ผักเบี้ยใหญ่ มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Portulaca
oleracea L. มีถิ่นกำเนิดจากประเทศอินเดีย ในโซนเขตร้อน
แต่มีฤทธิ์สรรพคุณเป็นธาตุเย็น ตามบ้านเราจะเห็นได้ตามท้องถนนทั่วไป
คล้ายวัชพืชที่ขึ้นตามซอกกำแพง คนจึงไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่
แต่สรรพคุณมากมายเลยทีเดียว มีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลยค่ะ
ผักเบี้ยใหญ่ มีโอเมก้า 3 สูงมากกว่าน้ำมันปลาเสียอีก ซึ่งกรดไขมันชนิดนี้ขึ้นชื่อในเรื่องการบำรุงสมอง เสริมสร้างความจำ อีกทั้ง อุดมไปด้วยสารเบต้าแคโรทีน นอกจากนี้ ยังมีวิตามินซี ที่ช่วยแก้อาการโรคลักปิดลักเปิด แก้หวัด แก้ไอ ปกป้องผิวจากแสงแดด รักษาโรคผิวหนัง ต้านมะเร็ง ปกป้องหัวใจและสมอง และสามารถใช้ใบหรือยอดสดๆ พอกห้ามเลือด ทาแก้แมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยรักษาโรคสะเก็ดเงินหรือ โรคเรื้อนกวางได้
ผักพื้นบ้านและสมุนไพรของไทย ๆ นี่ล่ะเป็นยาขนานเอกที่คนโบร่ำโบราณนำมาใช้รักษาอาการเจ็บป่วย แม้ว่าสมัยนี้คนเจ็บไข้ได้ป่วยจะหันไปพึ่งยาแผนปัจจุบัน แต่ก็ยังมีการนำสมุนไพรไทยมาร่วมใช้บำบัดรักษาอยู่ไม่น้อย หนึ่งในนั้นก็คือ “ผักเบี้ยใหญ่” ของดีใกล้ตัวที่หาได้ไม่ยากเลย
ผักเบี้ยใหญ่ มีโอเมก้า 3 สูงมากกว่าน้ำมันปลาเสียอีก ซึ่งกรดไขมันชนิดนี้ขึ้นชื่อในเรื่องการบำรุงสมอง เสริมสร้างความจำ อีกทั้ง อุดมไปด้วยสารเบต้าแคโรทีน นอกจากนี้ ยังมีวิตามินซี ที่ช่วยแก้อาการโรคลักปิดลักเปิด แก้หวัด แก้ไอ ปกป้องผิวจากแสงแดด รักษาโรคผิวหนัง ต้านมะเร็ง ปกป้องหัวใจและสมอง และสามารถใช้ใบหรือยอดสดๆ พอกห้ามเลือด ทาแก้แมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยรักษาโรคสะเก็ดเงินหรือ โรคเรื้อนกวางได้
สรรพคุณผักเบี้ยใหญ่ตามตำรับยา
- ใบ : แก้ไอแห้ง แก้ขัดเบา เป็นยาขับปัสสาวะ แก้กระหายน้ำ ตำพอกหรือทาแก้แผลอักเสบบวม แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แก้ริดสีดวงทวารปวดบวม
- ทั้งต้น : แก้บิดถ่ายเป็นเลือด แก้แผลเน่าเปื่อยเป็นหนองเรื้อรัง แก้เหงือกบวม แก้เจ็บคอ เลือดออกตามไรฟัน แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยให้เจริญอาหาร ช่วยหล่อลื่นลำไส้ ช่วยห้ามเลือด
- เมล็ด : ใช้ขับพยาธิ เป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยขับปัสสาวะได้
- น้ำคั้นของต้น : นำมาทาแก้แผลแมลงกัดต่อย หรือนำมาดื่มแก้หนองใน ปัสสาวะขัด
วิธีและขนาดที่ใช้
ใช้ต้นแห้งหนัก 10-15 กรัม (ต้นสดหนัก 60-120 กรัม) ต้มเอาน้ำ หรือคั้นเอาน้ำกิน ใช้ภายนอก ผิงไฟให้แห้งบดเป็นผงผสมน้ำทา หรือต้มเอาน้ำชะล้างบริเวณที่เป็นข้อควรระวัง
- สตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้ เนื่องจากพบว่า มีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อเรียบหดตัว
- ผู้ป่วยที่เป็นนิ่วในไตจึงควรระวังการใช้ นอกจากนี้ ผักเบี้ยใหญ่ยังมีปริมาณโพแทสเซียมสูง จึงควรระวังการใช้ในผู้ป่วยที่ต้องจำกัดปริมาณโพแทสเซียม เช่น ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่มีภาวะโพแทสเซียมสูง
- คนธาตุอ่อนท้องเสียง่าย ไม่ควรรับประทาน
คุณค่าทางอาหารของผักเบี้ยใหญ่
จากข้อมูลของกองโภชนาการ กรมอนามัย ระบุว่า ส่วนยอดอ่อนของผักเบี้ยใหญ่ในปริมาณ 100 กรัม ให้คุณค่าทางอาหารดังนี้- พลังงาน 37 กิโลแคลอรี
- โปรตีน 2.2 กรัม
- ไขมัน 0.3 กรัม
- คอเลสเตอรอล 7.9 กรัม
- แคลเซียม 115 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 40 มิลลิกรัม
- เหล็ก 1.4 มิลลิกรัม
- วิตามินเอ 2,200 IU
- วิตามินบี 1 0.06 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 2 0.14 มิลลิกรัม
- ไนอะซิน 0.8 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 21 มิลลิกรัม
ผักพื้นบ้านและสมุนไพรของไทย ๆ นี่ล่ะเป็นยาขนานเอกที่คนโบร่ำโบราณนำมาใช้รักษาอาการเจ็บป่วย แม้ว่าสมัยนี้คนเจ็บไข้ได้ป่วยจะหันไปพึ่งยาแผนปัจจุบัน แต่ก็ยังมีการนำสมุนไพรไทยมาร่วมใช้บำบัดรักษาอยู่ไม่น้อย หนึ่งในนั้นก็คือ “ผักเบี้ยใหญ่” ของดีใกล้ตัวที่หาได้ไม่ยากเลย