รู้จักประเทศ ‘กาตาร์’ เจ้าภาพฟุตบอลโลก 2022


รู้จักประเทศกาตาร์ ไข่มุกแห่งเปอร์เซีย ประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลก Qatar World Cup 2022


แต่ละปีประเทศไทยเสียเงินให้ ‘กาตาร์’ ปีละกว่า 1 แสนล้านบาท
(ประเทศไทยจ่ายดุลการค้าให้กาตาร์ สูงถึง 102,197ล้านบาท/ต่อปี)
โดยกาตาร์ส่งออกมาไทย 102,196.50 ล้านบาท (ไทยนำเข้าก๊าซธรรมชาติ (LNG) จากกาตาร์)
ไทยส่งออกไปกาตาร์ประมาณ 11,931.77 ล้านบาท
สินค้าส่งออกของไทยไปกาตาร์ ได้แก่ ผักสด ผลไม้ อาหารกระป๋อง เครื่องปรุงรสไทย เครื่องดื่ม รถยนต์ รถกระบะ อะไหล่รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องเย็น

จำนวนประชากรในประเทศมีเพียง 258,653 คน เป็นชาวกาตาร์ (12%) อีก 1,896,793 คนเป็นคนต่างชาติที่เข้ามาทำงานภายในประเทศ
ขนาดพื้นที่ทัั้งประเทศ 11,571 ตร.กม. (จังหวัดเชียงใหม่ 20,107.057 ตร.กม.)


ประเทศกาตาร์เป็นประเทศที่ไม่จัดเก็บภาษีรายได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีนิติบุคคลใด ๆ ทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังมีระบบรัฐสวัสดิการที่ทันสมัย โดยรัฐบาลจะออกเงินสงเคราะห์ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าก๊าซหุงต้มแก่ประชาชนฟรี สิ่งเหล่านี้จึงยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตของพลเมืองได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังทำให้ประเทศกาตาร์เป็นประเทศที่มีอัตราการว่างงานต่ำมาก ๆ ด้วย
ประเทศกาตาร์ ดินแดนเล็ก ๆ ของคาบสมุทรอาระเบีย แต่มีทรัพยากรธรรมชาติอย่างน้ำมันและก๊าซธรรมชาติซ่อนอยู่มหาศาล จนได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลก

สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือฟีฟ่า ยืนยันแล้วว่าฟุตบอลโลก 2022 ที่ประเทศกาตาร์เป็นเจ้าภาพ จะถูกโยกไปเตะช่วงฤดูหนาวเดือนพฤศจิกายน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาสภาพอากาศร้อนระอุของดินแดนตะวันออกกลางแห่งนี้

จานนี อินฟานติโน ประธานฟีฟ่า ยืนยันว่าฟุตบอลโลกดังกล่าวจะย้ายจากปกติที่เริ่มต้นเดือนมิถุนายน แล้วจบเดือนกรกฎาคม มาเป็นเริ่มต้นวันที่ 21 พฤศจิกายน แล้วสิ้นสุดในวันที่ 18 ธันวาคม
อินฟานติโนกล่าวว่า “บรรดาลีกแต่ละประเทศได้รับการแจ้งเรื่องนี้แล้ว และพวกเขาจะต้องปรับรูปแบบกัน ซึ่งนี่ถือเป็นการตัดสินใจที่ดี เพราะเราไม่สามารถเล่นฟุตบอลที่กาตาร์ได้ในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม”
นอกจากนี้ อินฟานติโนเผยอีกว่าฟุตบอลโลก 2022 ยังอยู่ในช่วงตัดสินใจกันว่าจะมี 32 ทีมตามเดิม หรือจะเพิ่มเป็น 48 ทีม “แผนตอนนี้จะให้มี 32 ทีม แต่การตัดสินใจขั้นสุดท้ายยังไม่เกิดขึ้น และเราจะมีการเปิดประชุมเรื่องนี้อีกครั้ง”

