7 สมุนไพรกำจัดเห็บ ให้สิ้นซาก สามารถทำได้ง่ายๆด้วยตัวเอง

7 สมุนไพรกำจัดเห็บ ให้สิ้นซาก สามารถทำได้ง่ายๆด้วยตัวเอง

หลายคนที่เลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะสุนัขและแมว คงพอเข้าใจถึงปัญหาเจ้าเห็บหมัด มารบกวน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุนัขมักจะมีหมัดขึ้นเป็นจำนวนมาก บางทีจะไต่บริเวณผนังบ้านของเรา เดินเต็มไปหมด เห็นแล้วก็อดใจขยี้ไม่ไหว

วันนี้เราเลยขอนำเสนอวิธีการจัดการพวกเจ้าเห็บหมัด สัตว์ตัวเล็ก ที่มักจะมาสูบโลหิตสัตว์เลี้ยงของเรา และนอกจากนี้เป็นเหตุทำให้สุนัขและคนในบ้านป่วย เราจึงต้องหาทางกำจัดเจ้าตัวพวกนี้ออกไป

จากผลงานวิจัยในเรื่องของการพัฒนาสมุนไพร เพื่อใช้ภายนอกทางสัตวแพทย์ ทางคณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ค้นพบว่าพืชบ้านเรา 16 ชนิด มีส่วนช่วยในเรื่องของการกำจัดเห็บหมัดได้ และพบวิธีสกัดแบบง่ายๆ ที่เกษตรกรหรือผู้เลี้ยงสัตว์สามารถทำเองได้เลย โดยมีวิธีขั้นตอนทำดังนี้

เม็ดน้อยหน่า

อย่างแรกให้เรานำเม็ดน้อยหน่ามาบดให้เป็นผง หลังจากนั้นทำการแช่ด้วยน้ำแอลกอฮอล์ประมาณ 1 ใน 10 ส่วน โดยใช้แอลกอฮอล์ 10% ใส่แค่พอท่วมผงเมล็ดน้อยหน่า

หลังจากนั้นทำการแช่ทิ้งไว้ 1 คืน พอเช้าวันถัดมาค่อยคัดกรองเก็บส่วนน้ำ แล้วใช้ 10% แอลกอฮอล์หรือน้ำที่เหลือเทผสมกับเม็ดน้อยหน่าอีก 2 ครั้ง ด้วยปริมาณเท่าเดิม จากนั้นก็กรองส่วนน้ำมันรวมกันให้เป็นสูตรเข้มข้น

เก็บไว้ฉีดพ่นบริเวณตัวสัตว์ได้ ควรพ่นสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ทำติดต่อกันอย่างน้อย 4 สัปดาห์

วิธีการนี้จะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด พวกตัวอ่อนจะไม่สามารถอยู่บนตัวน้องหมาได้ และก็จะจากไปในที่สุด

เมล็ดมันแกว

บดเมล็ดมันแกวให้เป็นผง แล้วทำการเติมน้ำเป็น 2 เท่าของน้ำหนักเมล็ดมันแกว หลังจากนั้นนำไปต้มประมาณ 15 ถึง 20 นาทีด้วยไฟปานกลาง

ขนาดต้มคอยเติมน้ำให้เท่ากัน อย่าให้น้ำแห้ง หลังจากนั้นปล่อยให้เย็นแล้วนำมากรองนำสวนน้ำมาเก็บไว้ในตู้เย็นประมาณ 1 อาทิตย์ เมื่อครบ 1 อาทิตย์แล้วจึงนำมาผสมกับน้ำในปริมาณ 1 ต่อ 20 แล้วฉีดพ่นบริเวณมุมบ้านก็ได้

หรือจะฉีดพ่นบริเวณสุนัขก็ได้ ควรทำสัปดาห์ละประมาณ 2 ครั้ง หรือจะสามารถผสมกับน้ำ 5 เท่า เพื่อเพิ่มความเข้มข้นก็ได้

