ขับรถเร็ว! อันตรายมากตอนถนนเปียกระวัง ‘อาการรถลอยเหินน้ำ’ พลาดที่เดียวถึงชีวิต! (มีคลิป)

เป็นเรื่องราวที่ชาวเน็ตจำนวนมากกำลังให้ความสนใจและมีการพูดถึงกันเป็นอย่างมาก เมื่อล่าสุดทางด้านผู้ใช้เฟซบุ๊กนามว่า “Detchai Sanporn” ได้ออกมาเผยแพร่ภาพพร้อมข้อมูลสาระที่เราเชื่อว่าสำคัญมาก แต่ผู้ใช้รถใช้ถนนหลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า การขับรถในยามถนนเปียกนั้นอันตรายมากแค่ไหน หากท่านได้ขับรถไม่ระวังในช่วงถนนเปียกอาจเกิดอุบัติเหตุตามมาได้นะคะ



สิ่งนี้อาจเป็นสาเหตุคร่าชีวิตดาราสาวในรถบีเอ็มราคาแพง “Hydroplane คืออะไร” อันตรายอย่างไร? หลายคนยังขับรถอย่างประมาท เมื่อฝนตก ผลก็คือลงไปอยู่ข้างทาง หรือไม่ก็ข้ามเลนไปจูบคันอื่นบ้าง จูบต้นไม้บ้าง

เพราะความไม่รู้ ไฮโดรเพลน คือ อาการลอยเหินบนน้ำ จะเกิดเมื่อมีน้ำขังบนถนน เนื่องจากฝนตก และ รถมีความเร็วเกิน 80 กม.ต่อชม. น้ำจะแข็งเหมือนหินทำให้เกิดการ “เหิน น้ำ” หรือ ไฮโดรเพลน นั่นเอง



มักจะเกิดเสมอเมื่อ
1) ล้อด้านเดียววิ่งใปบนแอ่งน้ำ (มีแอ่งน้ำอยู่ข้างใดข้างหนึ่ง)
2) ดอกยางสึกมากเกินไปรีดน้ำไม่ทัน
3) แตะเบรคอย่างรุนแรง
4) หมุนพวงมาลัย อย่างแรง



รถที่หนักมากกว่า จะเกิดง่ายกว่า….ล้อที่มีหน้ายางเล็กกว่าจะเกิดง่ายกว่า ฉะนั้น เมื่อฝนตก อย่าขับเกิน 80 กม. ต่อ ชม. นะครับ



อาการ Hydroplane คือการเหิน น้ำ ซึ่งมีตัวแปรคือ ความเร็วและความดันลมยางครับ สูตรที่เคยคำนวณใช้กับเครื่องบิน คือ ความเร็ว Hydroplane = 9 Square root P มีหน่วย เป็นน้อตติคัลไมล์/ชม.หรือ Knots 9 คือค่า constant Square root P คือถอดรู ทสองของความดันลมยางครับ

สมมุติว่า รถมีความดันลมยาง 33 psi ก็จะได้ ความเร็วของการเหินน้ำ = 51.7 NM/hr ทำเป็น กม/ชม คูณด้วย 1.852 ได้ 95.75 กม/ชมครับ คือถ้าขับรถด้วยความเร็วต่ำกว่านั้นก็จะ ไม่เกิดอาการ เหินน้ำคือล้อจะลอยไปบนผิวน้ำทำให้ยางสูญเสียการเกาะ ถนนไป สำหรับยางรถยนต์ซึ่งมีการออกแบบดอกยางให้รีดน้ำได้ดี กว่า อาจเกิดที่ความเร็วมากกว่านั้นได้อีกเล็กน้อยครับ



ดังนั้น เมื่อฝนตกควรชลอความเร็วลงให้ต่ำกว่า ความเร็ว ดังกล่าว เพราะเราไม่ทราบว่าจะมีน้ำขังอยู่บนถนน ณ ที่ใดบ้าง ยิ่งถ้าเป็นแอ่งน้ำแถบเดียวยิ่งอันตรายมากครับ รถอาจโดนกระชากดึงไปด้านที่มีแรงต้านจาก น้ำทำให้รถหมุนได้ทันทีครับ

ลักษณะของพื้นผิวถนนกับการเหินน้ำของรถ หากเป็นพื้นคอนกรีต* แล้ว โอกาสเกิดเหตุการณ์จะยิ่งง่ายกว่าถนนที่ราดยางมะตอย เพราะมีร่องน้ำ ตามรูของพื้นผิวถนน นอกจากนี้เรื่องอื่นๆคือ ความชัน และความเอียงของพื้นผิวถนนก็เป็นปัจจัยเล็กน้อยเพิ่มขึ้นอีกด้วย



