วิธีคิดค่าไฟ เมื่อสงสัยว่าทำไมแพงขึ้น และวิธีการในการลดค่าไฟฟ้าอย่างไร?

ช่วงนี้หลายคนออกมาบ่นเรื่องของค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น เพราะอากาศบ้านเราร้อนอบอ้าว ซึ่งค่าไฟที่แพงขึ้นนั้นมีวิธีคิดอย่างไร วันนี้เรามีวิธีคำนวณมาฝากกัน โดยทางเพจ Mavell Corporation ได้ออกมาโพสต์ไว้ว่า 

ช่วงนี้เลื่อนหน้าฟีดเฟสบุคมักจะเห็นหลายคนพูดถึงค่าไฟที่แพงขึ้น

ดังนั้น เราจึงควรทราบวิธีการคำนวณค่าใช้จ่ายว่า ที่ผ่านมานั้นใช้ไฟฟ้าไปกี่หน่วย จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเงินเท่าไร และมีวิธีการในการลดค่าไฟฟ้าอย่างไร

#วิธีคิดค่าไฟแบบง่ายๆ

ก่อนอื่นเราต้องทราบก่อนว่าอัตราค่าไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นใช้ไฟมากน้อยเพียงใด โดยจะต้องสังเกตว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละเครื่องมีกำลังไฟฟ้าที่มีหน่วยเป็นวัตต์เท่าไร ยิ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีจำนวนวัตต์มาก ก็หมายความว่าจะใช้ไฟฟ้ามากขึ้นไปด้วย

ดังนั้นก่อนที่จะทำการคำนวนค่าใช้ไฟฟ้า จะต้องสำรวจว่าภายในที่อยู่อาศัยนั้นมีเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทไหนบ้าง และเปิดใช้งานประมาณเดือนละกี่ชั่วโมง จากนั้นนำมาคำนวณค่าใช้ไฟฟ้าด้วยสูตรดังต่อไปนี้

กำลังไฟฟ้า (วัตต์ ) x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า ÷ 1000 x จำนวนชั่วโมงที่ใช้ใน 1 วัน = จำนวนหน่วยต่อวัน (ยูนิต)

ยกตัวอย่างการ คำนวณค่าไฟฟ้าของบ้านณเดช ซึ่งมีเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่

#1 หลอดไฟขนาด 50 วัตต์จำนวน 10 ดวงเปิดใช้งานวันละประมาณ 6 ชั่วโมง

#วิธีคำนวณ 

กำลังไฟฟ้า (วัตต์) ของหลอดไฟ คือ 50 วัตต์ x มีจำนวนทั้งหมด 10 ดวง ÷ 1000 x 6 ชม. = 3 หน่วย/วัน (เดือนละ 90 หน่วย)

#2 ตู้เย็นขนาด 125 วัตต์หนึ่งตู้เปิดใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง

#วิธีคำนวณ

กำลังไฟฟ้า (วัตต์) คือ 125 วัตต์ x มีจำนวนทั้งหมด 1 ตู้ ÷ 1000 x 24 ชม. = 3 หน่วย/วัน (เดือนละ 90 หน่วย)

#3 แอร์ขนาด 2000 วัตต์จำนวน 2 เครื่องเปิดใช้งานวันละ 6 ชั่วโมง

#วิธีคำนวณ

กำลังไฟฟ้า (วัตต์) คือ 2000 วัตต์ x มีจำนวนทั้งหมด 2 เครื่อง ÷ 1000 x 6 ชม. = 24 หน่วย/วัน (เดือนละ 720 หน่วย)

#สรุปได้ว่าบ้านณเดช จะใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 90+90+720=900 หน่วยต่อเดือน

ทั้งหมดที่เล่ามายังเป็นเพียงส่วนการหาจำนวนการใช้ไฟต่อเดือนนะครับ

ต่อไปเราจะมาถึงขั้นตอนที่จะรู้ค่าไฟฟ้าที่เราจะต้องจ่ายกันแล้ว

#วิธีการคำนวณค่าไฟฟ้า

บ้านน้องมาเวล นั้นใช้ค่าไฟฟ้าไปประมาณ 900 หน่วยต่อเดือน ดังนั้นจะสามารถคำนวณค่าไฟฟ้า ที่อ้างอิงจาก การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ได้ดังนี้

150 หน่วยแรก หน่วยละ 3.2484 บาท เป็นเงิน 150 x 3.2484 = 487.26 บาท

250 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 151-400) หน่วยละ 4.2218 บาท = 250 x 4.2218 บาท รวมทั้งสิ้น 1,055.45 บาท

ส่วนที่เกินกว่า 400 หน่วย หน่วยละ 5.527125 บาท = [(900 - 400) x 5.527125 บาท] = 2,210.85 บาท

รวมเป็นเงิน (487.26 + 1,055.45 + 2,210.85) = 3,753.56 บาท

โดยทั้งหมดนี้ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ค่าบริการ ค่าไฟฟ้าผันแปร(Ft) รวมถึงราคาค่าไฟฟ้าต่อหน่วยอาจมีเปลี่ยนแปลงได้

หากต้องการทราบค่าไฟฟ้าที่แม่นยำ สามารถตรวจสอบค่าใช้ไฟฟ้าได้ที่ http://www.mea.or.th/aboutelectric/116/280/form/11 นะครับ 

      สำหรับบ้านไหนที่สงสัยว่าทำไมค่าไฟถึงแพงขึ้นก็ลองนำวิธีนี้ไปคำนวนกันดูได้นะคะ 

ขอขอบคุณที่มาจาก : Mavell Corporation