น้ำมันตะไคร้แกง

โดยการกลั่นใบตะไคร้แกงด้วยไอน้ำ ด้วยชุดกลั่นสำหรับเกษตรกร ใบตะไคร้แกงสด 10 กิโลกรัม กลั่นน้ำมันได้ 40 ซีซี ผสมด้วยแอลกอฮอล์ (95%) 16 เท่า ใช้ฉีดเห็บตัวอ่อนบนตัวโคและสุนัข ถ้าต้องการพ่นเห็บตัวแก่ไม่ให้ออกไข่ด้วย ให้ผสมน้ำมันตะไคร้แกงด้วยแอลกอฮอล์ได้เพียง 4 เท่า ฉีดพ่นบนตัวโคและสุนัขสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ห้ามพ่นเข้าตาสัตว์ เนื่องจากผสมกับแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์จะทำให้แสบตา หากถูกตาสัตว์จะทำให้กระจกตาขุ่นและเป็นแผลได้ทางที่ดีให้พ่นตาม ซอกมุม หลุม ของพื้นบริเวณที่สัตว์นอนหลับ ซึ่งเห็บโคจะปล่อยตัวลงพื้น 1 ครั้ง เพื่อวางไข่ที่พื้น ส่วนเห็บสุนัข แมว จะปล่อยตัวลงพื้นในขณะสุนัข แมว นอนหลับ เพื่อลอกคราบ 2 ครั้ง (เห็บตัวอ่อนดูดกินโลหิตอยู่บนตัวสุนัข 4-5 วัน จะปล่อยตัวลงพื้น คลานหาซอกมุม หลุม ที่ปลอดภัย เพื่อลอกคราบเป็นตัวกลางวัย แล้วขึ้นตัวสุนัขใหม่ดูดกินโลหิตอีก 4-5 วัน แล้วปล่อยตัวลงพื้นเพื่อลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยขึ้นสุนัข ดูดโลหิตและผสมพันธุ์กันแล้วปล่อยตัวลงพื้นอีก 1 ครั้ง เพื่อวางไข่ ประมาณ 2,000 ฟอง ต่อตัว หลังจากนั้น 3 สัปดาห์ ไข่เห็บจะฟักออกมาเป็นตัวเห็บอ่อน คลานขึ้นสุนัขตัวใหม่

น้ำมันตะไคร้หอม

ใช้ชุดเครื่องกลั่นด้วยไอน้ำสำหรับเกษตรกร ได้น้ำมัน 70 ซีซี จากใบตะไคร้หอมสด 10 กิโลกรัม นำน้ำมันตะไคร้หอมที่กลั่นได้มาผสมด้วยแอลกอฮอล์ (95%) 12 เท่า ใช้ฉีดเห็บตัวอ่อนบนตัวโคและสุนัข แมว ถ้าต้องการพ่นเห็บตัวแก่ ให้ผสมน้ำมันตะไคร้หอมด้วยแอลกอฮอล์ได้เพียง 3 เท่า ฉีดพ่นตามซอกมุม หลุม ของพื้นบริเวณที่สัตว์นอนหลับ สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ถ้าจะพ่นที่ตัวสัตว์ต้องห้ามพ่นเข้าตา เนื่องจากผสมกับแอลกอฮอล์ เช่นเดียวกัน

เปลือกส้มโอ

บีบน้ำมันจากเปลือกผลส้มโอลูกเล็กๆ ที่เกษตรกรเด็ดทิ้ง ในกรณีที่ติดผลอ่อนมากเกินไป หรือบีบน้ำมันจากเปลือกผลส้มที่ซื้อมารับประทาน โดยบีบให้น้ำมันพุ่งใส่ขวดปากกว้าง แล้วดูดเก็บเฉพาะน้ำมันซึ่งลอยอยู่บนส่วนที่เป็นน้ำ นำมาผสมด้วยแอลกอฮอล์ (95%) 10 เท่า ของปริมาตรน้ำมัน ใช้ฉีดพ่นเห็บโค หรือสุนัข แมว ได้ทั้งตัวอ่อนและตัวแก่ ถ้ามีเปลือกผลส้มจำนวนมาก ใช้วิธีการบีบเห็บด้วยไฮโดรลิกหรือโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ

มะขามเปียก

เป็นสารสกัดจากพืชที่มีฤทธิ์อ่อนที่สุดใน 6 ชนิดนี้ สกัดด้วยการแช่มะขามเปียกในน้ำ หรือใน 10% แอลกอฮอล์ โดยใช้น้ำหรือ 10% แอลกอฮอล์ในปริมาตร 5 เท่า ของน้ำหนักมะขามเปียก แช่ค้าง 1 คืน แล้วเทเฉพาะสารละลายมาใส่ขวดฉีดพ่นเห็บตัวแก่ ตัวเห็บจะถูกสารสกัดจากน้ำมะขามเปียกกัดเป็นแผล การใช้ 10% แอลกอฮอล์แช่สกัดจะทำให้สารละลายที่สกัดได้ไม่มีเชื้อราขึ้นด้วย

