ไขข้อสงสัย ทำไมค่าไฟถึงแพงขึ้น ? ทั้งๆ ที่ใช้เท่าเดิม !

 


📣 หายสงสัยสักที ทำไมค่าไฟถึงพุ่งปรี๊ด ! ทั้งๆ ที่ก็ใช้เท่าเดิม หรือมากกว่าไม่เท่าไหร่ ? แต่ค่าไฟแพงขึ้นจนผิดสังเกตมาก 🧐 เป็นงงเลยที่นี้ หรือมีใครมาปรับมิเตอร์ที่บ้านรึเปล่า ? ซึ่งจริง ๆ แล้ว เป็นเพราะ 3 ข้อหลัก ๆ นี้ต่างหาก ที่ทำให้ค่าไฟช่วงนี้พุ่ง 📈 ไปหาคำตอบกัน หายสงสัยแน่นอนน


ทำไมค่าไฟถึงแพงขึ้น ทั้งที่ใช้เท่าเดิม หรือมากกว่าไม่เท่าไหร่ ?

3 เหตุผลที่ทำให้ค่าแพงขึ้นในช่วงนี้ 💡

ทำไมค่าไฟถึงแพงขึ้น
ทำไมค่าไฟถึงแพงขึ้น

⚡ ช่วงนี้เป็นช่วงหน้าร้อน : เครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหลายทำงานหนักมาก เพื่อชดเชยอุณภูมิ ตัวอย่างเช่น ☑ แอร์ เปิดแอร์ เวลาเดิมทุกวัน 8.00 - 12.00 น. เย็นเท่าเดิม แต่ตัวที่ทำให้มิเตอร์ขึ้นหน่วยไวแค่ไหน อยู่ที่คอมเพลสเซอร์ข้างนอก ถ้าอากาศข้างนอกร้อนแค่ไหน หน่วยการใช้ไฟก็ขึ้นไวเท่านั้น เพราะคอมเพลสเซอร์ทำงานหนัก ☑ ตู้เย็น ต้องทำความเย็นในช่องแช่อาหาร ตามอุณภูมิ เช่น ตั้งไว้ที่ 1 องศา หลักการทำงานคือ ต้องทำยังไงก็ได้ให้ 1 องศาตลอดเวลา คอมเพลสเซอร์หลังตู้เย็นไงที่เป็นตัวทำงาน ซึ่งการเปิดตู้เย็นบ่อยๆ เปลืองไฟมาก เพราะตู้เย็นสูญเสียอุณภูมิตอนเปิด ☑ เครื่องฟอกอากาศ ทุกยี่ห้อก็กินไฟยิ่งเปิดแอร์ไปด้วยก็คูณสอง ☑ พัดลมไอน้ำ


⚡ การทำงานแบบ Work From Home จากที่เมื่อก่อนต้องออกไปทำงานข้างนอก เลยไม่ได้ใช้ไฟช่วงกลางวัน แต่พอต้องมาทำงานที่บ้าน กลายเป็นใช้ไฟทั้งวัน


⚡ การไฟฟ้าใช้วิธีคิดเงินค่าไฟ แบบอัตราก้าวหน้า หน่วยของไฟฟ้าที่สูงขึ้นทำให้ราคา/หน่วยแพงขึ้น คือ ยิ่งใช้เยอะก็จ่ายเยอะ


💡 วิธีคิดค่าไฟแบบอัตราก้าวหน้าคิดยังไง?

ถ้าใช้ไป (หน่วย) ราคา/หน่วย (บาท) 0- 150 ------------- 3.2484 151 - 400 ---------- 4.2218 401 ขึ้นไป --------- 4.4217


💡 ตัวอย่างการใช้ไฟฟ้าในบ้าน

👉 ตัวอย่างการใช้ไฟฟ้าในบ้าน ตัวอย่างที่ 1. ใช้ไฟฟ้าไป 150 หน่วย 150 หน่วยแรก x 3.2484 = 487.26 บาท (ราคานี้ยังไม่รวม vat 7 % , ค่าบริการ และค่าส่วนลด)


👉ตัวอย่างที่ 2. ใช้ไฟฟ้าไป 300 หน่วย 150 หน่วยแรก x 3.2484 = 487.26 บาท 150 หน่วยที่เหลือ x 4.2218 = 633.27 บาท ต้องจ่ายค่าไฟ = 1,120.53 บาท (ราคานี้ยังไม่รวม vat 7 % , ค่าบริการ และค่าส่วนลด)


👉 ตัวอย่างที่ 3. ใช้ไฟฟ้าไป 600 หน่วย 150 หน่วยแรก × 3.2484 = 487.26 บาท 250 หน่วยถัดไป × 4.2218 = 1,055.45 บาท 200 หน่วยที่เหลือ × 4.4217 = 884.34 บาท ต้องจ่ายค่าไฟ = 2,427.05 บาท (ราคานี้ยังไม่รวม vat 7 % , ค่าบริการ และค่าส่วนลด)