สมัยนี้สาวๆ และหนุ่มๆ ก็มีการหวงเรื่องรูปลักษณ์กันมากไม่ว่าจะเป็นใครก็รักสวยรักงามกันไปซะหมด
และที่ขาดไม่ได้ก็คือครีมรักษาผิวหน้า เพื่อเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับผิว
นักวิทยาศาสตร์ด้านเครื่องสำอาง เลยได้นำ เมือกหอยทาก
มาเป็นส่วนผสมของครีมด้วยเพราะว่าเป็นสารที่ได้จากธรรมชาติ
หอยทาก สัตว์ชนิดหนึ่งที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันแทบจะทุกที่ ในเบื้องลึกรายละเอียดเราคงไม่เคยรู้กันมาก่อนว่าหอยทากที่เราเห็นกระดืบๆ อยู่ทั่วไปทุกหนแห่งมันกินอะไรเป็นอาหาร พอได้มาร่วมเดินทางทริปนี้ทำให้เรารู้จักหอยทากกันมากขึ้น หอยทากในบ้านเรามีหลายสายพันธุ์
สายพันธุ์หนึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่แอฟริกา ชื่อพันธุ์ Achatina fulica หรือเรียกสั้นๆ ว่า อาช่า หอยทากสายพันธุ์นี้เข้ามาตั้งแต่สมัยสงครามโลก ทหารญี่ปุ่นนำเข้ามากินเป็นอาหารของกองทัพหลังจากสงครามจบลงได้ทิ้งหอยทากนี้ให้อยู่ในระบบนิเวศน์ของบ้านเรา
หอยทากอาช่าเป็นหอยทากที่สามารถวางไข่ได้ทุกตัว (มี 2 เพศในตัวเดียวกัน)
แต่ละตัววางไข่ครั้งละ 1000 ฟอง แล้วโอกาสรอดเป็นตัวหอยทากสูงถึง 50%
เติบโตและขยายพันธุ์ได้ดีในเมืองไทย อินเดีย อินโดนีเซีย ฯลฯ
อาหารของหอยอาช่าคือใบไม้ในบ้านเรามันสามารถกินเป็นอาหารได้ 100 กว่าชนิด
รวมทั้งข้าว ผิวเปลือกไม้ พืชผักต่างๆ ของเกษตรกร
ทำให้เกิดความเสียหายให้พืชผักต่างๆ ปีละ 1000 ล้านบาท
เมื่อก่อนมีแต่คนรังเกียจหอยทาก พบที่ไหนเขี่ยทำลายทิ้งที่นั่น แต่เมื่อรู้ว่าเมือกหอยทากมีประโยชน์นำมาผลิต เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางชั้นเยี่ยมได้ หอยทาก…สัตว์โลกวิถี “สโลว์ไลฟ์” สายพันธุ์นี้เลยกลายเป็นที่สนใจให้ชาวบ้านหลายพื้นที่หันมาเลี้ยงเป็นอาชีพ
“มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ศึกษาพบว่าหลังรีดเมือกออกมาแล้วนำไปผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ เมือกหอยทากมีคุณสมบัติโดดเด่นในด้านต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย มีโปรทีนเปปไทน์ช่วยทำให้ผิวชุ่มชื้น ลดริ้วรอย ช่วยให้รอยแผลสิวหายเร็ว
ประกอบกับวงการเครื่องสำอางมีความต้องการสูง ปี 2559 ครูเรือนใจ อิศราง- กูร ณ อยุธยา สมาชิกบริษัท อาช่าไทย อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้มาส่งเสริมให้ชาวบ้านหันมาเลี้ยงหอยทากเป็นอาชีพเสริม พร้อมรับซื้อเมือกหอยทากราคาลิตรละ 15,000 บาท”