ใบน้อยหนา

ใช้ใบน้อยหน้าสดประมาณ 4 ใบนำมาตำผสมกับเหล้าขาว แล้วเอาน้ำที่ได้มาชโลมให้ทั่วตัวสัตว์เลี้ยง แล้วใช้ผ้าคลุมไว้ประมาณ 10 นาที (อัตราส่วน 1:2) แล้วกรองเอาแต่น้ำมาชโลมให้ทั่วตัวสัตว์เลี้ยง แล้วใช้ผาโพกไว้ประมาณ 1-2 ชั่วโมง และห้ามชโลมยาทิ้งไว้ข้ามคืน ทำเสร็จแล้วให้ล้างทำความสะอาด

13 เรื่องเกี่ยวกับเห็บ-หมัด ที่เราไม่รู้

1. เห็บดูดโลหิตพวกเดียวกันเองได้ด้วย

2. เห็บเป็นสัตว์ประเภท “แมง” ดังนั้น มันจึงจัดอยู่ในประเภทเดียวกับพวก แมงมุม แมงป่อง

3. บนโลกนี้มีเห็บมากกว่า 850 สายพันธุ์ เยอะมากเลยนะ ส่วนมากไม่ค่อยมีใครรู้

4. เห็บสามารถทำให้เราบวมแดง เป็นไข้ ปวดเมื่อยได้

5. เจ้าของและสัตว์เลี้ยงสามารถติดต่อโรคกันได้จากการโดนเห็บกัดเพียงครั้งเดียว

6. ไม่ควรใช้นิ้วดึงเห็บออก เพราะคุณอาจดึงตัวมันหลุดออกมาจากหัว ที่ยังฝังอยู่ในผิวหนัง

7. เห็บไม่สามารถบินและกระโดด แต่พวกมันจะคลานแทน ดังนั้นถ้าคุณพบมันบนหัว แสดงว่ามีโอกาสที่จะพบพี่น้องของมันอีกที่ไหนสักแห่งบนร่างกายของคุณที่ต่ำกว่า

8. คุณสามารถซื้อสเปรย์เพอร์เมธริน สำหรับฉีดเสื้อผ้า ป้องกันไม่ให้เห็บหมัดมาเกาะได้

9. เห็บสามารถเติบโตได้ดี แม้ในฤดูหนาว

10. เห็บสามารถฝังตัวได้เกือบทุกที่

11. ถ้าสัตว์เลี้ยงของคุณมีพฤติกรรมแปลกๆ หลังจากออกไปนอกบ้าน เช่น มีอาการชัก, หายใจลำบาก. เซื่องซึม ให้รีบนำไปพบแพทย์ทันที เพราะมีโอกาสไม่น้อยที่จะเกิดจากเห็บ

12. เห็บแต่ละสายพันธุ์มีขนาดที่แตกต่างกัน โดยเห็นจะมีการดำรงชีวิต 4 ชั้นตอน ได้แก่ ไข่, ตัวอ่อน, วัยกระเตาะ และ ผู้ใหญ่

13. การบี้เห็บที่มีไข่เต็มท้องจนโลหิตออกมา ถึงแม้ไข่บางส่วนจะไม่ถูกทำลาย แต่มันก็ไม่สามารถฟักเป็นตัวอ่อนได้ อ่านแล้วขนลุกเลยทีเดียว คนมีสัตว์เลี้ยงคงต้องระวังมากขึ้นนะคะ เพราะอันตรายจากเห็บ มีมากกว่าที่คุณคิดจริงๆ

เมื่อกำจัดเห็บหมัดตามวิธีที่แนะนำกันแล้ว อย่าลืมพาสัตว์เลี้ยงไปหาสัตวแพทย์ใกล้บ้าน เพื่อกำจัดเห็บหมัดให้หมดไป รวมถึงหาทางป้องกันไม่ให้กลับมาใหม่ และอย่าลืมตรวจตราร่างกายทุกครั้งที่ออกไปเดินป่า เพราะคุณก็อาจพาวายร้ายตัวจิ๋วนี้กลับมาได้เช่นกัน เพียงเท่านี้บ้านก็จะปลอดภัยไร้เห็บหมัดแล้วจ้า

เรียบเรียงโดย : Postsara

ขอขอบคุณ : viralnova, Postsod