ควรปฏิรูปการบริหารกองทุน "กยศ" ใหม่ ชี้หนี้เสีย 7หมื่นล้าน
เผยลูกจนได้กู้สัดส่วน 20% กว่า 80% ปล่อยกู้ลูกคนฐานะปานกลาง
ย้ำนักเรียนเรียนดีแต่ยากจนในถิ่นทุรกันดาร
รัฐบาลควรจัดสรรทุนแบบให้เปล่าหรือทุนการศึกษาเพิ่มเติม
ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตเปิดเผย (29ก.ค.) ว่าหนี้เสียของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ) ใกล้แตะ 70,000 ล้านบาท ปล่อยกู้ทั้งหมด 5.4 ล้านคน ผิดนัดการชำระหนี้จำนวน 2.1 ล้านคน นั้น จะลุกลามเป็นปัญหาใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ หากไม่มีนโยบายในการแก้ไขอย่างเป็นระบบและจริงจัง ปัญหาขาดทุนเรื้อรังจะส่งผลกระทบต่อฐานะทางการเงินของ กยศ มากขึ้นตามลำดับและอาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของกองทุนในระยะยาว มีผลกระทบต่อโอกาสทางการศึกษาของผู้กู้รายใหม่รวมทั้งเกิดภาระทางงบประมาณของรัฐบาลมากขึ้นอีกด้วย
ปัญหาหนี้เสียจำนวนมากของ กยศ เป็นผลจากผู้กู้เงินจาก กยศ คืนเงินให้กับกองทุนคิดเป็นจำนวนที่ต่ำกว่าประเทศอื่นมาก การไม่ชำระหนี้อยู่ที่ประมาณร้อยละ 50 ของหนี้ทั้งหมดจำนวนที่ได้คืนมานี้เมื่อหักด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่างๆ ของกองทุนแล้วจะเหลือเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทำให้กองทุน กยศ มีอัตราคืนทุนในระดับต่ำมาก
ดร. อนุสรณ์ กล่าวอีกว่า กรณีนักศึกษากู้ยืมเงิน กยศ แล้วไม่ชำระหรือเบี้ยวหนี้จนทำให้ครูผู้ช่วยค้ำประกันต้องรับผิดชอบแทนจนถูกฟ้องร้องบังคับคดีนั้น เห็นว่า ทางกองทุน กยศ ควรงดการบังคับคดีในกรณีดังกล่าวและหาวิธีการในบังคับหนี้จากผู้เป็นหนี้โดยตรงก่อน ไม่ควรต้องให้ครูที่ทำหน้าที่ในการให้โอกาสทางการศึกษาแก่ศิษย์ต้องเดือดร้อน ผลสรุปของงานวิจัยหลายชิ้นพบว่า กยศ ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา การขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับครอบครัวฐานะยากจนอันนำมาสู่การกระจายรายได้และการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมได้ดีนักเนื่องจากยังไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายผู้ขาดแคลนและมีรายได้น้อย ผู้กู้ที่มาจากครอบครัวที่มีฐานะยากจน (มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี มีสัดส่วนไม่ถึงร้อยละ 15-20 จากผู้กู้ทั้งหมด ขณะที่ผู้กู้ส่วนใหญ่มาจากครอบครัวฐานะปานกลางคิดเป็นร้อยละ 80 กยศ ต้องเพิ่มศักยภาพในการเข้าถึงผู้ที่ขาดโอกาสทางการศึกษาและขาดทุนทรัพย์โดยเฉพาะนักเรียนเรียนดีแต่ยากจนในถิ่นทุรกันดาร รวมถึงนักเรียนที่ออกกลางคันระหว่างศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนกลุ่มนี้บางส่วนรัฐบาลควรจัดสรรทุนแบบให้เปล่าหรือทุนการศึกษาเพิ่มเติม เป็นทุนการศึกษาสำหรับผู้มีรายได้ต่ำ (Need-Based Scholarship)
ขณะเดียวกัน กยศ มีบทบาทในการขยายทางเลือกทางการศึกษาเนื่องจากผู้กู้สามารถเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเอกชนได้มากขึ้น รัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ และ กยศ จึงควรปฏิรูปการบริหารกองทุน กยศ ใหม่ เริ่มต้นตั้งแต่การมีระบบ กลไกในการจัดสรรเงินกู้ยืมที่มีประสิทธิภาพและตรงเป้าหมายมากกว่าเดิม มีระบบการติดตามการชำระหนี้ที่มีประสิทธิผล กยศ ควรใช้แนวทางของ กองทุนให้กู้ยืมที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต (กรอ) ที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2555 ด้วยการผูกจำนวนเงินที่ต้องชำระหนี้กับรายได้ในแต่ละปีของผู้กู้จะทำให้สามารถแก้ไขปัญหาหนี้เสียของ กยศ ได้มากขึ้น นอกจากนี้ควรใช้การแก้ปัญหาด้วยระบบหักหนี้จากบัญชีเงินเดือนโดยอัตโนมัติและรณรงค์ให้เกิดจิตสำนึกต่อส่วนรวม การรณรงค์การชำระหนี้และกำหนดบทลงโทษของผู้กู้ที่ไม่ชำระหนี้