จากข่าวหลายประเทศในตะวันออกกลาง นำโดยประเทศซาอุดีอาระเบีย ประกาศคว่ำบาตรตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศกาตาร์ โดยกล่าวหาว่า ประเทศกาตาร์ สนับสนุนกลุ่มก่อการร้าย นำมาซึ่งความวุ่นวายที่เกิดขึ้นภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางทางอากาศที่สายการบิน กาตาร์ แอร์เวย์ส จะไม่สามารถเดินทางผ่านน่านฟ้าของประเทศซาอุดีอาระเบีย บาห์เรน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ ขณะที่ประชาชนในกาตาร์ต่างเร่งหาซื้ออาหารและน้ำมากักตุน เพราะเกรงว่าสถานการณ์จะเลวร้ายไปมากกว่านี้..
ข่าวนี้ได้ทำให้คนอยากรู้จัก “ประเทศกาตาร์” ให้มากขึ้น ซึ่งหลายคนอาจเคยได้ยินชื่อประเทศกาตาร์ในฐานะเจ้าภาพจัดการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ปี 2006 และกำลังจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก ปี 2022 แต่อาจไม่ทราบว่า ประเทศกาตาร์ มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอย่างไร ทำไมจึงเป็นหนึ่งในประเทศที่่ได้รับการจัดอันดับว่าเป็นประเทศร่ำรวยที่สุดในโลก

ชื่ออย่างเป็นทางการและเมืองหลวงของกาตาร์ประเทศกาตาร์ (Qatar) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐกาตาร์ มีเมืองหลวงคือ กรุงโดฮา (Doha)

อาณาเขต ที่ตั้งและพื้นที่
ประเทศกาตาร์เป็นรัฐเจ้าผู้ครองนครในตะวันออกกลาง มีลักษณะเป็นแหลมยื่นออกมาจากชายฝั่งตะวันออกของคาบสมุทรอาระเบียออกไปในอ่าวเปอร์เซีย มีรูปร่างคล้ายไข่มุก จึงถูกเรียกขานว่า “ไข่มุกแห่งเปอร์เซีย” มีพื้นที่ 11,521 ตร.กม. พรมแดนติดกับประเทศต่าง ๆ คือ ทิศเหนือและทิศตะวันตก ล้อมรอบด้วยทะเล ส่วนทิศใต้ติดกับประเทศซาอุดีอาระเบีย

ประชากรของกาตาร์
จากข้อมูลของ Ministry of Development Planning and Statistics ประเทศกาตาร์ ในเดือนพฤษภาคม 2017 พบว่า ประเทศกาตาร์มีประชากรประมาณ 2.7 ล้านคน เป็นเพศชายกว่า 2 ล้านคน และเพศหญิงเกือบ 7 แสนคน โดยเป็นชาวกาตาร์ประมาณ 20% ชาวอาหรับประมาณ 20% ส่วนที่เหลือเป็นแรงงานจากต่างประเทศชาวอินเดีย เนปาล ฟิลิปปินส์ ปากีสถาน บังคลาเทศ ศรีลังกา ฯลฯ

ภาษาหลัก
ประเทศกาตาร์ใช้ภาษาอารบิกเป็นภาษาราชการ และมีภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในการประกอบธุรกิจโดยทั่วไป

ศาสนา
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่ รองลงมาคือศาสนาคริสต์

วันชาติของกาตาร์
ตรงกับวันที่ 18 ธันวาคม เพื่อรำลึกถึง Sheikh Jassim Bin Mohammad Bin Thani ผู้ก่อตั้งรัฐกาตาร์

ธงชาติประเทศกาตาร์
เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีเส้นฟันปลา 9 ซี่ ตามแนวตั้งแบ่งธงออกเป็นสองส่วน ด้านคันธงเป็นพื้นสีขาว มีความหมายถึงสันติภาพ อีกด้านเป็นสีแดงม่วง แทนเกียรติยศของประเทศชาติ ส่วนเส้นฟันปลา 9 ซี่ หมายถึงกาตาร์ที่เป็นสหพันธ์อาหรับเอมิเรตส์ (ดินแดนที่มีเอมีร์ หรือเจ้าผู้ครองรัฐปกครอง) ในลำดับที่ 9
(ภาพหมู่บ้านโครงการบ้านเอื้ออาทร สวัสดิการรัฐ)