หากเริ่มเกิดอาการสูญเสียการควบคุมจากอาการเหินน้ำแล้ว ควรปฎิบัติดังนี้
หากรถยนต์อยู่ในทางตรง และมาด้วยความเร็วน้อย จะสูญเสียการควบคุมเพียงเล็กน้อย นักขับจะต้องพยายามควมคุมทั้งความเร็ว และทิศทางให้เหมือนปุยนุ่น อย่าได้พยายามควบคุมทุกอย่างอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเบรค หรือหักล้อรถยนต์เต็มที่ อย่าได้ทำแบบนั้นเด็ดขาด



หากรถยนต์อยู่บนท้องถนน และเกิดอาการจากการเหินน้ำ ที่เกิดจากการเร่งความเร็วอย่างฉับพลัน จะเกิดอาการ 3 อย่าง คือ

1. ต้นเหตุเกิดที่ล้อหน้า คำแนะนำสำหรับล้อหน้าคือ โอกาสเกิดรถหมุนนั้นจะมาก ต้องปล่อยเลยไป โดยมีโอกาสที่รถยนต์จะตกข้างทาง หรือพาดกับต้นไม้ หรือเสาไฟฟ้า เพราะเราเตือนคุณแล้วว่า อย่าได้เร่งความเร็วฉับพลัน



2. เหตุเกิดจากล้อหลัง การรักษาการควบคุมจะง่ายกว่า เพราะอาการจะเกิดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

3. เกิดเหตุทั้ง 4 ล้อ รถยนต์จะไม่หมุน แต่จะมุ่งตรงไปด้านหน้า (แม้ว่าจะหักล้อหมุน รถก็ตรงไปด้านหน้าอยู่ดี) ดังนั้นคุณยังมีโอกาสควบคุมเล็กน้อย พยายามลดความเร็ว โดยไม่เหยียบคันเร่งเพิ่ม รักษาทิศทางของรถยนต์ไว้



ประเด็น สำคัญ คือ อย่าได้เหยียบเบรค เพราะจากการทดสอบหลายครั้ง ผู้ขับขี่ส่วนมากจะเหยียบเบรค (ในการทดสอบดูจากไฟท้ายรถยนต์) เพราะการเหยียบเบรคแบบกระทันหัน จะยิ่งทำให้เกิดอาการเหินน้ำมากขึ้น เพราะยางรถยนต์หยุดรีดน้ำ ทำให้โอกาสเกิดสูญเสียการควบคุมรถยนต์มากขึ้นไปอีก
แต่ประเด็นที่ สำคัญยิ่งกว่า คือ “พยายามหลีกเลี่ยงโอกาสเกิดอาการเหินน้ำให้มากที่สุด” เพราะแม้แต่นักขับอาชีพ ก็ยังยากที่จะควบคุมรถยนต์ได้ โดยเฉพาะการขับรถยนต์ขณะฝนตกนั้น ควรขับรถยนต์ด้วยความเร็วที่ไม่เกิน 95 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และอย่าเร่งหรือลดความเร็วแบบฉับพลัน



และกรณีฝนตกปรอยๆก็ทำให้ถนนลื่นกว่าฝนตกแรง คือ ฝนปรอยๆทำให้ฝุ่นโดนน้ำและความชื้นกลายเป็นโคลน ซึ่งจะทำให้ถนนลื่น ล้อไม่สามารถเกาะถนนได้ จะเกิดช่วงฝนแรกๆที่มีฝุ่นดินนอนเปื้อนอยู่ถนนมาก และยังไม่ถูกน้ำฝนชะล้างลงท่อหรือข้างทาง

หากฝนตกติดกันหลายวัน จะชะล้างฝุ่นดินพวกนี้หายไป ถนนจะสะอาดไม่ค่อยลื่นครับ ซึ่งเป็นคนละกรณีกับการ”เหินน้ำ”ครับ

โพสต์ที่มา
ไปชมคลิปกันเลยค่ะ



เป็นอย่างไรกันบ้างคะเพื่อนๆ และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งสาระดีๆ ที่เราได้นำมาฝากหากเพื่อนๆ ท่านได้คิดว่าเป็นประโยชน์ก็อย่าลืมแชร์กันออกไปให้คนอื่นได้ดูด้วย ทั้งนี้ก็ขอให้เพื่อนๆ ขับขี่รถระมัดระวังด้วยนะคะ​


ขอบคุณที่มาจาก : Detchai Sanporn