เปิดภาพ “12 สิ่งแรก” ที่เกิดบนแผ่นดินไทย

สวัสดีครับเพื่อนๆชาวอัพยิ้ม หลับกันหรือยังครับ วันนี้ซาลาเปาแอดมินอัพยิ้ม จะพาทุกคนไปชมภาพ 12 สิ่งแรก บนแผ่นดินสยาม ของเราต้องบอกก่อนเลยครับว่าน้อยคนนักที่จะรู้ ว่า12สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งแรกของแผ่นดินไทยของเรานั้นเองครับ ผมว่าน่าจะเป็นความรู้เล็กๆน้อยๆที่หลายคนยังไม่รู้ อาจจะมีประโยชน์กับเด็กรุ่นใหม่ๆก็ได้ ไม่รอช้าไปชมภาพ12สิ่งแรก ที่มีบนแผ่นดินไทยมีอะไรบ้างไปชมพร้อมๆกัน
1.โรงแรมโอเรียนเต็ล

ตั้งอยู่ ถนน เจริญกรุง เขตบางรัก ประวัติจากหลักฐานพบว่าโรงแรมตั้งขึ้น ประมาณปี พ.ศ. 2413 โดยนาย ซี. ซาลเจ กะลาสีเรือชาวเดนมาร์ก เป็นผู้ซื้อกิจการมาดำเนินการ ต่อมานายฮันส์ นีลส์ แอนเดอร์เซน เข้ามาบริหารงานต่อในปี 2428 ได้ปรับปรุงโรงแรมให้ทันสมัย มีการออกแบบอาคารขึ้นใหม่ เรียกว่า “ออเธอร์ส วิง” และได้เปิดโรงแรมอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2430โรงแรมโอเรียนเต็ลเปลี่ยนเจ้าของและปรับปรุงมาหลายครั้ง หลายยุคสมัย เคยต้นรับแขกผู้มีเกียรติ อาทิ มกุฏราชกุมารนิโคลัสแห่งรัสเซียในปี 2434 เจ้าชายลุยจี อาเมดิโอ เชื้อพระวงศ์อิตาลี ในปี 2438และนักเขียนชื่อดังของอังกฤษ บาร์บาร่า คาร์ทแลนด์–วินิติ์ศิริในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ยังเคยเป็นกองบัญชาการกองทัพญี่ปุ่น และมีพระบรมวงศานุวงศ์เคยเสด็จมาด้วย การต้อนรับพระประมุขครั้งสำคัญครั้งหนึ่งคือในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ใน พ.ศ. 2549 พระประมุขและผู้แทนพระองค์ส่วนใหญ่ประทับ ณ โรงแรมแห่งนี้ 1 กันยายน พ.ศ. 2551 กลุ่มกิจการแมนดาริน โอเรียนเต็ล ซึ่งเป็นกลุ่มโรงแรมที่มีชื่อเสียงกลุ่มหนึ่งของเอเชีย ได้ประกาศเข้าซื้อกิจการของโรงแรม หลังจากนั้นก็ได้มีการเปลื่ยนชื่อบริษัทจาก บริษัท โรงแรมโอเรียนเต็ล ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) มาเป็น บริษัท OHTL จำกัด (มหาชน)และโรงแรมได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพ ” ทำให้มีการปรับภาพลักษณ์และกระบวนทัศน์ ของการบริหารงานโรงแรม ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในรอบ 132 ปีเกียรติประวัติ อาคาร ออเธอร์ส วิง ซึ่งมีลักษณะสถาปัตยกรรมนีโอคลาสสิก ได้รับรางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่น ในปี พ.ศ. 2545

2.โรงพยาบาลศิริราช

โรงพยาบาลศิริราช ถ้าใครผ่านไปแถววังหลังบ่อยๆ คงจะเห็นโรงพยาบาลศิริราชโกนนะคะ โรงพยาบาลแห่งนี้เป็นโรงพยาบาลหลวงแห่งแรกที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างขึ้น เพื่อรับรักษาประชาชนผู้เจ็บป่วยทั่วไปด้วยวิธีการแพทย์แผนใหม่ พระองค์โปรดพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนการก่อสร้างครั้งแรกจำนวน ๑๖,๐๐๐ บาท โดยโปรดให้สร้างอาคารใหม่บริเวณที่เคยเป็นวังของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข หรือที่เรียกกันเป็นสามัญว่า”โรงพยาบาลวังหลัง” ตามชื่อสถานที่ตั้ง