วิธีการเลี้ยงหอยทากเป็นอะไรที่ลงทุนไม่มาก
ไม่ต้องอาศัยอะไรที่เป็นพิเศษไปกว่าสภาพแวดล้อมปกติที่เราเห็นหอยทากเดินไปเดินมานั่นแหละ
หลังจากได้ทดลองเลี้ยงหอยทากกันมานานประมาณ 8 เดือน
ก็พบว่าวิธีการเลี้ยงหอยทากแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือทำกรงให้หอยทากอยู่กับดิน
แบบกรงยกสูงจากพื้น และแบบท่อซีเมนต์
เนื่องจากหอยทากเป็นสัตว์ที่กินพืชได้มากมายหลายชนิดอาหารหอยทากจึงไม่ใช่ของหายาก แล้วแต่เทคนิคการเลี้ยงของแต่ละคน แต่เน้นว่าพืชผักที่เอามาให้หอยทากกินนั้นจะต้องไม่มีสารเคมี ไม่มียาฆ่าแมลง ควรเป็นผักที่ปลูกเองเพื่อใช้เลี้ยงหอยทาก พื้นที่จำนวนไม่มากก็สามารถเลี้ยงหอยทากได้หลายพันตัว
การเพาะเลี้ยงหอยทากต้องเน้นความสะอาดเป็นหลัก นอกจากให้กินผักปลอดสารพิษหรือผักออร์แกนิกส์ปลูกเองแล้ว เมื่อได้หอยทากจากธรรมชาติที่รับซื้อจากชาวบ้านต้องนำมาทำความสะอาดล้างตัวหอยทาก ให้กินกระดาษทิซซู่ในช่วงแรกเพื่อเป็นการดีทอกซ์ภายในให้หอยทากก่อนจะนำหอยทากเข้ากรงเลี้ยง
การเก็บเมือกของหอยทากเป็นอะไรที่ใหม่สำหรับเกษตรกรไทย แต่ได้รับความรู้จาก อาจารย์ ดร.ปราโมทย์ ชำนาญปืน และ อาจารย์ ดร.ธีรศักดิ์ เอโกบล แนะนำวิธีการเก็บเมือก ด้วยการใช้น้ำพ่นบริเวณหลังคอหอยทาก ถ้าหากหอยทากหดเข้าไปในกระดองก็พ่นน้ำเข้าไปบริเวณปากกระดอง
แต่ละตัวใช้เวลาประมาณ 1 นาที เป็นวิธีมาตรฐานสากลที่ใช้ทั่วไปในยุโรป
และหอยทกก็จะยังมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ปกติ จากนั้นนำเมือกเข้าแช่แข็งทันที
การเก็บเมือกต้องใส่ถุงมือ สวมหมวกและหน้ากาก
เพื่อให้เมือกที่ได้ไม่มีสิ่งเจือปน
หอยทากที่เลี้ยงเป็นอย่างดีก็จะสามารถวางไข่ได้จำนวนมากและโอกาสรอดค่อนข้างสูงกว่าหอยทากในธรรมชาติ แต่ละครั้งหอยทากวางไข่ประมาณ 1000 ฟอง และยังวางไข่ได้ทุกตัว
เพียงไม่นานไข่หอยทากก็จะโตเต็มวัย การเริ่มต้นเลี้ยงหอยทากเกษตรกรผู้เลี้ยงหอยทากจะประกาศหาซื้อหอยทากจากชาวบ้าน ในราคากิโลกรัมละ 20 บาท ในช่วงแรกทำให้เกิดรายได้กระจายให้ชาวบ้านและเป็นการกำจัดศัตรูพืชได้ดีอีกทางหนึ่งด้วย
คุณ ธันยพร ชินคชบาล ผู้อำนวยการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย หนึ่งในเกษตรกรรุ่นบุกเบิกในการเลี้ยงหอยทาก ได้ทำการทดลองเลี้ยงหอยทากเนื่องจากบริษัทเอเดนขอให้ช่วยแนะนำอาชีพเลี้ยงหอยทากให้เกษตรกร “…แต่การจะแนะนำคนอื่นได้ ตนเองต้องลองทำให้เห็นผลก่อน…” คุณธันยพร กล่าว พร้อมกับเปิดเผยฟาร์มหอยทากที่สร้างติดกับพื้นเหมือนเล้าไก่ ที่มีหอยทากจำนวน 3000 ตัว