ผศ. ดร. อนุสรณ์ธรรมใจ ในฐานะอดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภาการศึกษากล่าวอีกว่า ย้อนกลับไปในปี พ.ศ. 2555ได้มีการจัดตั้งกองทุนให้กู้ยืมที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต (กรอ) ซึ่งกองทุน กรอ มีความแตกต่างจากกองทุน กยศ คือ ประการที่หนึ่ง กยศ เป็นกองทุนที่มอบให้เฉพาะนักเรียนในระดับมัธยมปลายและนักศึกษามหาวิทยาลัยที่ยากจน ขณะที่ กรอ เปิดโอกาสให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยทุกคน
ประการที่สอง กยศ เปิดให้กู้กับนักศึกษาทุกสาขาและคณะ ส่วน กรอ กำหนดให้เฉพาะสาขาอาชีพที่เป็นที่ต้องการของประเทศเท่านั้นจึงมีสิทธิกู้ ประการที่สาม กยศ กำหนดจำนวนเงินที่แน่นอนที่ผู้กู้ต้องผ่อนชำระหนี้ ภายหลังจบการศึกษา ขณะที่ กรอ ผูกจำนวนเงินที่ต้องชำระหนี้กับรายได้ในแต่ละปีของผู้กู้ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็น กองทุน กยศ กองทุน กรอ หรือกองทุนการศึกษาแบบให้เปล่าต่างๆก็ดี ล้วนเป็นนโยบายที่ต้องการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ขยายโอกาสทางการศึกษาและการหลุดพ้นจากความยากจน เกิดการยกระดับฐานะของผู้ยากไร้ (Social Mobility) ทำให้เกิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อันเป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ควรศึกษาแนวทางการบริหารจัดการกองทุน กรอ และ กองทุน กยศ ไม่ให้มีความซ้ำซ้อนกันและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการสนับสนุนทางการเงินเพื่อการศึกษา ควรปรับบทบาทของกองทุนเงินกู้ยืมให้ช่วยส่งเสริมการผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ ควรศึกษาผลของระบบการให้ทุนและกู้ยืมเพื่อการศึกษาต่อความเท่าเทียมในการเข้าถึงการศึกษาของไทย และศึกษาความคุ้มค่าจากการลงทุนทางการศึกษาทั้งในแง่ผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงินเพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจจัดสรรงบประมาณสำหรับการลงทุนทางการศึกษาและการพัฒนาคนให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป
ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตเปิดเผย (29ก.ค.) ว่าหนี้เสียของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ) ใกล้แตะ 70,000 ล้านบาท ปล่อยกู้ทั้งหมด 5.4 ล้านคน ผิดนัดการชำระหนี้จำนวน 2.1 ล้านคน นั้น จะลุกลามเป็นปัญหาใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ หากไม่มีนโยบายในการแก้ไขอย่างเป็นระบบและจริงจัง ปัญหาขาดทุนเรื้อรังจะส่งผลกระทบต่อฐานะทางการเงินของ กยศ มากขึ้นตามลำดับและอาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของกองทุนในระยะยาว มีผลกระทบต่อโอกาสทางการศึกษาของผู้กู้รายใหม่รวมทั้งเกิดภาระทางงบประมาณของรัฐบาลมากขึ้นอีกด้วย
ปัญหาหนี้เสียจำนวนมากของ กยศ เป็นผลจากผู้กู้เงินจาก กยศ คืนเงินให้กับกองทุนคิดเป็นจำนวนที่ต่ำกว่าประเทศอื่นมาก การไม่ชำระหนี้อยู่ที่ประมาณร้อยละ 50 ของหนี้ทั้งหมดจำนวนที่ได้คืนมานี้เมื่อหักด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่างๆ ของกองทุนแล้วจะเหลือเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทำให้กองทุน กยศ มีอัตราคืนทุนในระดับต่ำมาก
ดร. อนุสรณ์ กล่าวอีกว่า กรณีนักศึกษากู้ยืมเงิน กยศ แล้วไม่ชำระหรือเบี้ยวหนี้จนทำให้ครูผู้ช่วยค้ำประกันต้องรับผิดชอบแทนจนถูกฟ้องร้องบังคับคดีนั้น เห็นว่า ทางกองทุน กยศ ควรงดการบังคับคดีในกรณีดังกล่าวและหาวิธีการในบังคับหนี้จากผู้เป็นหนี้โดยตรงก่อน ไม่ควรต้องให้ครูที่ทำหน้าที่ในการให้โอกาสทางการศึกษาแก่ศิษย์ต้องเดือดร้อน ผลสรุปของงานวิจัยหลายชิ้นพบว่า กยศ ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา การขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับครอบครัวฐานะยากจนอันนำมาสู่การกระจายรายได้และการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมได้ดีนักเนื่องจากยังไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายผู้ขาดแคลนและมีรายได้น้อย