หลายๆ คนคงเคยได้ยินกันมาบ้างแล้ว สำหรับสมุรไพรพื้นบ้าน ต้นป่าช้าเหงา
ที่คุณ “เมย์วิสาข์” ได้นำข้อมูลมาเรียบเรียงให้ฟังอย่างน่าสนใจดังนี้
(ชื่ออื่นๆ หนานเฉาเหว่ย, หนานเฟยเฉา, หนานเฟยซู่, ป่าเฮ่วหมอง, บิสมิลลาฮ
(Bismillah))
จีนและอเมริกาทำวิจัยและขายเป็นยาเพิ่มภูมิคุ้มกัน
เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม เบาหวาน และต่อมลูกหมาก
เป็นต้นไม้ที่เด่นดังโดยไม่ตั้งใจ แม้ว่าชื่อผมจะฟังไม่ไพเราะ แต่ก็มีความหมายเป็นมงคลกับคนที่ยังไม่ตาย ชื่อวนเวียนแถวๆ ป่าช้า เพราะคำว่า ป่าช้าเหงา ก็หมายถึงไม่มีคนตายเข้าป่าช้า คำว่า “ป่าเฮ่ว” ก็เป็นภาษาล้านนา และไทใหญ่ แปลว่า ป่าช้าเช่นกัน และสำหรับคนจีนจะรู้จักผมในชื่อ หนานเฉาเหว่ย เป็นอย่างดี สำหรับ 3 จังหวัดภาคใต้ก็เรียกว่า บิสมิลลาฮ (เป็นภาษาอาหรับ)
ชาวโลกรู้จักตั้งแต่ แอฟริกา ที่เค้าใช้กินเป็นผักและใช้รักษาโรคมาเลเรีย, ที่อเมริกาก็ขายเป็นยาเพิ่มภูมิคุ้มกัน เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม เบาหวาน และต่อมลูกหมาก รวมทั้งควบคุมน้ำตาล ที่พม่าและมาเลเซียก็รู้จัก แต่ดังจากเมืองจีนก่อนจะมาดังในเมืองไทยไม่นาน แม้ว่าก่อนหน้านี้มีแต่พ่อหมอไทใหญ่เขาใช้แก้โหลง คือ ยาแก้พิษ สำหรับชาวกะเหรี่ยงจะใช้เป็นยาแก้หวัด และเรียกยาแก้ขม ทั้งๆ ที่ใบขมมากๆ ส่วนตำหรับยาล้านนาใช้รักษาโรคเรื้อรังที่เรียกว่า โรคสาน คือโรคที่มีก้อนเนื้อผิดปกติรวมทั้งฝีต่างๆ และโรคขาง คือแผลเปื่อยเรื้อรังตามอวัยวะต่างๆ
ภูมิใจและเป็นเกียรติมากที่สุดคือ ถูกจัดเป็นสมุนไพรที่ได้รับความนิยมมาก เพราะตั้งแต่ปี 2547 ที่ทางโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จัดทำโครงการ “ชลอวัยไกลโรค” ได้สืบหาสมุนไพรสำหรับผู้สูงอายุ ก็ได้พบผมที่ “บ้านสามขา” จังหวัดลำปาง เริ่มวิจัย จัดทำข้อมูล สรรพคุณพบว่า ป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลายโดยอัลฟาท็อกซิน ป้องกันสารพิษไม่ให้ตับเสียจากเบาหวาน และไตวาย ปัจจุบันมีขายทั้งต้น สด แห้ง และแบบผง
สุภาษิต “ขมเป็นยา” ใช้ได้ตรงกับสมุนไพรตัวนี้ เคี้ยวใบสดก็ขม แต่หลังจากอมแล้วกลืนจะรู้สึกหวานคอ แต่ถ้าหากใช้ใบสด 4-5 ใบ ต้มน้ำดื่มก่อนอาหาร 3 เวลา หรือตากใบแห้งทำเป็นผงชาชงก็ลดความขมได้ หรือสะดวกซื้อที่เป็นแคปซูลจากโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จะได้ไม่ต้องทนขม ถ้าอยากจะปลูกก็แค่เสียบกิ่งปักดิน 1 เดือน ได้กิน รับรอง เก๊าต์ เบาหวาน ความดัน ไม่เข้ามาใกล้เลย