ด้วยเงินลงทุนในช่วงแรก 40,000 บาท ตอนนี้เก็บเมือกหอยทากส่งขายมีรายได้รวม 100,000 บาทโดยประมาณ ในแต่ละเดือนถ้าอาหารการกินอุดมสมบูรณ์ หอยทากแต่ละตัวจะให้เมือกเฉลี่ยคิดเป็นเงินได้ตัวละ 10 บาท ในบางเดือนที่หอยทากให้เมือกเต็มที่ คุณธันยพรจึงมีรายได้สูงถึง 30,000 บาทเลยทีเดียว
ส่วนอาหารที่ใช้ให้ถั่วงอกนั้น คุณ ธันยพร ใช้วิธีการเพาะถั่วเขียวเพื่อน้ำเอาต้นถั่วงอกไปเป็นอาหารหอยทาก แต่ละเดือนต้นทุนค่าถั่วงอกประมาณ 2000 บาท
ขอบคุณที่มาจาก: touronthai.com
หอยทาก สัตว์ชนิดหนึ่งที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันแทบจะทุกที่ ในเบื้องลึกรายละเอียดเราคงไม่เคยรู้กันมาก่อนว่าหอยทากที่เราเห็นกระดืบๆ อยู่ทั่วไปทุกหนแห่งมันกินอะไรเป็นอาหาร พอได้มาร่วมเดินทางทริปนี้ทำให้เรารู้จักหอยทากกันมากขึ้น หอยทากในบ้านเรามีหลายสายพันธุ์
สายพันธุ์หนึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่แอฟริกา ชื่อพันธุ์ Achatina fulica หรือเรียกสั้นๆ ว่า อาช่า หอยทากสายพันธุ์นี้เข้ามาตั้งแต่สมัยสงครามโลก ทหารญี่ปุ่นนำเข้ามากินเป็นอาหารของกองทัพหลังจากสงครามจบลงได้ทิ้งหอยทากนี้ให้อยู่ในระบบนิเวศน์ของบ้านเรา
เมื่อก่อนมีแต่คนรังเกียจหอยทาก พบที่ไหนเขี่ยทำลายทิ้งที่นั่น แต่เมื่อรู้ว่าเมือกหอยทากมีประโยชน์นำมาผลิต เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางชั้นเยี่ยมได้ หอยทาก…สัตว์โลกวิถี “สโลว์ไลฟ์” สายพันธุ์นี้เลยกลายเป็นที่สนใจให้ชาวบ้านหลายพื้นที่หันมาเลี้ยงเป็นอาชีพ
“มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ศึกษาพบว่าหลังรีดเมือกออกมาแล้วนำไปผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ เมือกหอยทากมีคุณสมบัติโดดเด่นในด้านต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย มีโปรทีนเปปไทน์ช่วยทำให้ผิวชุ่มชื้น ลดริ้วรอย ช่วยให้รอยแผลสิวหายเร็ว
ประกอบกับวงการเครื่องสำอางมีความต้องการสูง ปี 2559 ครูเรือนใจ อิศราง- กูร ณ อยุธยา สมาชิกบริษัท อาช่าไทย อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้มาส่งเสริมให้ชาวบ้านหันมาเลี้ยงหอยทากเป็นอาชีพเสริม พร้อมรับซื้อเมือกหอยทากราคาลิตรละ 15,000 บาท”
