้ไปทุกวันรวมๆแล้วมีเท่าไหร่
จนกระทั่งผ่านไปไม่นาน
พื้นที่เพิงเล็กๆข้างแฟลตมันไม่เพียงพอและทางแฟลตไม่ให้ใช้ที่แล้ว
แกก็ไปเห็นว่ามีที่ดินบริเวณนั้นจะขาย แกก็มีความคิดอยากทำโรงงานเสียบหมู
พอไปเช็คเงินดูที่แกสะสมไว้มีประมาณ 4 ล้านบาท
แกก็ตัดสินใจซื้อที่ทำโรงงานท่ามกลางเสียงคัดค้านจากญาติพี่น้อง
แต่แกเชื่อว่ามันจะไปได้ แกบอกว่าช่วงน้ำท่วมปี 54 คนอื่นหยุดหมด
ผมยังทำต่อ ยิ่งทำให้ลูกค้าและแรงงานไหลจากเจ้าอื่นๆมาเข้าทางแกหมด
โรงงานแกก็ทำให้ได้มาตรฐาน ได้รับการรับจากสาธารณสุข
ก็ทำให้มีออเดอร์มากขึ้นเรื่อยๆจากทุกสารทิศ
พอเข้าปี 2553 แกขายได้วันละราว 1 หมื่นไม้..!! ทุกวันนี้ปี 2558
ยอดขายหมูปิ้งสัปดาห์ละ 8 แสนไม้ เดือนละ 3 ล้านไม้!! ยอดขายต่อปี 200
ล้านบาท !! มีลูกน้องเกือบ 100 คนทำงาน…
พิธีกรถามว่าทุกวันนี้จากที่ไม่มีบ้านนอน ต้องผูกเปลนอนในเพิง
ตอนนี้คงซื้อบ้านเป็นของตัวเองแล้วใช่มั้ย?
“แกบอกว่าทุกวันนี้ผมไม่ได้มีบ้านหลังโตแบบคนอื่นครับ
บ้านที่ผมยังอาศัยอยู่ก็หลังเล็กๆในโครงการบ้านเอื้ออาทร..!!”
สิ่งที่ผม(ผู้เขียน)ได้จากชายคนนี้คือ..
ไม่ว่ารายได้แกจะเพิ่มจากอดีตมากแค่ไหน แต่แกยังใช้ชีวิตแบบสมถะ ไม่โอเวอร์
ไม่ลอยลมไปกับรายได้ที่มี เก็บเงินมากกว่าใช้เงิน
และใช้เงินเพื่อการต่อยอด นั่นเพราะวันหนึ่งแกเคย”ไม่มี”
แกถึงรู้รสชาติของความจน และใช้ชีวิตแบบไม่ประมาททางการเงิน
ขณะที่สังคมคนทำงานยุคนี้ หลายคนใช้ชีวิตอย่างประมาท
รีบสร้างหนี้สร้างสินเกินตัว บางคนรายได้ต่อเดือน 100% หมดไปกับการผ่อนรถ
ผ่อนบ้านถึง 70-80% เหลืออีก 20-30%
ไว้กินไว้ใช้แทบไม่พอแต่ละเดือนอย่าว่าแต่เหลือเก็บ
บางคนมีรายได้ทางเดียวพอถูกเลิกจ้างก็ไม่มีเงินเผื่อชีวิตไว้
ทำให้ตกที่นั่งลำบาก
ปิ้งขายข้างทาง รวยยาก
จำนวนการผลิตเฉลี่ย 100,000 ไม้ หรือ 4,000-5,000 กิโลกรัมต่อวัน ถูกกระจายออกไปสู่ลูกค้า 4 กลุ่มได้แก่
– พ่อค้า-แม่ค้าทั่วไป
เจ้าพ่อหมูปิ้งบอกว่า
โอกาสค้าขายจนร่ำรวยในระดับนักธุรกิจนั้นยากแต่อาจมีฐานะดีขึ้น
เนื่องจากถูกจำกัดด้วยระยะเวลาในการผลิตและพื้นที่ในการขาย
“เก่งให้ตายยังไงก็ขายได้ไม่ถึง 2,000 ไม้ สมมุติคุณขายดีมาก คนรุมเลย
ถามว่าระหว่างที่มีคนรุมคนต่อคิว ก็ต้องมีคนเดินออกเหมือนกัน
เพราะขี้เกียจรอ และถามว่าอร่อยแล้ว คุณขายหน้าปากซอย คนอยู่สุราษฎร์ฯ นครฯ