ปัจจุบันรัฐบาลกาตาร์ จัดสวัสดิการรัฐสงเคราะห์ให้กับผู้มีรายได้น้อยในประเทศ โดยรื้อถอนชุมชนแออัดหรือสลัม โดยสร้างที่อยู่ใหม่ให้อาศัพอยู่ฟรี
(สวัสดิการรัฐให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อย มีอาหารทานฟรีครบทุกมื้อ)


ประวัติศาสตร์ของประเทศกาตาร์

ราชวงศ์อัล ทานี (Al-Thani) ได้ปกครองกาตาร์ตั้งแต่สมัยกลางศตวรรษที่ 19 ก่อนที่จะตกอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ในบาห์เรน, อิหร่าน และจักรวรรดิออตโตมันของชาวเติร์ก แต่ภายหลังชาวเติร์กได้ถูกเนรเทศออกจากกาตาร์ เพราะไปเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 กับฝ่ายตรงข้ามของประเทศอังกฤษ จากนั้นมา อังกฤษจึงเข้ามามีอิทธิพลในประเทศกาตาร์

ในปี พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1916) อังกฤษได้ทำสนธิสัญญากับกาตาร์ มีผลทำให้กาตาร์อยู่ภายใต้การคุ้มครองของอังกฤษ โดยอังกฤษเป็นผู้ดูแลกิจการระหว่างประเทศของกาตาร์และป้องกันกาตาร์จากการถูกรุกรานจากภายนอก ต่อมาในปี พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1934) ได้มีการทำสนธิสัญญาเพิ่มเติมโดยขยายการคุ้มครองของอังกฤษออกไปทุก ๆ ด้าน

กระทั่งในปี 2511 (ค.ศ. 1968) รัฐบาลอังกฤษประกาศจะถอนตัวออกจากภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียภายในปี 2514 (ค.ศ. 1971) กาตาร์จึงร่วมกับเจ้าผู้ครองรัฐอีก 8 รัฐ รวมกันเป็นสหพันธ์อาหรับเอมิเรตส์ แต่ทั้ง 9 รัฐ หาข้อสรุปร่วมกันไม่ได้ ความพยายามรวมตัวกันจึงไม่ประสบความสำเร็จ

หลังจากนั้นอีก 3 ปี อังกฤษได้ยกเลิกสนธิสัญญาปี 2459 (ค.ศ. 1916) และได้มีการลงนามในสนธิสัญญามิตรภาพระหว่างกันแทน กาตาร์จึงได้รับเอกราชในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971)
การเมืองการปกครองของกาตาร์
ปัจจุบันประเทศกาตาร์ ปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยมีเจ้าผู้ครองรัฐ (Emir) จากราชวงศ์ Al-Thani เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยเจ้าผู้ครองรัฐองค์ปัจจุบันคือ เชค ตะมีม บิน ฮะหมัด อัล ษานี (H.H. Sheikh Tamin bin Hamad Al Thani)

กาตาร์ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวรเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2547 นับตั้งแต่ที่ได้รับอิสรภาพจากอังกฤษในปี 2514 โดยรัฐธรรมนูญกำหนดให้อำนาจนิติบัญญัติแก่สภาที่ปรึกษาซึ่งประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 45 คน โดยจำนวน 2 ใน 3 จะมาจากการเลือกตั้ง ส่วนที่เหลือจะมาจากการแต่งตั้งโดยเจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์
สภาพเศรษฐกิจของประเทศกาตาร์
เศรษฐกิจของกาตาร์ขึ้นอยู่ภาคพลังงานเป็นหลัก โดยกาตาร์เป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติรายใหญ่อันดับต้น ๆ ของโลก และมีปริมาณน้ำมันสำรองอยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังเป็นประเทศที่มีแหล่งก๊าซธรรมชาติสำรองใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากรัสเซียและอิหร่าน เท่ากับว่ากว่า 50% ของ จีดีพี ของกาตาร์ มาจากการส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

นั่นจึงทำให้เมื่อปี 2558 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ ได้จัดอันดับให้ประเทศกาตาร์เป็นประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลก โดยวัดจากรายได้ประชาชาติ ซึ่งประชากรของประเทศกาตาร์มีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีอยู่ที่ 143,532 เหรียญสหรัฐ หรือราว ๆ 4,736,000 บาท