3.โรงเรียนวัดมหรรณพาราม

ประวัติ ในช่วงก่อนการจัดตั้งโรงเรียน ชาวไทยมักเรียนหนังสือที่วัด โดยมีพระทำหน้าที่สอนหนังสือ ซึ่งเวลาของการเรียนการสอนไม่แน่นอน นักเรียนก็ล้วนเป็นเด็กผู้ชาย ส่วนเด็กผู้หญิงต้องอยู่ช่วยงานบ้านการศึกษาของไทยได้เกิดการเปลี่ยนแปลง ครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้าฯให้สร้างโรงเรียนหลวงแห่งแรกขึ้นในปี พ.ศ. 2414 ในพระบรมมหาราชวัง โดยได้โปรด ประกาศให้ พระบรมวงศานุวงศ์ เหล่าข้าราชการ ได้ส่งบุตรหลานเข้าเรียนหนังสือ ซึ่งพระองค์ได้มีพระบรมราชโองการบางตอนหนึ่งว่า[1] หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ แลข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย ซึ่งได้นำบุตรทูลเกล้าฯ ถวายให้ทำราชการสนองพระเดชพระคุณ มีเป็นอันมาก ทรงพระราชดำริว่า บุตรหลานของท่านทั้งปวง บรรดาที่เข้ารับราชการ สนองพระเดชพระคุณอยู่นั้น แต่ล้วนเป็นผู้มีชาติมีตระกูล ควรจะรับราชการ เบื้องหน้าต่อไป แต่ยังไม่รู้หนังสือไทย แลขนบธรรมเนียมราชการอยู่โดยมาก และการรู้หนังสือนี้ ก็เป็นคุณสำคัญข้อใหญ่ เป็นเหตุจะให้ได้รู้วิชา แลขนบธรรมเนียมต่าง ๆ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดโรงสอนขึ้นไว้ที่ในพระบรมมหาราชวัง แล้วจัดคนในกรมพระอาลักษณ์ ตั้งให้เป็นขุนนางพนักงาน สำหรับเป็นครูสอนหนังสือไทย สอนคิดเลข และขนบธรรมเนียมราชการ พระราชทานเงินเดือนครูสอนให้ สมควรพอใช้สอย ส่วนผู้ที่เรียนหนังสือนั้น ก็จะพระราชทานเสื้อผ้านุ่งห่ม กับเบี้ยเลี้ยงกลางวันเวลาหนึ่งทุกวัน ครูสอนนั้น จะให้สอนโดยอาการเรียบร้อย ไม่ให้ด่าตีหยาบคาย
ปี พ.ศ. 2424 โปรดฯ ให้ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชนุภาพ (ขณะนั้นยังทรงดำรงพระยศ พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร ราชองค์รักษ์ ผู้บังคับการทหารมหาดเล็ก) ทรงตั้งโรงเรียนขึ้นอีกแห่งหนึ่งเพื่อสอนผู้ที่จะมาเป็นนายสิบ นายร้อย ในกรมทหารมหาดเล็ก ด้วยมีนักเรียนเข้าเรียนเป็นจำนวนมากสถานที่ในกรมทหารมหาดเล็กมีไม่เพียงพอ จึงทรงพระราชทานพระตำหนักสวนกุหลาบ ให้ใช้เป็นโรงเรียนสำหรับทหารมหาดเล็ก ปีพ.ศ. 2425 โดยนักเรียนส่วนใหญ่เป็นราชนิกูล และบุตรหลานของข้าราชการ

4.ธนบัตร เงินกระดาษใบแรกของไทย ธนบัตร หรือ เงินกระดาษ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ผลิตขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 พิมพ์ออกใช้ เงินกระดาษ ครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2445 โดยก่อนหน้านั้น ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้มีการผลิต ธนบัตร หรือ เงินกระดาษใบแรกของไทย?ออกใช้เป็นครั้งแรก ในเมืองไทยแล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2396 แต่เรียกว่า ? หมาย ? ทำด้วย กระดาษปอนด์สีขาวรูปสี่เหลี่ยม พิมพ์ลวดลายด้วยหมึกทั้งสองด้าน และประทับตรา พระราชลัญจกรประจำแผ่นดิน ตราจักร และ พระราชลัญจกรประจำรัชกาล สีแดงชาด

