วันนี้เราขอนำเสนอเรื่องราวดีๆ ที่คนไทยควรทราบกัน โดยเรื่องราวนี้ถูกเผยแพร่โดยเพจ “Drama-addict” และทางเพจได้อธิบายว่า ถ้าเป็นเจ็บป่วยฉุกเฉินและวิกฤติชีวิต สามารถเข้ารับบริการได้ในหน่วยบริการรัฐหรือเอกชนที่ใกล้ที่เกิดเหตุ ตามนโยบายของรัฐบาล และรพ.นั้นก็ต้องดูแล 72 ชม ก่อนส่งต่อไปยัง รพ.รัฐตามสิทธิต่อไป
ทั้งนี้ หาก รพ.เอกชนแห่งใด ปฏิเสธไม่รับการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการฉุกเฉิน ก็จะมีความผิดตาม พรบ.การแพทย์ฉุกเฉิน และหมอที่ปฏิเสธการรักษา สามารถถูกร้องเรียนถึงแพทย์สภา ถึงขั้นถอดถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้
สิทธิ UCEP หรือ Universal Coverage Emergency Patients คือ สิทธิการรักษาตามนโยบายของรัฐ เพื่อคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ให้สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุกแห่งที่ใกล้ที่สุดได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจนพ้นวิกฤต และสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง
สำหรับขั้นตอนการใช้สิทธิ UCEP มีดังนี้
1.ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตเข้าโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
2.โรงพยาบาลประเมินอาการและคัดแยกระดับความฉุกเฉิน
3.ศูนย์ประสานความคุ้มครองสิทธิ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล
4.กรณีเข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤต จะได้รับความคุ้มครองตามสิทธิ UCEP ทันที แต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง
5.กรณีไม่เข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤต ให้รับประสานโรงพยาบาลตามสิทธิ หากประสงค์รักษาต่อต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง
6 อาการที่เข้าข่าย ภาวะฉุกเฉินวิกฤต
หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ
หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง
ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น
เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง
แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด
อาการอื่นที่มีผลต่อการหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่เป็นอันตรายต่อชีวิต