หาดใหญ่ เขารู้จัก แต่จะกินได้ไหม ไม่ได้เพราะเข้าไม่ถึง”
ขณะที่กำไรในขายนั้นขึ้นอยู่กับต้นทุนของวัตถุดิบตั้งแต่ ซอส ซีอิ๊ว
น้ำตาล ผงปรุงรส นมสด รวมถึงถ่าน ซึ่งมีหลากหลายคุณภาพ
นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับ
เทคนิคการจัดการเรื่องปริมาณ
สำหรับหมูปิ้งของเฮียนพแบ่งออกเป็น 4 ราคาได้แก่ หมูนักเรียนขายส่งไม้ละ
3.50 บาท ไปปิ้งขาย 5 บาท หมูเล็กไม้ละ 4.90 บาท ขาย 8 หรือ 10 บาท
แล้วแต่สถานที่ หมูกลางไม้ละ 5.70 บาท และหมูใหญ่ 6.20 บาท
ทั้งหมดสูตรเดียวกัน โดยส่วนใหญ่กว่า 50
เปอร์เซนต์ในตลาดนั้นเลือกขายในราคา 10 บาท
– ตัวแทนจำหน่าย
“ตัวแทนจำหน่าย” มีโอกาสและช่องทางกระจายสินค้ามากกว่าในกลุ่มแรก
นอกจากนั้นยังได้เปรียบในเรื่องราคาที่รับมาต่ำและสามารถกำหนดราคาได้หลากหลายกว่า
โดยเฮียนพมีรถห้องเย็นวิ่งไปส่งตัวแทนจำหน่ายที่จะนำสินค้าไปสต็อกไว้ตามแต่ละอำเภอ
“แม่ค้าปิ้งให้ตายทั้งวันไม่เกิน 2,000 ไม้
ขณะที่กลุ่มตัวแทนมีโอกาสขายได้เป็นหมื่นๆ”
เฮียนพบอกถึงข้อดีก่อนเผยถึงข้อเสียทันทีว่า
“แต่ไม่ประสบความสำเร็จทุกคนหรอก รวยก็มีเจ๊งก็มี
จุดอ่อนคือตัวแทนหลายคนไม่เคยเห็นเงิน บริหารไม่ได้ หมุนไม่เป็น
เอาไปซื้อรถ ซื้อของหมด สุดท้ายมาติดค่าหมูโรงงาน ไม่มีเงินเคลียร์
พูดง่ายๆ ลืมตัว พวกที่จะรวยคือรู้จักบริหาร มีวินัย
เก็บข้อมูลลูกค้าและรับฟังปัญหาไปปรับปรุง”
– สร้างแบรนด์
ผลิตภัณฑ์ของเฮียนพเปิดโอกาสให้ผู้สนใจนำไปติดตราและโปรโมทเป็นสินค้าของตัวเองได้
ปัจจุบันมีกลุ่มลูกค้าประเภทนี้จำนวนมาก เกือบทุกจังหวัดในประเทศไทย
“พวกนี้มีโอกาสรวยมาก ไม่เหนื่อยผลิตสินค้าแต่ต้องเพียรพยายาม
เพราะสินค้าไม่ได้ขายด้วยตัวมันเอง เป็นแค่ 50 เปอร์เซนต์อีกครึ่งหนึ่ง
ต้องมีความพยายาม ตั้งใจและมีวิธีทำตลาดที่สร้างสรรค์ให้ผู้บริโภคสนใจ”
– โมเดิร์นเทรด–ห้างสรรพสินค้า
ปัจจุบันกลุ่มโมเดิร์นเทรดและห้างสรรพสินค้า
กลายเป็นลูกค้ารายใหญ่ของเฮียนพ
ซึ่งมีข้อดีเรื่องความแน่นอนในการชำระเงินและปริมาณการสั่งซื้อจำนวนมาก
“ปริมาณการสั่งซื้อก้อนใหญ่เพราะเขามีเป็นร้อยสาขา จ่ายเงินตรงเวลา
ทุกวันนี้คนต่างจังหวัดแห่ไปซื้อจากห้างและนำไปขายต่อสร้างอาชีพกันแล้ว
เพราะราคาไม่แตกต่างกันมากแถมบางช่วงยังมีโปรโมชั่นด้วย”
แหล่งที่มา : kaijeaw.com