5.ธนาคารไทยพาณิชย์

ประวัติธนาคารไทยพาณิชย์ ” บุคคลัภย์ ” (Book Club) สถาบันการเงินแห่งแรกของประเทศไทย ก่อตั้งโดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ในวันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ หลังจากการขยายตัวของบุคคลัภย์ “บริษัท แบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด” ได้กำเนิดขึ้นจากพระบรมราชานุญาตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ดำเนินการเป็นธุรกิจธนาคารพาณิชย์แห่งแรกของประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๙ เป็นต้นมา

6.สถานีโทรทัศน์ ไทยทีวี ช่อง4บางขุนพรม

ช่อง 9 อสมท. สถานีโทรทัตน์ ซึ่งมีปัญหาภายใน จนกลายมาเป็น ช่อง 9 M C O T สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม นับว่าเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทย ดำเนินงานภายใต้การบริหารของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด โดยจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 โดยมีพิธีเปิดและแพร่สัญญาณ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2498 มีชื่อเรียกขานตามอนุสัญญาสากลว่าด้วยวิทยุโทรทัศน์ว่า HS1-TV ตั้งอยู่ที่วังบางขุนพรหม ที่ทำการของธนาคารแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน ราวเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2517 ได้หยุดทำการออกอากาศในระบบ 525 เส้น ทางช่อง 4 โดยได้ย้ายห้องส่งโทรทัศน์ไปที่ถนนพระสุเมรุ แขวงบางลำพู และราว พ.ศ. 2519 ได้เปลี่ยนระบบการออกอากาศ จากภาพขาวดำ เป็นภาพสี ในระบบ 625 เส้น ทางช่อง 9 อย่างสมบูรณ์ พร้อมกับการเปลี่ยนชื่อเป็น สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง 9 ต่อมาเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 คณะรัฐมนตรี มีมติให้ยุบเลิกกิจการ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด

7.จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย ถือกำเนิดจากโรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้น ณ ตึกยาวข้างประตูพิมานชัยศรีในพระบรมมหาราชวัง เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๒ [ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ตามปฏิทินสากลในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ (ค.ศ. ๑๙๔๐) ดังนั้น พ.ศ. กับ ค.ศ. ก่อนหน้านี้จึงเหลื่อมกันอยู่ ๑ ปี] และได้รับพระบรมราชานุญาตให้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนมหาดเล็ก เมื่อ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๕ ทั้งนี้เพื่อผลิตบุคลากรให้รับราชการ ซึ่งมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว อันเป็นผลจากพระบรมราโชบายปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๕ ต่อมาทั้งภาคราชการและเอกชนต้องการบุคลากรทำงานในสาขาวิชาต่างๆ กว้างขวางมากขึ้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระอนุสรณ์คำนึงถึงพระบรมราโชบายในสมเด็จพระบรมชนกาธิราชที่จะ “ให้มีมหาวิทยาลัยขึ้นสำหรับเป็นสถาบันอุดมศึกษาของชาวสยาม” พอที่จะช่วยให้กิจการปกครองท้องที่ของกระทรวงมหาดไทยดำเนินไปได้ดีในระดับหนึ่ง แล้วสมควรขยายการจัดการศึกษาเพื่อสนองความต้องการของ กระทรวง ทบวง กรมอื่นๆ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กเป็นสถาบันอุดมศึกษา พระราชทานนามว่า “โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” เมื่อ ๑ มกราคม ๒๔๕๓