ผู้กู้ที่มาจากครอบครัวที่มีฐานะยากจน (มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี มีสัดส่วนไม่ถึงร้อยละ 15-20 จากผู้กู้ทั้งหมด ขณะที่ผู้กู้ส่วนใหญ่มาจากครอบครัวฐานะปานกลางคิดเป็นร้อยละ 80 กยศ ต้องเพิ่มศักยภาพในการเข้าถึงผู้ที่ขาดโอกาสทางการศึกษาและขาดทุนทรัพย์โดยเฉพาะนักเรียนเรียนดีแต่ยากจนในถิ่นทุรกันดาร รวมถึงนักเรียนที่ออกกลางคันระหว่างศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนกลุ่มนี้บางส่วนรัฐบาลควรจัดสรรทุนแบบให้เปล่าหรือทุนการศึกษาเพิ่มเติม เป็นทุนการศึกษาสำหรับผู้มีรายได้ต่ำ (Need-Based Scholarship)
ขณะเดียวกัน กยศ มีบทบาทในการขยายทางเลือกทางการศึกษาเนื่องจากผู้กู้สามารถเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเอกชนได้มากขึ้น รัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ และ กยศ จึงควรปฏิรูปการบริหารกองทุน กยศ ใหม่ เริ่มต้นตั้งแต่การมีระบบ กลไกในการจัดสรรเงินกู้ยืมที่มีประสิทธิภาพและตรงเป้าหมายมากกว่าเดิม มีระบบการติดตามการชำระหนี้ที่มีประสิทธิผล กยศ ควรใช้แนวทางของ กองทุนให้กู้ยืมที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต (กรอ) ที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2555 ด้วยการผูกจำนวนเงินที่ต้องชำระหนี้กับรายได้ในแต่ละปีของผู้กู้จะทำให้สามารถแก้ไขปัญหาหนี้เสียของ กยศ ได้มากขึ้น นอกจากนี้ควรใช้การแก้ปัญหาด้วยระบบหักหนี้จากบัญชีเงินเดือนโดยอัตโนมัติและรณรงค์ให้เกิดจิตสำนึกต่อส่วนรวม การรณรงค์การชำระหนี้และกำหนดบทลงโทษของผู้กู้ที่ไม่ชำระหนี้
ผศ. ดร. อนุสรณ์ธรรมใจ ในฐานะอดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภาการศึกษากล่าวอีกว่า ย้อนกลับไปในปี พ.ศ. 2555ได้มีการจัดตั้งกองทุนให้กู้ยืมที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต (กรอ) ซึ่งกองทุน กรอ มีความแตกต่างจากกองทุน กยศ คือ ประการที่หนึ่ง กยศ เป็นกองทุนที่มอบให้เฉพาะนักเรียนในระดับมัธยมปลายและนักศึกษามหาวิทยาลัยที่ยากจน ขณะที่ กรอ เปิดโอกาสให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยทุกคน
ประการที่สอง กยศ เปิดให้กู้กับนักศึกษาทุกสาขาและคณะ ส่วน กรอ กำหนดให้เฉพาะสาขาอาชีพที่เป็นที่ต้องการของประเทศเท่านั้นจึงมีสิทธิกู้ ประการที่สาม กยศ กำหนดจำนวนเงินที่แน่นอนที่ผู้กู้ต้องผ่อนชำระหนี้ ภายหลังจบการศึกษา ขณะที่ กรอ ผูกจำนวนเงินที่ต้องชำระหนี้กับรายได้ในแต่ละปีของผู้กู้ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็น กองทุน กยศ กองทุน กรอ หรือกองทุนการศึกษาแบบให้เปล่าต่างๆก็ดี ล้วนเป็นนโยบายที่ต้องการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ขยายโอกาสทางการศึกษาและการหลุดพ้นจากความยากจน เกิดการยกระดับฐานะของผู้ยากไร้ (Social Mobility) ทำให้เกิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อันเป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ควรศึกษาแนวทางการบริหารจัดการกองทุน กรอ และ กองทุน กยศ ไม่ให้มีความซ้ำซ้อนกันและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการสนับสนุนทางการเงินเพื่อการศึกษา ควรปรับบทบาทของกองทุนเงินกู้ยืมให้ช่วยส่งเสริมการผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ ควรศึกษาผลของระบบการให้ทุนและกู้ยืมเพื่อการศึกษาต่อความเท่าเทียมในการเข้าถึงการศึกษาของไทย และศึกษาความคุ้มค่าจากการลงทุนทางการศึกษาทั้งในแง่ผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงินเพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจจัดสรรงบประมาณสำหรับการลงทุนทางการศึกษาและการพัฒนาคนให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป