Home »
Uncategories »
แจกสูตร ขั้นตอนการทำสาโท ทำง่ายไม่ยากอย่างที่คิด
แจกสูตร ขั้นตอนการทำสาโท ทำง่ายไม่ยากอย่างที่คิด
แจกสูตร ขั้นตอนการทำสาโท ทำง่ายไม่ยากอย่างที่คิด
สาโทคืออะไร?
เป็นกรรมวิธีที่แปรรูปข้าวเหนียวนึ่งนำมาล้างเมือกข้าวออกให้หมดแล้วปล่อยให้แห้ง
จากนั้นทำการ คลุกเคล้าด้วยหัวเชื้อแห้งที่เรียกว่าลูกแป้ง
ทำให้สามารถอยู่ได้นานขึ้น เก็บรักษาได้เป็นปี โดยไม่ใส่สารกันเสีย แถมยัง
ราคาถูกกว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อื่นๆ เมื่อเสร็จขั้นตอนการผลิต กาก ของ
ข้าวเหนียว สามารถ นำไปทำเป็น ปุ๋ยหรืออาหารสัตว์ ได้อีกด้วย
วัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
ข้าวเหนียวขาวหรือดำ 2-4 ลิตร
ลูกแป้ง 1-2 ก้อน (1 ก้อน/ข้าว 2 ลิตร)
ที่นึ่งไม้ไผ่ (ฮวด) หรืออลูมิเนียม
ผ้าขาวบาง
ชามผสม
น้ำอุ่นหรือน้ำที่ผ่านการต้มแล้ว
ภาชนะหมัก อาทิ ไห หม้อดินเผา ถังน้ำชนิดมีฝาปิด
ขั้นตอนการเตรียมข้าว
นำข้าวสารมาแช่น้ำนาน 6-12 ชั่วโมง หลังจากนั้น
ให้ทำการล้างเมล็ดข้าวด้วยน้ำสะอาด 2-3 รอบ
จนน้ำไม่มีสีขุ่นขาวหรือมองเห็นเมล็ดข้าวที่แช่ในน้ำได้
เมื่อล้างข้าวจนสะอาดเรียบร้อยแล้วให้นำข้าวลงนึ่ง
ขั้นตอนการเตรียมผงลูกแป้ง
นำลูกแป้งมาบดให้ละเอียดในผ้าขาวบางหรือตำใส่ครก ระวังให้ลูกแป้งกลายเป็นผงละเอียดให้ทั่ว
ขั้นตอนการคลุกผงลูกแป้งกับข้าวนึ่ง
นำข้าวเหนียวที่นึ่งเตรียมไว้มาใส่ชามพร้อมโรยด้วยผงลูกแป้งตามลงไป
แล้วใช้มือคลุกให้เข้ากัน โดยขณะคลุกให้เทน้ำอุ่นหรือน้ำที่ผ่านการต้มแล้ว 2
ถ้วย หรือประมาณครึ่งลิตร
ขั้นตอนการหมัก
หลังจากที่คลุกผงลูกแป้งกับข้าวนึ่งแล้ว ให้นำข้าวเทใส่ภาชนะที่เตรียมไว้ ก่อนจะปิดปากภาชนะด้วยผ้ายางแล้วรัดให้แน่นพอประมาณ
ส่วนภาชนะที่มีฝาปิด ให้ปิดหลวมไว้ สำหรับระบายแก๊สที่เกิดด้านใน แล้วนำไปตั้งทิ้งไว้ในที่ร่มนานประมาณ 5 วัน
ขั้นตอนการเติมน้ำหรือผ่าน้ำ
เมื่อหมักจนถึงวันที่ 5 หากรองชิมน้ำดูจะพบว่าน้ำเริ่มมีความหวานมากขึ้น ซึ่งน้ำนั้นจะเริ่มหวานมาตั้งแต่วันที่ 3 ของการหมัก
เมื่อถึงกำหนด วันที่ 5-7 ของการหมัก ให้เปิดฝาหรือผ้าปิดออก
พร้อมนำน้ำที่ต้มและตั้งให้อุ่นเล็กน้อยหรือเย็นแล้วประมาณ 0.8 ลิตร หรือ 2
ถ้วยครึ่ง เทใส่ภาชนะหมัก ระมันระวังในรินใส่เบาๆ
เพื่อไม่ให้ก้อนข้าวแตกแล้วปิดฝา และหมักทิ้งไว้อีก 2-5 อาทิตย์ ตามต้องการ
แต่ทั่วไปจะหมักนานไม่เกิน 1 เดือน
ขั้นตอนการแยกน้ำสาโทออกดื่ม
การนำน้ำสาโทออกมาดื่มสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
1.การกรองด้วยผ้าขาว
2.การใช้หลอดดูด
3.การใช้แก้วหรือขันตัก
4.การตักก้อนข้าวสาโทออก
เคล็ด(ไม่)ลับ
การหมักสาโทนั้น ต้องการตรวจคุณภาพ(ผู้ทำหน้าที่ชิมสาโท) ถึงรสชาติว่าคงเดิมหรือไม่
ขอบคุณข้อมูล : เพจแนวทางเกษตรเกร็ดความรู้