เนื่องจากหอยทากเป็นสัตว์ที่กินพืชได้มากมายหลายชนิดอาหารหอยทากจึงไม่ใช่ของหายาก แล้วแต่เทคนิคการเลี้ยงของแต่ละคน แต่เน้นว่าพืชผักที่เอามาให้หอยทากกินนั้นจะต้องไม่มีสารเคมี ไม่มียาฆ่าแมลง ควรเป็นผักที่ปลูกเองเพื่อใช้เลี้ยงหอยทาก พื้นที่จำนวนไม่มากก็สามารถเลี้ยงหอยทากได้หลายพันตัว
การเพาะเลี้ยงหอยทากต้องเน้นความสะอาดเป็นหลัก นอกจากให้กินผักปลอดสารพิษหรือผักออร์แกนิกส์ปลูกเองแล้ว เมื่อได้หอยทากจากธรรมชาติที่รับซื้อจากชาวบ้านต้องนำมาทำความสะอาดล้างตัวหอยทาก ให้กินกระดาษทิซซู่ในช่วงแรกเพื่อเป็นการดีทอกซ์ภายในให้หอยทากก่อนจะนำหอยทากเข้ากรงเลี้ยง
การเก็บเมือกของหอยทากเป็นอะไรที่ใหม่สำหรับเกษตรกรไทย แต่ได้รับความรู้จาก อาจารย์ ดร.ปราโมทย์ ชำนาญปืน และ อาจารย์ ดร.ธีรศักดิ์ เอโกบล แนะนำวิธีการเก็บเมือก ด้วยการใช้น้ำพ่นบริเวณหลังคอหอยทาก ถ้าหากหอยทากหดเข้าไปในกระดองก็พ่นน้ำเข้าไปบริเวณปากกระดอง
หอยทากที่เลี้ยงเป็นอย่างดีก็จะสามารถวางไข่ได้จำนวนมากและโอกาสรอดค่อนข้างสูงกว่าหอยทากในธรรมชาติ แต่ละครั้งหอยทากวางไข่ประมาณ 1000 ฟอง และยังวางไข่ได้ทุกตัว
เพียงไม่นานไข่หอยทากก็จะโตเต็มวัย การเริ่มต้นเลี้ยงหอยทากเกษตรกรผู้เลี้ยงหอยทากจะประกาศหาซื้อหอยทากจากชาวบ้าน ในราคากิโลกรัมละ 20 บาท ในช่วงแรกทำให้เกิดรายได้กระจายให้ชาวบ้านและเป็นการกำจัดศัตรูพืชได้ดีอีกทางหนึ่งด้วย
คุณ ธันยพร ชินคชบาล ผู้อำนวยการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย หนึ่งในเกษตรกรรุ่นบุกเบิกในการเลี้ยงหอยทาก ได้ทำการทดลองเลี้ยงหอยทากเนื่องจากบริษัทเอเดนขอให้ช่วยแนะนำอาชีพเลี้ยงหอยทากให้เกษตรกร “…แต่การจะแนะนำคนอื่นได้ ตนเองต้องลองทำให้เห็นผลก่อน…” คุณธันยพร กล่าว พร้อมกับเปิดเผยฟาร์มหอยทากที่สร้างติดกับพื้นเหมือนเล้าไก่ ที่มีหอยทากจำนวน 3000 ตัว
ด้วยเงินลงทุนในช่วงแรก 40,000 บาท ตอนนี้เก็บเมือกหอยทากส่งขายมีรายได้รวม 100,000 บาทโดยประมาณ ในแต่ละเดือนถ้าอาหารการกินอุดมสมบูรณ์ หอยทากแต่ละตัวจะให้เมือกเฉลี่ยคิดเป็นเงินได้ตัวละ 10 บาท ในบางเดือนที่หอยทากให้เมือกเต็มที่ คุณธันยพรจึงมีรายได้สูงถึง 30,000 บาทเลยทีเดียว
ส่วนอาหารที่ใช้ให้ถั่วงอกนั้น คุณ ธันยพร ใช้วิธีการเพาะถั่วเขียวเพื่อน้ำเอาต้นถั่วงอกไปเป็นอาหารหอยทาก แต่ละเดือนต้นทุนค่าถั่วงอกประมาณ 2000 บาท
ขอบคุณที่มาจาก: touronthai.com