8.โรงพิมพ์หมอบรัดเลย์

เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2377 หมอบรัดเลย์ออกเดินทางจากบอสตันมุ่งหน้าสู่สยาม โดยเรือ “แคชเมียร์” ใช้เวลารอนแรมในทะเลเป็นเวลา 6 เดือน หมอบรัดเลย์ก็มาถึงสิงคโปร์ในวันที่ 12 มกราคม 2378 และแวะพักอยู่ที่สิงค์โปร์อีก 6 เดือน ก่อนจะเดินทางเข้าสู่สยามในวันที่ 18 กรกฎาคม 2378 ซึ่งตรงกับวันเกิดปีที่ 31 ปีพอดี โดยมาถึงพร้อมภรรยา เอมิลี เข้ามาทำงานในคณะกรรมธิการพันธกิจคริสตจักรโพ้นทะเล ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2379 ในสมัยรัชกาลที่ 3 พักอาศัยอยู่แถววัดเกาะ สำเพ็ง หรือ วัดสัมพันธวงศ์ ในสมัยนี้ โดยอาศัยพักรวมกับครอบครัวของศาสนาจารย์สตีเฟน จอห์นสัน หมอบรัดเลย์เปิดโอสถศาลาขึ้นเป็นที่แรกในสยาม เพื่อทำการรักษา จ่ายยาและหนังสือเกี่ยวกับศาสนาให้กับคนไข้ แต่เนื่องจากในย่านนั้นมีชาวจีนอาศัยอยู่ กิจการนี้จึงถูกเพ่งเล็งว่าอาจทำให้ชาวจีนกระด้างกระเดื่องต่อรัฐบาลสยามได้ จึงกดดันให้เจ้าของที่ดินคือนายกลิ่น ไม่ให้มิชชันนารีเช่าอีกต่อไป

9.ศาลาเฉลิมไทย

ศาลาเฉลิมไทย เป็นโรงมหรสพ โรงภาพยนตร์ ตั้งอยู่ที่มุม ถนนราชดำเนินกลาง กับ ถนนมหาไชย ได้รับการสร้างขึ้นตามความประสงค์ของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ศาลาเฉลิมไทยได้สร้างขึ้นราวปี พ.ศ. 2483 แต่ก็ได้หยุดไปช่วงหนึ่งเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 2 และได้เปิดอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492
อาคารก่อสร้างขึ้นด้วยรูปทรงโมเดิร์นตามแบบตะวันตกไม่มีหลังคา คล้ายคลังกับศาลาเฉลิมกรุง อาคารได้รับการออกแบบโดยจิตรเสน อภัยวงศ์ ที่จบการศึกษาด้านสถาปัตยกรรมจากประเทศฝรั่งเศส และตกแต่งภายในโดยศิววงศ์ กุญชร ณ อยุธยา
ศาลาเฉลิมไทยเมื่อเปิดใหม่ ได้กลายเป็นหนึ่งในโรงมโหรสพร์ที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในขณะนั้น ด้วยที่นั่งราว 1,200 ที่นั่ง พร้อมที่นั่งชั้นบน เวทีเป็นแบบมีกรอบหน้า มีเวทีแบบเลื่อนบนราง (Wagon Stage) เพื่อความรวดเร็วในการเปลี่ยนฉาก ก่อนจะเปลี่ยนไปเป็นโรงภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2496
เนื่องจากศาลาเฉลิมไทยตั้งอยู่ด้านหน้าวัดราชนัดดารามวรวิหาร และ โลหะปราสาท ทำให้เกิดการบดบังทัศนียภาพเบื้องหลัง จนในที่สุดเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2532 คณะรัฐมนตรีรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ มีมติให้รื้อศาลาเฉลิมไทย แม้จะมีเสียงคัดค้านจากหลายฝ่ายก็ตาม โดยศาลาเฉลิมไทยได้ฉายเรื่อง “เพราะฉันรักเธอ” เป็นภาพยนตร์เรื่องสุดท้าย

10.สะพานพระราม 6

สะพานพระราม 6 ลงนามสัญญาก่อสร้างเดือนเมษายน พ.ศ. 2465 เริ่มก่อสร้างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2465 วางหีบพระฤกษ์เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2466 โดยกรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเชื่อมทางรถไฟฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา บริษัท เล เอตาบริดจ์มองต์ ไตเต ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้รับเหมาเนื่องจากชนะการประมูลโดยอาศัยค่าเงินฟรังก์ฝรั่งเศสที่อ่อนตัว (1 ฟรังก์แลกได้ 5 บาท) เมื่อเปรียบเทียบกับเงินปอนด์อังกฤษที่ผูกติดกับทองคำ (1 ปอนด์แลกได้ 11 บาท) ซึ่งในเวลานั้นเงินบาทสยามผูกติดกับเงินปอนด์อังกฤษด้วย ค่าก่อสร้างสะพาน 2,714,113.30 บาท