สกุลเงินของประเทศกาตาร์
ใช้หน่วยเงินกาตาร์ริยาล (Qatar Riyal) โดย 3.65 กาตาร์ริยาล จะเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ แต่หากเทียบกับเงินไทย 1 กาตาร์ริยาล จะประมาณ 9.34 บาท


DOHA, QATAR – FEBRUARY 24: H.H. Tamim Bin Hamad Al Thani, Emir of Qatar, waves to racegoers before talking his seat at Al Rayyan Racecourse on February 24, 2018 in Doha, Qatar. (Photo by Neville Hopwood/Getty Images)
ความสัมพันธ์ระหว่างกาตาร์กับประเทศไทย
ประเทศไทยกับรัฐกาตาร์ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2523 โดยประเทศไทยได้เปิดสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโดฮา ในปี 2545 ต่อมาในปี 2547 กาตาร์ได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตในไทย ซึ่งความสัมพันธ์ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเป็นไปอย่างราบรื่น ทั้งนี้เจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์เคยเสด็จฯ เยือนประเทศไทยในฐานะพระอาคันตุกะของรัฐบาลเมื่อปี 2542 และเสด็จฯ ร่วมพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อเดือนมิถุนายน 2549 ด้วย
ทางด้านเศรษฐกิจ ไทยส่งออกสินค้าไปยังกาตาร์จำนวนไม่น้อย สินค้าส่งออกสำคัญคือ ยานยนต์ เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องปรับอากาศ ผลิตภัณฑ์ อะลูมิเนียม เครื่องจักรกล อัญมณีและเครื่องประดับ ส่วนสินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้าจากกาตาร์ ได้แก่ น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป ปุ๋ย และเคมีภัณฑ์ ปัจจุบันมีคนไทยทำงานอยู่ในกาตาร์หลายพันคน โดยร้อยละ 90 ทำงานในภาคการก่อสร้าง และอุตสาหกรรมพลังงาน ส่วนที่เหลืออยู่ในภาคบริการ

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับประเทศกาตาร์
– กาตาร์ต้องการเป็นศูนย์กลางการเงินในภูมิภาค จึงได้สร้างสนามบินขนาดใหญ่และทันสมัยระดับโลก คือ ท่าอากาศยานนานาชาติโดฮา ซึ่งเป็นท่าอากาศยานแห่งเดียวในประเทศ ใช้งบประมาณมูลค่า 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อให้กรุงโดฮาเป็นศูนย์กลางการบิน
– สายการบินกาตาร์ แอร์เวย์ส ได้รับรางวัลสายการบินยอดเยี่ยมแห่งปี จาก Skytrax World Airline Awards มาแล้วถึง 3 ครั้ง ครั้งล่าสุดคือเมื่อปี ค.ศ. 2015 ซึ่งได้พร้อมกับรางวัลที่นั่งชั้นธุรกิจยอดเยี่ยม (Best Business Class Airline Seat) และรางวัลสายการบินยอดเยี่ยมที่สุดในตะวันออกกลาง (Best Airline in the Middle East)

– กาตาร์เป็นที่ตั้งของสถานีโทรทัศน์ Al Jazeera ซึ่งนำเสนอข่าวทั้งประเทศตะวันตก อิสราเอล และรัฐบาลประเทศอาหรับต่าง ๆ ทำให้สถานีโทรทัศน์ดังกล่าวได้รับความนิยมสูงและมีอิทธิพลทางความคิดต่อประชาชนชาวอาหรับและมุสลิมเป็นอย่างมาก


Al-Jazeera headquarters Doha, Qatar.
– กาตาร์เป็นประเทศแรกในตะวันออกกลางที่ได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก ในปี ค.ศ. 2022 และนับเป็นประเทศแรกในประวัติศาสตร์ที่ทีมฟุตบอลไม่เคยผ่านเข้ารอบสุดท้ายฟุตบอลโลก ณ วันที่ได้รับการคัดเลือก แล้วได้เป็นเจ้าภาพ อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติประเทศแรกที่ได้จัดฟุตบอลโลก