แต่…แหม! ถ้าปลูกไว้ที่บ้านทุกคนแล้ว ทนเคี้ยว-กลืน ต้ม-ดื่ม ลืมคำว่าขม รับรองป่าช้าเหงา กลัวแต่ว่า “สัปเหร่อตกงาน” แน่ๆ
จีนและอเมริกาทำวิจัยและขายเป็นยาเพิ่มภูมิคุ้มกัน
เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม เบาหวาน และต่อมลูกหมาก
เป็นต้นไม้ที่เด่นดังโดยไม่ตั้งใจ แม้ว่าชื่อผมจะฟังไม่ไพเราะ แต่ก็มีความหมายเป็นมงคลกับคนที่ยังไม่ตาย ชื่อวนเวียนแถวๆ ป่าช้า เพราะคำว่า ป่าช้าเหงา ก็หมายถึงไม่มีคนตายเข้าป่าช้า คำว่า “ป่าเฮ่ว” ก็เป็นภาษาล้านนา และไทใหญ่ แปลว่า ป่าช้าเช่นกัน และสำหรับคนจีนจะรู้จักผมในชื่อ หนานเฉาเหว่ย เป็นอย่างดี สำหรับ 3 จังหวัดภาคใต้ก็เรียกว่า บิสมิลลาฮ (เป็นภาษาอาหรับ)
ชาวโลกรู้จักตั้งแต่ แอฟริกา ที่เค้าใช้กินเป็นผักและใช้รักษาโรคมาเลเรีย, ที่อเมริกาก็ขายเป็นยาเพิ่มภูมิคุ้มกัน เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม เบาหวาน และต่อมลูกหมาก รวมทั้งควบคุมน้ำตาล ที่พม่าและมาเลเซียก็รู้จัก แต่ดังจากเมืองจีนก่อนจะมาดังในเมืองไทยไม่นาน แม้ว่าก่อนหน้านี้มีแต่พ่อหมอไทใหญ่เขาใช้แก้โหลง คือ ยาแก้พิษ สำหรับชาวกะเหรี่ยงจะใช้เป็นยาแก้หวัด และเรียกยาแก้ขม ทั้งๆ ที่ใบขมมากๆ ส่วนตำหรับยาล้านนาใช้รักษาโรคเรื้อรังที่เรียกว่า โรคสาน คือโรคที่มีก้อนเนื้อผิดปกติรวมทั้งฝีต่างๆ และโรคขาง คือแผลเปื่อยเรื้อรังตามอวัยวะต่างๆ
ภูมิใจและเป็นเกียรติมากที่สุดคือ ถูกจัดเป็นสมุนไพรที่ได้รับความนิยมมาก เพราะตั้งแต่ปี 2547 ที่ทางโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จัดทำโครงการ “ชลอวัยไกลโรค” ได้สืบหาสมุนไพรสำหรับผู้สูงอายุ ก็ได้พบผมที่ “บ้านสามขา” จังหวัดลำปาง เริ่มวิจัย จัดทำข้อมูล สรรพคุณพบว่า ป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลายโดยอัลฟาท็อกซิน ป้องกันสารพิษไม่ให้ตับเสียจากเบาหวาน และไตวาย ปัจจุบันมีขายทั้งต้น สด แห้ง และแบบผง
สุภาษิต “ขมเป็นยา” ใช้ได้ตรงกับสมุนไพรตัวนี้ เคี้ยวใบสดก็ขม แต่หลังจากอมแล้วกลืนจะรู้สึกหวานคอ แต่ถ้าหากใช้ใบสด 4-5 ใบ ต้มน้ำดื่มก่อนอาหาร 3 เวลา หรือตากใบแห้งทำเป็นผงชาชงก็ลดความขมได้ หรือสะดวกซื้อที่เป็นแคปซูลจากโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จะได้ไม่ต้องทนขม ถ้าอยากจะปลูกก็แค่เสียบกิ่งปักดิน 1 เดือน ได้กิน รับรอง เก๊าต์ เบาหวาน ความดัน ไม่เข้ามาใกล้เลย
แต่…แหม! ถ้าปลูกไว้ที่บ้านทุกคนแล้ว ทนเคี้ยว-กลืน ต้ม-ดื่ม ลืมคำว่าขม รับรองป่าช้าเหงา กลัวแต่ว่า “สัปเหร่อตกงาน” แน่ๆ