กรมสรรพากรเริ่มแล้ว ตรวจเงินเข้าบัญชี เงินเข้า 3,000 ครั้งขึ้นไป ถูกส่งข้อมูลแน่นนอน

สรรพากร เริ่มแล้ว ตรวจรายการเงินเข้าบัญชีบุคคล 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป หรือมียอดฝากหรือโอนเงินทุกบัญชีตั้งแต่ 400 ครั้งต่อปี และยอดรวม 2 ล้านบาทขึ้นไป กฎหมายประกาศ 21 มี.ค. 62 ส่งข้อมูล 31 มี.ค. 63

สำหรับวันนี้เป็นเรื่องยอดฮิตอย่าง ธนาคารส่งข้อมูลบัญชีเราให้กับสรรพากร จนหลายคนเข้าใจผิดลามไปถึงเรื่องการขายของออนไลน์ กระจายบัญชีกันไปหมดครับผม แต่ความจริงแล้วต้องดูให้ชัดก่อนว่าหลักการของร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นแบบไหนยังไง

1 ธนาคารจะต้องส่งข้อมูลให้กับกรมสรรพากร “จริง”

2 แต่การส่งข้อมูลให้กับทางกรมสรรพากรนั้น ต้องเข้าเงื่อนไขต่อไปนี้

มียอดรับโอน ตั้งแต่ 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป

มียอดรับโอน ตั้งแต่ 400 ครั้งต่อปีและยอดรวม 2 ล้านบาทขึ้นไป

จำนวนยอดรับโอนหมายถึง ยอดเงินเข้าบัญชีทั้งหมด นับเป็นรายปี และนับเป็นรายธนาคารหรือรายสถาบันการเงิน (ทุกบัญชีในธนาคารนั้นๆรวมกัน) ครับ

เน้นว่า!! ไม่ได้แค่คนขายของออนไลน์ แต่ถ้าใครมีธุรกรรมตามนี้ก็จะถูกส่งข้อมูลทั้งหมด ถ้าหากเข้าตามเงื่อนไขที่กฎหมายฉบับนี้กำหนด

คนแบบไหนนะ จะถูกส่งข้อมูลให้สรรพากร
พรี่หนอม จาก เพจ TaxBugnoms สรุปให้อีกที เพราะมีคำถามเยอะมาก

อ่านสามบรรทัดนี้ก่อนนะ

1 ข้อมูลต่อปี ดูเป็นรายธนาคาร ไม่ได้รวมทุกธนาคาร

2 ถ้าไม่เข้าทั้ง 2 เงื่อนไข 400 ครั้งและ 2 ล้าน ไม่ถูกส่ง

3 ถ้าถึง 3,000 ครั้งเมื่อไร ถูกส่งทันที

อ่านแล้วยังสงสัย ดูตัวอย่างตามรูปได้เลย มีแค่นี้แหละ อย่าคิดเยอะครับ เดี๋ยวเครียด

ยกตัวอย่างเช่น นาย A มียอดเงินเข้าทุกบัญชีในธนาคาร ABC จำนวน 200 ครั้ง ยอดเงินรวมทั้งหมด 10 ล้านบาท แบบนี้ถือว่าไม่เข้าเงื่อนไขที่จะถูกส่ง เพราะเกินแค่จำนวนเงิน แต่ไม่เกินจำนวนครั้ง

แต่ถ้านาย B มียอดเงินเข้าทุกบัญชีในธนาคาร ABC จำนวน 400 ครั้ง ยอดเงินรวมทั้งหมด 10 ล้านบาท แบบนี้จะถูกส่ง เพราะว่าเข้าทั้ง 2 เงื่อนไข ธนาคารส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรได้เลยจ้า

หรือถ้านาย C มียอดเงินเข้าทุกบัญชีในธนาคาร CDE จำนวน 5,000 ครั้ง อันนี้ไม่ต้องดูจำนวนเงินเลย เพราะว่ามันเข้าเงื่อนไข 3,000 ครั้งไปแล้ว แบบนี้ครับผม

ดังนั้นเช็คให้ดีก่อนว่า เราเป็นแบบไหน? และเรามีบัญชีไว้ทั้งหมดกี่ธนาคาร แต่ละธนาคารเข้าเงื่อนไขไหม? เพราะบางทีเราก็อาจจะไม่ได้เข้าเงื่อนไขที่จะถูกส่งก็ได้ครับ

หลักการที่สำคัญอีกข้อคือ ธนาคารส่งข้อมูลเราเฉยๆนะ ไม่ได้แปลว่าต้องเสียภาษี เพราะข้อมูลที่ส่งมีแค่ ชื่อ นามสกุล เลขบัตรประจำตัวประชาชน จำนวนครั้ง และจำนวนเงิน ให้กับสรรพากรเท่านั้น ซึ่งสรรพากรก็จะเอาไปวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกันกับข้อมูลอื่นๆอีกทีหนึ่ง

ขอสรุปอีกที…

1 มีรายได้ ต้องเสียภาษี เป็นหน้าที่ของคนทุกคน

2 กฎหมายฉบับนี้ไม่ได้เกี่ยวกับการเสียภาษีเพิ่ม

3 ถ้าไม่ได้ถูกส่่งข้อมูล ก็ไม่ได้แปลว่าจะไม่ถูกตรวจสอบภาษี มันคนละเรื่องกันนะ

หลายคนเข้าใจผิดว่าเราต้องใส่ใจเรื่องกฎหมายตัวนี้เพื่อให้ปลอดภัย แต่สิ่งสำคัญจริงคือ เราต้องใส่ใจหาความรุ้เรื่องวิธีการคำนวณภาษี การจัดการการเงินต่างๆ เพื่อจัดการให้ถูกต้องต่างหากครับผม

สุดท้ายขอฝากไว้ใ้ห้คิดกัน …

เลี่ยงภาษีวันนี้ อาจมีความสุขวันนี้ แต่ถ้าเลี่ยงภาษีแล้วติดคุก เราก็มีความสุขในคุกได้เหมือนกัน เพราะความสุขอยู่กับเราได้ทุกที่ครับผม

ขอบคุณข้อมูลจาก aommoney, dharmniti และ TaxBugnoms