11.เครื่องบินลำแรกของไทย

นางสาวสยาม (อังกฤษ: Miss Siam) เครื่องบินพลเรือนลำแรกของประเทศไทย เป็นชื่อของเครื่องบิน OX-5 Travel Air 2000 เครื่องยนต์เคอติส 10 แรงม้า ความเร็วเต็มที่ 75 ไมล์ต่อชั่วโมง ปีก 2 ชั้น 2 ที่นั่ง โครงเหล็กห่อหุ้มด้วยผ้า ปีกโครงสร้างภายในเป็นไม้ หุ้มด้วยผ้าแฟบริค เป็นเครื่องบินส่วนตัวของนาวาอากาศเอกเลื่อน พงษ์โสภณ ซื้อมาเมื่อ พ.ศ. 2475 ในราคา 6000 บาท
เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2475 [1] เครื่องบินนางสาวสยามได้ทำการบินไปเชื่อมสัมพันธไมตรีกับประเทศจีน โดย นาวาอากาศเอกเลื่อน พงษ์โสภณ เป็นผู้ทำการบินจากกรุงเทพฯ ผ่านประเทศลาว ประเทศเวียดนาม ไปสิ้นสุดที่เมืองซัวเถา ประเทศจีน ใช้เวลาเดินทาง 5 วัน
เมื่อ พ.ศ. 2545 เครื่องบินนางสาวสยามได้รับการปรับปรุงและอนุรักษ์ โดยสร้างขึ้นมาใหม่ ใช้เครื่องยนต์เดิม ภายใต้การดูแลของ มูลนิธิอนุรักษ์และพัฒนาอากาศยานไทย ในพระบรมราชูปภัมภ์ และมีความพยายามที่จะบินย้อนเส้นทางของนาวาอากาศเอกเลื่อน พงษ์โสภณ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง 70 ปีครบรอบการบินครั้งประวัติศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2475 โดยใช้นักบินจำนวน 6 คน นำโดยนาวาอากาศเอกวีระยุทธ ดิษยะศริน

12.เขื่อนแห่งแรกของไทย

เขื่อนพระรามหก เป็นเขื่อนทดน้ำแห่งแรกในประเทศไทย เริ่มสร้างเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2459 ก่อสร้างเสร็จทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2467 โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เขื่อนนี้สร้างกั้นแม่น้ำป่าสักที่ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตัวเขื่อนมีช่อง ระบายน้ำ ทำด้วยบานเหล็ก 6 ช่อง กว้างช่องละ 12.50 เมตร ทางฝั่งขวาของตัวเขื่อนมีประตูน้ำหรือประตูเรือสัญจร ซึ่งพระราชทานนามว่า “ประตูน้ำพระนเรศ” เพื่อให้เรือในแม่น้ำป่าสักผ่านขึ้นล่องได้ตามปกติ ทางฝั่งซ้ายของเขื่อน มีประตูระบายน้ำ ซึ่งพระราชทานนามว่า “ประตูระบายพระนารายณ์” เพื่อระบายน้ำแม่น้ำ ป่าสักที่ทดไว้เข้าสู่คลองระพีพัฒน์ ซึ่งเป็นคลองส่งน้ำสายใหญ่ ส่งน้ำลงมาทางใต้ถึงอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี รวมความยาว 32 กิโลเมตร

เป็นยังไงกันบ้างครับ สำหรับเรื่องราวน่ารู้แบบนี้ ชอบไหมครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ และเด็กวัยรุ่นยุคใหม่ ผมเชื่อว่าน้อยคนที่จะรู้จักนะครับ เพราะเขาไม่ค่อยจะสนใจเท่าไหร่นัก ผมก็พึ่งจะรู้เหมือนกันครับว่าธนาคารไทยพาณิชย์ พึ่งจะรู้พร้อมๆกับเพื่อนๆนี่แหละครับ